คุณกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "การจัดงานสัมมนาฯ"85 ปี แห่งความทุ่มเท ให้ไทยเท่ ไทยเท่าเทียม ไทยยั่งยืน" เพื่อสะท้อนภาพการดำเนินงานขององค์กรที่มีมายาวนานกว่า 85 ปีไทยเท่ คือความภูมิใจและกล้าที่จะนำวัฒนธรรมท้องถิ่นของไทยที่ดีงาม มาผนวกกับนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ สร้างเป็นสินค้าและบริการที่แตกต่าง มีมูลค่าเพิ่ม ให้กับเศรษฐกิจในพื้นที่แต่ละจังหวัด ไทยเท่าเทียม คือ การสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ สร้างรายได้ กระจายรายได้ และลดความเหลื่อมล้ำ โดยกระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรม เติมเต็มองค์ความรู้และประสบการณ์ และสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจ และ ไทยยั่งยืน เดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่การพัฒนาสังคม หอการค้าไทยและภาคีเครือข่ายยังร่วมกันส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจ และแนวทางการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ในการดำเนินธุรกิจสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน"
"ครั้งนี้เราได้จัดงานที่ เมืองสุขสยาม, ศูนย์การค้าไอคอนสยาม ที่เป็น Landmark ใหม่ของประเทศไทย ที่รวบรวมหลายๆเอกลักษณ์จากทั่วประเทศไทยนำเสนอสู่สายตาชาวโลก ซึ่งตรงกับ แนวทาง "ไทยเท่" ที่หอการค้าไทย ผลักดันแนวทางนี้ กระจายลงสู่ทุกภูมิภาค ได้มีการสร้างสรรค์สินค้าและบริการใหม่ๆ โดยดึงอัตลักษณ์ในท้องถิ่น ผสานความคิดสร้างสรรค์ ใช้ "ความต่าง" พัฒนาให้เป็น "มูลค่าเพิ่ม" ยกระดับรายได้ของท้องถิ่น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในหลายพื้นที่"
ด้าน คุณลักขณา นะวิโรจน์ ประธานโครงการสุขสยาม เผยความรู้สึกอย่างเป็นเกียรติ "ที่นี่เป็น 7 สิ่งมหัศจรรย์ของไอคอนสยาม เป็น Co Creation Space ครั้งแรกในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ ที่มีการผนึกกำลังสร้างสรรค์จากชุมชนท้องถิ่น 77 จังหวัดทั่วประเทศ มาร่วมสร้าง Platform ธุรกิจและพื้นที่เชิงวัฒนธรรม ผ่านคอนเซปต์ เมืองสุขสยาม เมืองสารพัดสุข สนุกแบบไทยโดยที่แห่งนี้สร้างขึ้นโดยศิลปินจากทั่วไทยมาร่วมสร้างสรรค์ให้มีเอกลักษณ์ เรื่องราวความมีเสน่ห์ศิลปะไทย เช่น ช้างมงคลที่อยู่ด้านข้างเวที ช้างพลาย ชื่อ สิ-ริ-มัง-คะ-ละ แปลว่าสิริมงคลความดีงาม ช้างพัง ชื่อ สิ-ริ-นะ-คะ-รา แปลว่า ความดีงามของนครบ้านเมือง สร้างโดยศิลปินครูเพชร วิริยะ เจ้าของพิพิธภัณฑ์บ้านจ๊างนักผู้ที่ปั้นช้างได้เสมือนจริง จากจังหวัดเชียงใหม่ และเสา 4 ต้น ที่เห็นกันอยู่ด้านใน ล้วนเป็นผลงานศิลปะทั้งสิ้น ต้นแรกฝั่งขวา คือ ปักษ์ใต้บ้านเรา การละเล่นอันเป็นอัตลักษณ์ทางท้องถิ่นภาคใต้ โดยเฉพาะมโนราห์ผสมผสานไปกับลวดลายผ้าปาเต๊ะ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของภาคใต้ สร้างสรรค์ผลงานโดย คุณเป็นไท สว่างศรี และ คุณธีรยุทธฺ พรมดี จากจังหวัดชุมพรและพัทลุง เสาถัดมา ชื่อผลงาน ย่อฮีต นำคอง การรวบรวมความสุขในการดำรงวิถีชีวิต สร้างสรรค์ สืบสานวัฒนธรรมประเพณีของคนอีสานที่มีความหลากหลาย มาถ่ายทอดลงบนเสา สร้างสรรค์โดยคุณอนุชา อุ่นช่วง จากจังหวัดมหาสารคาม อีกเสาชื่อผลงาน ล้านนา ปิติ เบิกบาน ผลงานชิ้นนี้ ได้แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์จากตุงปีใหม่ของชาวล้านนา นำมาประดับเป็นลวดลายเสาที่มีลักษณะตรงยาวคล้ายๆตุง เพื่อแสดงถึงการเฉลิมฉลองและความเป็นสิริมงคลของทุกคน ทุกนักกษัตริย์ที่ได้ผ่านเข้ามาในดินแดนแห่งนี้จะได้มีแต่ความสุข ความปิติ เบิกบานใจ สร้างสรรค์โดยคุณทรงเดช ทิพย์ทอง จากจังหวัดเชียงราย เสาถัดไปชื่อผลงาน ช้างไทย ได้รับแรงบันดาลใจจากจิตรกรรมลายทอง (ลายรดน้ำ) เล่าถึงป่าอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่า ซึ่งมีช้างสัตว์คู่บ้านคู่เมืองเป็นตัวละครหลักอาศัยหากินอย่างมีความสุข สร้างสรรค์โดยคุณมีชัย สุวรรณสาร ศิลปินผู้เชี่ยวชาญ จิตรกรรมไทยลายทอง แลยังมีอีกหลายๆ ศิลปินที่ได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงานในเมืองสุขสยามนี้ งานศิลป์สร้างสรรค์อันทรงคุณค่า ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตไทยดั้งเดิม มานำเสนอในรูปอัตลักษณ์แห่งสยาม เพื่อสะกดทุกสายตา จากคนไทยและชาวต่างชาติทั่วโลก
ภายในงานครั้งนี้ ยังเตรียมการแสดงชุด 85 ปี แห่งความรุ่งเรือง ที่กำกับโดย ครูนาย มานพ มีจำรัส จากทีมสะบัดลาย ศิลปินศิลปาธร กระทรวงวัฒนธรรม พร้อมเตรียมอาหาร 4 ภาคไว้ต้อนรับ ภาคกลาง กุ้งเผาอยุธยา ก๋วยเตี๋ยวเรือ ก๋วยเตี๋ยวหมูรสดีเด็ด ปอเปี๊ยะสดเฮียไช้ ภาคเหนือ ข้าวซอยลำดวนฟ้าฮ่าม ไส้กรอกสุโขทัย ข้าวยำแหนมสด ยำข้าวเกรียบ กำแพงเพชร แม่ศจีลูกชิ้นปลากราย นครสวรรค์ ภาคอีสาน สยาม แหนมเนือง สุขแซ่บ สเต๊กโคขุน ภาคใต้ บ้านห่อหมก ข้าวหมกไก่ ยูซุป ผัดหมี่เมืองคอน คั่วเป็ดตรังฯลฯ เรียกความประทับใจ ตอกย้ำและจุดประกายว่า สินค้า อาหาร วัฒนธรรมไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลก… ต้องภูมิใจ "ไทยเท่"