เอาล่ะ อย่างน้อยที่สุดผมก็ไม่เชื่อเรื่องนั้น แน่นอนว่าพวกมันจะเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของเรา หรือดีกว่าเดิม ตลอดจนวิธีที่เราทำงาน และเรียนรู้
แรงงานสูงวัย
ผมเขียนบล็อกนี้ในวันคล้ายวันเกิดปีที่ 40 ของตัวเอง และในการจำกัดความแบบเก่าๆ นั้น "แรงงานสูงวัย" หมายถึงคนงานแต่ละคนที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี อย่างไรก็ตาม การอาศัยและทำงานอยู่ในเนเธอร์แลนด์ ทำให้การเกษียณอายุของผมน่าจะเกิดขึ้นในวัย 71 ปี ซึ่งหมายความว่าผมจำเป็นต้องทำงานต่อไปอีก 31 ปี ซึ่งเกือบ 2 เท่าของจำนวนปีที่ผมทำงานมาแล้ว
ดังนั้นในตอนนี้ผมเป็นส่วนหนึ่งของแรงงานสูงวัยหรือยัง เอาล่ะ อย่างน้อยผมก็ยังไม่รู้สึกอย่างนั้น การที่อายุในสังคม และอายุเฉลี่ยของเราเพิ่มสูงขึ้น คำจำกัดความดังกล่าวก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปแล้วนิดหน่อย ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม อีก 30 ปีอย่างนั้นหรือ มันมีความหมายอะไรกับผมล่ะ แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นสำหรับคนอีกมากมายที่มีงานทำในตอนนี้ แต่งานนั้นอาจจะไม่มีอยู่อีกต่อไปเมื่อถึงเวลาที่พวกเขาเกษียณอายุ พวกเขาควรจะกังวลเกี่ยวกับเรื่องที่จะว่างงานไหมหรือไม่ต้องกังวล
การเพิ่มจำนวนของหุ่นยนต์
มีการพูดคุยกันอย่างมากในเรื่องที่ระบบอัตโนมัติที่ทำงานด้วยเทคโนโลยีอย่างปัญญาประดิษฐ์ จะเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่องจริง จะเห็นได้ว่างานจำนวนมากที่มีอยู่ในทุกวันนี้จะถูกแทนที่ในวันพรุ่งนี้ ตัวอย่างเช่น หากเรามองไปที่คนขับรถยกในโกดังสินค้า ก็จะเห็นว่าในทุกวันนี้เจ้าของกิจการจำนวนมาก ต่างนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้งานในโกดังสินค้า พวกมันทำงานแทนคนขับรถที่เป็นมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนในภาคการผลิตก็เป็นเรื่องปกติที่จะเห็นสายการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ซึ่งการที่ต้นทุนลดลงและมีความยืดหยุ่นมากขึ้นทำให้การนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้งานแบบนี้ได้กลายเป็นมาตรฐานในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว
แต่ก่อนที่เราจะเริ่มคาดการณ์ถึงวันอันมืดหม่น ยังมีบางเรื่องที่ต้องพิจารณาก่อน
ปัญญาประดิษฐ์และการเปลี่ยนมาใช้หุ่นยนต์เป็นเรื่องที่ได้รับการสนับสนุนอย่างมาก และจะยังเกิดขึ้นอย่างนี้ต่อไป อีกทั้งยังจะก่อให้เกิดผลกระทบขนาดใหญ่ตามมามากมาย แต่ในขณะเดียวกัน ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะยังไม่เป็นไปอย่างรวดเร็วและร้ายแรงเหมือนกับที่บางคนคิดกันอยู่ในทุกวันนี้
ประชากรกำลังสูงวัยมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเรื่องที่จริงอย่างมาก และข้อเท็จจริงอีกอย่างในภาคเศรษฐกิจของเราก็คือผู้คนยังต้องทำงานอยู่และต้องทำนานขึ้นกว่าเมื่อก่อน อย่างไรก็ตามมีความคาดหวังกันว่าด้วยผลผลิตและความมั่งคั่งที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้เราสามารถสนับสนุนเศรษฐกิจได้มากขึ้นโดยที่ทำงานน้อยลงกว่าปัจจุบัน แต่เมื่อพิจารณาแนวโน้มความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างอายุเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นกับอายุเกษียณวัยที่ไม่สอดคล้องกัน ทำให้มีโอกาสสูงอย่างมากที่เราจะต้องทำงานนานขึ้นกว่าในทุกวันนี้
