พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เปิดงาน “Thailand Software Fair 2018” ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เติบโต แข็งแกร่ง

พฤหัส ๒๙ พฤศจิกายน ๒๐๑๘ ๑๖:๔๘
พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน "Thailand Software Fair 2018" เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลังซอฟต์แวร์ไทยให้เติบโต แข็งแกร่ง รองรับยุทธศาสตร์ชาติในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล จัดโดยสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย หรือ ATSI ผนึกกำลังร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และพันธมิตร ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือเอสเอ็มอี ดีแบงค์) บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ซึ่งภายในงานมีการแสดงผลงานซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของภาครัฐ และอุตสาหกรรมทั่วไป หวังยกระดับการขับเคลื่อนบุคลากรในองค์กรธุรกิจและภาคการศึกษา

ในการนี้พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "พลังซอฟต์แวร์ไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล" ว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) อย่างเต็มรูปแบบ การเชื่อมโยงดิจิทัลถือเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาประเทศ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องตื่นตัว กับการปรับเปลี่ยนองค์กรให้เข้าสู่ยุคดิจิทัล โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงงานที่มีทั้งความรู้และทักษะ เพื่อการเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ประกอบกับโลกในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการพัฒนาด้านต่าง ๆ มากขึ้น

ทั้งนี้การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการ พัฒนาบุคลากรเพื่อตอบโจทย์ตลาดแรงงานในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจะเป็นแนวทางในการช่วยยกระดับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้ก้าวสู่ระดับสากล รวมทั้งการพัฒนาทางด้านหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ๆ ที่กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิต โดยภาครัฐจะสนับสนุนเชิงนโยบายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

นายทินกร เหล่าเราวิโรจน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย กล่าวว่า การจัดงาน " Thailand software Fair 2018 " ในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อแสดงผลงานซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการ ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของภาครัฐและอุตสาหกรรมทั่วไป เพื่อให้ผู้ประกอบการมีข้อมูลในการใช้ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายของผู้เข้าร่วมงานเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 80% เป็นกลุ่มผู้บริหารจากองค์กรต่าง ๆ อีก 20% เป็นประชาชน นักเรียน นักศึกษาทั่วไปที่สนใจเกี่ยวกับโซลูชั่นซอฟต์แวร์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการต่อยอดความสำเร็ จากปีที่ผ่านมา และย้ำถึงภารกิจของสมาคมฯ ในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และนวัตกรรมดิจิทัล ที่พร้อมก้าวไปสู่ ATSI Change Agent ที่มุ่งเน้น Ecosystems, People Transformantion, Digital Workforce รวมทั้งสมาคมฯ ยังมีแผนที่จะผนวกแนวคิดกับทางภาครัฐ องค์กรเอกชน และสถาบันการศึกษาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ พื้นฐานของไทย ซึ่งขณะนี้ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและแม้จะมีคู่แข่งจากต่างประเทศเข้ามาบุกตลาด แต่มั่นใจได้ว่าตลาดซอฟต์แวร์ไทยยังมีโอกาสต่อสู้กับคู่แข่งได้อย่างสูสี

ด้าน ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เปิดเผยว่า ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล คือ "ทรัพยากรบุคคล" ซึ่งจะต้องได้รับ การส่งเสริมและเตรียมความพร้อมเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยปัจจุบันนี้ ประเทศไทยยังถือว่าขาดแคลนบุคลากรดิจิทัลที่มีทักษะความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ซึ่ง"ดีป้า"ได้มุ่งส่งเสริมการพัฒนากำลังคนและบุคลากรดิจิทัลในทุกระดับเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง การที่ดีป้ามีส่วนร่วมในการจัดงาน "Thailand software Fair 2018" ไม่เพียงแค่เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลเท่านั้น แต่เป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะได้รับฟังเสียงสะท้อนจากภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และอีกหลายภาคส่วน เพื่อการนำไปสู่ การพัฒนานโยบายตลอดจนแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนดิจิทัลให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง

