วสท.นำวิศวกรไทยร่วมประชุมอาเซียน “CAFEO 36” และต้อนรับ ดร.มหาธีร์ ในสิงคโปร์

พฤหัส ๐๖ ธันวาคม ๒๐๑๘ ๑๗:๓๔
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) นำโดย ดร.ธเนศ วีระศิริ นายก วสท. ศาสตราจารย์ ดร.พานิช วุฒิพฤกษ์ ประธานฝ่ายต่างประเทศ และทีมบริหาร วสท. นำวิศวกรไทยเข้าร่วมงานประชุมนานาชาติสมาพันธ์สมาคมวิศวกรรมอาเซียน "CAFEO ครั้งที่ 36" ณ รีสอร์ท เวิลด์ เซ็นโตซา คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งผู้เข้าประชุมประกอบด้วย 10 ประเทศสมาชิกในอาเซียน ภายใต้แนวคิด "Engineering Rail Connectivity & Fostering Excellence in Engineering Education" และร่วมเป็นสักขีพยานพิธีการมอบรางวัลเกียรติยศแก่ ดร.มหาธีร์ มูฮัมหมัด นายกรัฐมนตรี ประเทศมาเลเซีย ในพิธี "Conferment of the ASEAN Federation of Engineering Organisations (AFEO) Distinguished Honorary Patron Award" พร้อมด้วยประธานจากบรรดาองค์กรในประเทศสมาชิก

ภายในงานประชุมนานาชาติสมาพันธ์สมาคมวิศวกรรมอาเซียน "CAFEO ครั้งที่ 36" มร.เตียว ชี เฮียน (Teo Chee Hean) รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงแห่งชาติ สิงคโปร์ เป็นประธานเปิดงาน และ President จากประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศได้เข้าร่วมขบวนพิธีเปิด ได้แก่ ประเทศไทย อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา บรูไน พร้อมการแสดงตระการตาจากสิงคโปร์ ประเทศเจ้าภาพ การประชุม CAFEO ครั้งที่ 36 ประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่งในการส่งเสริมความแข็งแกร่งทางวิศวกรรมเพื่อรองรับการเติบโตของภูมิภาคอาเซียน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความก้าวหน้าด้านวิศวกรรมเทคโนโลยีของแต่ละประเทศสมาชิกในอาเซียน ทั้งยังเปิดโอกาสให้วิศวกรไทยและอาเซียนได้นำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ในเวทีสากล พร้อมก้าวไปสู่วิชาชีพวิศวกรรมในระดับอาเซียน นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมศักยภาพของวิศวกรและนักธุรกิจผู้ประกอบการทั้งในกลุ่มอาเซียน และประเทศอื่น ๆ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐ ออสเตรเลีย และจีน อีกด้วย

ในปีนี้เป็นที่น่ายินดีที่วิศวกรไทยที่มีผลงานเด่นได้สร้างชื่อเสียงแก่ประเทศไทย โดยได้รับรางวัลเกียรติยศ 10 ท่าน จากสมาพันธ์สมาคมวิศวกรรมแห่งอาเซียน (AFEO) คือ รางวัล AFEO Honorary Fellow Award ได้แก่ คุณชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รางวัล AFEO Honorary Member Award ได้แก่ รศ.ดร.อัญชลีพร วาริทสวัสดิ์ หล่อทองคำ, นายสุเมธ สุรบถโสภณ, ผศ.พิสิษฐ์ แสง-ชูโต, นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ, นายวัชรินทร์ กาสลัก, นายสุวัฒน์ บุญศักดิ์สกุล, นายชัยชาญ วรนิทัศน์, ดร.วินัย สารสุวรรณ และ รางวัล ASEAN Outstanding Engineering Contribution Award ได้แก่ นางศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร

ความเป็นมาของสมาพันธ์สมาคมวิศวกรรมแห่งอาเซียน (AFEO) เป็นองค์กรสากลที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร ก่อตั้งขึ้นในปี 1973 และเป็นสมาชิกของสมาพันธ์วิศวกรรมโลก (World Federation of Engineering Organizations - WFEO) โดยมีเครือข่ายเป็นองค์กรและสมาคมด้านวิศวกรรมจาก 10 ประเทศในอาเซียน ทั้งนี้ AFEO มีบทบาทหน้าที่เสริมสร้างความก้าวหน้าในองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมในอาเซียนซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญและเติบโตรวดเร็ว ส่งเสริมด้านการศึกษาเทคโนโลยี วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมในอาเซียนให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงมาตรฐานพื้นฐานวิชาชีพวิศวกรรมอาเซียนและการขึ้นทะเบียนวิชาชีพวิศวกรอาเซียน (The ASEAN Chartered Professional Engineer - ACPE) เพื่อประโยชน์แก่ประชาชน สังคมและเศรษฐกิจของประเทศและประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ภายใต้ AFEO ยังมีการตั้งสมาพันธ์วิศวกรรุ่นใหม่ (Young Engineers ASEAN Federation of Engineering Organization - YEAFEO) เพื่อเปิดโอกาสวิศวกรรุ่นใหม่ในการร่วมขับเคลื่อนความก้าวหน้าของสังคม เศรษฐกิจและการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมในอาเซียน ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวอาเซียน รวมทั้งช่วยส่งเสริมโอกาสในการทำงานภายในภูมิภาคอาเซียน และพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความร่วมมือระหว่างกัน

ปัจจุบันเครือข่ายองค์กรตัวแทนใน 10 ประเทศ ของสมาพันธ์วิศวกรรมแห่งอาเซียน (ASEAN Federation of Engineering Organization - AFEO) ประกอบด้วย ประเทศไทย (The Engineering Institute of Thailand - EIT), อินโดนีเซีย (Persatuan Insinyur Indonesia - PII), บรูไน (Pertubuhan Ukur Jurutera & Arkitek - PUJA), สิงคโปร์ (The Institution of Engineers Singapore - IES), เวียดนาม (Vietnam Union of Science and Technology Associations - LUSEA), สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao Union of Science and Engineering Associations - LUSEA), กัมพูชา (Board of Engineers Cambodia - BEC), ฟิลิปปินส์ (The Philippines Technological Council - PTC), สาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ (Myanmar Engineer Society - MES) และมาเลเซีย (The Institution of Engineers Malaysia - IEM) พร้อมด้วยพันธมิตรสมาคมวิศวกรรมจากประเทศอื่นๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ออสเตรเลีย, จีน, อินเดีย, เยอรมัน และอังกฤษ รวมทั้งสมาพันธ์วิศวกรรมโลก (World Federation of Engineering Organizations - WFEO) และสถาบันเทคโนโลยีและวิศวกรรมแห่งอาเซียน (ASEAN Academy of Engineering and Technology - AAET)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