ธรรมชาติของนวัตกรรมที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วจากประวัติศาสตร์ หมายความว่าในขณะที่งานเก่าๆ กลายมาเป็นสิ่งล้าสมัย งานใหม่ก็จะถูกคิดค้นขึ้นมา หรืออย่างที่การ์ทเนอร์คาดการณ์ไว้ว่า "ในปี 2020 เอไอจะกลายมาเป็นตัวสร้างงานอย่างเบ็ดเสร็จ ทำให้เกิดงาน 2.3 ล้านตำแหน่ง ในขณะที่ทำให้ตำแหน่งงานหายไปเพียง 1.8 ล้านตำแหน่ง" แต่งานใหม่เหล่านี้จะมีความแตกต่างไปจากเดิม กล่าวคือจะต้องการคนที่มีความแตกต่างและมีคุณสมบัติมากขึ้นกว่าเดิม
ปัจจุบันเรามีนักวิทยาศาสตร์ที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นจำนวนมากกว่าที่ผ่านมาทั้งหมดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ซึ่งส่งผลให้เกิดการปฏิวัติเทคโนโลยีและกระแสการปฏิวัติเทคโนโลยีก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีนัยสำคัญ โดยที่ไม่มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงแต่อย่างใด ซึ่งหมายความว่าเราต้องเปลี่ยนแปลงแรงงานของเราให้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิมด้วย
ในทุกวันนี้ องค์กรจำนวนมากกำลังประสบปัญหาในการสรรหาบุคคลที่มีทักษะความสามารถที่เหมาะสม ซึ่งจากงานวิจัยของไอเอฟเอสเองก็บ่งชี้ให้เห็นว่า 34% ของบริษัทต่างๆ ยังไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือกับช่องว่างของแรงงานที่มีทักษะเมื่อต้องก้าวเข้าสู่เส้นทางสายดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น
ดังนั้นแทนที่จะกลัวในเรื่องการไม่มีงานให้เราทำ ลองเปลี่ยนความคิดใหม่กันดู เพราะประเด็นใหญ่สุดไม่ใช่เรื่องที่ว่าหุ่นยนต์กำลังเข้ามาแย่งงานเรา แต่เป็นมนุษย์ต่างหากที่ยังไม่มีทักษะมากพอที่จะทำได้
แรงงานแห่งอนาคต
เรื่องนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เราไม่สามารถคาดหวังให้ผู้คนทำงานแบบเดิมๆ อย่างที่พวกเขาทำมาตลอดทั้งชีวิตการทำงานได้ ขณะเดียวกันเราก็สูญเสียพวกเขาไปไม่ได้ ซึ่งอาจหมายความว่าผู้คนจะต้องเปลี่ยนงานหลายครั้งในช่วงชีวิตวัยทำงานของพวกเรา เราจำเป็นต้องพิจารณาถึงความต้องการของพวกเขา และแทนที่จะมุ่งความสนใจเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว เราจำเป็นต้องให้ความสนใจกับวิธีที่เราจะนำพาแรงงานของเราผ่านการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้อย่างไร
ปัญหานี้มีองค์ประกอบในการแก้ไขอยู่เพียง 2 อย่างเท่านั้น คือ คนและเทคโนโลยี
ผู้คน
หากคุณเห็นว่าผู้คนจำเป็นต้องทำงานที่แตกต่างกันออกไปมาก เราจำเป็นที่จะต้องมีศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะทางที่ทุ่มเทฝึกฝนทักษะความชำนาญให้กับพวกเขาในช่วงต้นของวัยทำงานหรือไม่ ทำไมเราไม่ส่งผู้คนไปเรียนงานที่พวกเขาอาจจะทำสัก 4 ปี ตั้งแต่อายุแค่ 12 อย่าเข้าใจผมผิด ผมเป็นผู้สนับสนุนการศึกษาที่ดีอย่างมาก แต่บางทีเราก็ควรสอนให้คนของเรารู้วิธีที่จะเรียนรู้แทนการรู้วิธีทำงาน ทำให้พวกเขามีทักษะพื้นฐานเพื่อเปิดทางให้พวกเขาสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดการทำงานของเขา ใช่ เรื่องนี้อาจจะเกิดขึ้นในการศึกษาขั้นสูงกว่า อย่างมหาวิทยาลัย แต่คนงานกลุ่มใช้แรงงานจำนวนมากที่อยู่ข้างนอกนั่นล่ะ พวกเขาเหมาะสมกับอะไร บางที แทนที่จะทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ อาจจะให้ทำงานแค่ 4 วันต่อสัปดาห์ และให้เวลา 1 วัน สำหรับการทำตัวให้ทันสมัย ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เราต้องทำให้แน่ใจว่าผู้คนจะทันสมัยอย่างต่อเนื่องในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ที่มีแต่จะพัฒนาเร็วขึ้นไปอีกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