นายทินกร กล่าวด้วยว่า การจัดงานในครั้งนี้โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมากประสบการณ์มาร่วมให้ความรู้ในงานและยังได้รวบรวมเทคโนโลยีซอฟต์แวร์พื้นฐานเพื่อธุรกิจทุกระดับ และนวัตกรรมเด่น ผลงานโดยคนไทย มาจัดแสดงภายในงาน อาทิ Digital Transformation Solutionสำหรับ SMEs by AIS, บทบาท E-TAX Invoice กับ Business Transformation ของ SMEs ไทย โดยบริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด, ทางออกเรื่องเงินทุนสำหรับ SME ด้วยโครงการเงินกู้ พร้อมดอกเบี้ยพิเศษ เป้ารวม 100 ล้านบาท จาก ธพว. หรือเอสเอ็มอี ดีแบงค์, SMEs รับสิทธิส่วนลดสำหรับการซื้อซอฟต์แวร์มูลค่าสูงสุด 10,000 บาท ในโครงการ depa Mini-Transformation Voucher จำนวน 400 ทุน มูลค่ารวม 4 ล้านบาท และยังมีตัวอย่างความสำเร็จของการปรับตัวเข้าสู่การเป็น Leadership Digital Entrepreneur รวมถึงมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "Coding Skill ทักษะแห่งศควรรษที่21" โดยโครงการ Coding Thailand สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เพื่อส่งต่อแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของเยาวชนในศควรรษที่ 21

นอกจากนี้ยังได้มีการออกบูธนำเสนอโซลูชั่นซอฟต์แวร์ที่ตอบโจทย์ธุรกิจที่หลากหลาย อาทิ บูธของผู้สนับสนุนโครงการทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชน, การจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อได้มาพบกับผู้ผลิต, การเสวนาที่น่าสนใจสำหรับกลุ่ม SME โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับการยอมรับในวงการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๓ LE โชว์ผลงาน Q3/67 กำไรทะยาน 312% รายได้อยู่ที่ 720 ลบ. ส่งซิก Q4 โตต่อเนื่อง ล่าสุดกอด Backlog แน่น 1,300
๑๗:๕๐ แม็คโคร พัทยา ปรับโฉมใหม่ รองรับกำลังซื้อช่วงไฮซีซั่น พร้อมจัดแคมเปญขอบคุณลูกค้าส่งท้ายปี ส่งมอบความคุ้มค่าทั่วเมืองพัทยา
๑๗:๒๑ ยันม่าร์ โชว์นวัตกรรมการเกษตร ในงานประชุมใหญ่ชาวไร่อ้อยสามัญประจำปี พร้อมฉลองครบรอบ 45 ปี สนับสนุนเงินดาวน์แทรกเตอร์ถึง 3
๑๗:๕๒ CHAYO งบ Q3/67 สุดปังทั้งรายได้และกำไร งวด 9 เดือนรายได้พุ่ง 38.85% มั่นใจรายได้ปีนี้โตไม่ต่ำกว่า 20%
๑๗:๔๘ TNP เข้ารับเกียรติบัตร CAC ในฐานะบริษัทฯ ที่ได้รับการต่ออายุรับรองครั้งที่ 2 มุ่งมั่นเป็นองค์กรที่ร่วมต่อต้านคอร์รัปชันในภาคเอกชนไทย
๑๗:๕๙ คริสตัล โฮม ร่วมกับ AXOR จัดเวิร์กชอป The Power of Colors เผยเคล็ดลับดีไซน์ห้องน้ำหรูด้วยสีสันที่โดดเด่น
๑๗:๓๕ ทีเอ็มบีธนชาต ชวนซื้อสลากกาชาดทีทีบี ได้บุญ พร้อมลุ้นโชค 716 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 7 ล้านบาท ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ การให้ บำรุงสภากาชาดไทย
๑๗:๒๕ PRTR ประกาศงบ Q3/67 กำไรนิวไฮอีกครั้ง โตกว่า 14% ธุรกิจ Outsource ดาวเด่น คาด Q4/67 ดีมานด์พุ่ง
๑๗:๔๔ PLUS ส่ง Coco Royal ลุยช่องทางการขายชั้นนำในจีน ดันยอดขายพุ่ง รับออเดอร์ลูกค้ารายใหญ่ พร้อมเดินหน้าเต็มกำลังการผลิต
๑๗:๓๘ PRAPAT ฟอร์มแกร่ง! กวาดกำไร Q3/67 โต 77% แตะ 17.49 ล้านบาท รับปัจจัยหนุนจากรายได้กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านครัว