เทคโนโลยี
ลืมเรื่องที่เทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่มนุษย์ไปก่อน (ใช่ ผมรู้ว่ายังไงก็ต้องเกิด) แต่หันมาให้ความสนใจในเรื่องที่ว่าเทคโนโลยีสามารถส่งเสริมมนุษย์ได้อย่างไร เราจะนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยคนงานปิดช่องว่างทางด้านทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานได้อย่างใร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเออาร์ (Augmented Reality) สำหรับการสนับสนุนทางไกล หรือโดรนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนงาน ควรพิจารณาเทคโนโลยีทั้งหมดนี้ ในบริบทของวิธีการที่พวกเขาสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มพูนทักษะของมนุษย์และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน
ไอเอฟเอส แล็บส์
การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้กับกระบวนการทางธุรกิจและแอพพลิเคชั่นธุรกิจที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนผู้ใช้งานของเรา การทดลองประสบการณ์ของลูกค้าในโลกธุรกิจ การกำหนดผลกระทบของเทคโนโลยีที่อยู่ไกลออกไป เช่น การคำนวณด้วยควอนตัม ทั้งหมดนี้คืองานประจำวันของพวกเราที่ไอเอฟเอส แล็บส์ และแน่นอนว่าเราทำเช่นนั้น โดยคำนึงถึงผู้ใช้งานของเราที่เป็นคนจริงๆ พวกเขาจะต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อความสำเร็จ ซึ่งที่สุดแล้วก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและความพึงพอใจของพวกเขานั่นเอง
เกี่ยวกับไอเอฟเอส
ไอเอฟเอส (IFS) เป็นผู้นำระดับโลกด้านการพัฒนาและนำเสนอซอฟต์แวร์สำหรับการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning หรือ ERP) การบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กร (Enterprise Asset Management หรือ EAM) และ การบริหารจัดการงานบริการขององค์กร (Enterprise Service Management หรือ ESM) ทั้งนี้ ไอเอฟเอสก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2526 โดยมีส่วนช่วยสนับสนุนให้ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสามารถดำเนินธุรกิจได้ดีขึ้น ตลอดจนผลักดันให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน พร้อมทั้งจัดเตรียมสิ่งต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรมเพื่อให้พร้อมรับมือกับอนาคต ไอเอฟเอส มีพนักงาน 2,800 คนที่พร้อมให้การสนับสนุนผู้ใช้ทั่วโลกมากกว่า 1 ล้านคนผ่านสำนักงานสาขาในเขตพื้นที่ต่างๆ และผ่านเครือข่ายพันธมิตรที่กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้นสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่เว็บไซต์: IFSworld.com
ติดตามเราทาง Twitter: @ifsworld
เยี่ยมชมบล็อกของไอเอฟเอสเกี่ยวกับเทคโนโลยี นวัตกรรม และผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ: http://blog.ifsworld.com/