เอคเซนเชอร์สำรวจกลุ่มแบงก์ พบธนาคารในเอเชียแปซิฟิกเตรียมเปิดโอเพ่นแบงก์กิ้งให้บริการลูกค้าองค์กร หวังดันรายได้เติบโตสองหลัก

พฤหัส ๐๖ ธันวาคม ๒๐๑๘ ๑๘:๓๓
ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยต่างเล็งใช้นวัตกรรมระบบโอเพ่นแบงก์กิ้งสร้างบริการใหม่ ๆ ด้วยนวัตกรรม

เอคเซนเชอร์ (NYSE: ACN) สำรวจทั่วโลก พบธนาคารขนาดใหญ่ในเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่เห็นว่าการให้บริการโอเพ่นแบงก์กิ้งหรือระบบที่เปิดกว้างแก่องค์กรธุรกิจ จะเป็นกลยุทธ์หลักของธนาคารในการปรับตัวไปสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งหลายแห่งคาดว่าโอเพ่นแบงก์กิ้งจะช่วยให้ธนาคารมีรายได้มากขึ้น ซึ่งอาจขยายตัวได้ถึงสองหลัก

ระบบโอเพ่นแบงก์กิ้งจะช่วยให้ลูกค้าที่เป็นองค์กรธุรกิจ แบ่งปันข้อมูลทางการเงินกับธนาคารและบุคคลภายนอกได้อย่างปลอดภัย เอื้อให้การโอนเงิน จ่ายเงิน เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ และการจัดการบัญชี ทำได้โดยสะดวกผ่านช่องทางการเชื่อมต่อข้อมูลหรือ API

การสำรวจของเอคเซนเชอร์เผยว่า 90% ของธนาคารในเอเชียแปซิฟิกมีแผนจะให้บริการโอเพ่นแบงก์กิ้งแก่ลูกค้าองค์กรธุรกิจ โดยครึ่งหนึ่ง (50%) คาดว่าโอเพ่นแบงก์กิ้งจะช่วยเพิ่มรายได้ได้สูงสุด 10% ส่วนหนึ่งในสาม (33%) ของธนาคารที่สำรวจคาดว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ให้ถึง 20%

รายงานวิจัยของเอคเซนเชอร์เรื่อง "Opening Up Commercial Banking, The Brave New World Of Open Banking in APAC" เป็นการสำรวจระดับโลกในกลุ่มผู้บริหารธนาคารจำนวน 750 คน รวมทั้งผู้บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่

อัตราการเติบโตของรายได้ (%) ที่ธนาคารคาดว่าจะได้รับจากการให้บริการโอเพ่นแบงก์กิ้ง แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และองค์กรต่าง ๆ ในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า

ภาพความละเอียดสูง (คลิกขวาเพื่อเซฟ)

ผลสำรวจหลัก ๆ ที่พบคือ ลูกค้าองค์กรของธนาคารในไทยมีความต้องการบริการเหมือนกับรายย่อย นั่นคือ กระบวนการที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเสริมประสิทธิภาพ และทำให้ประสบการณ์ของลูกค้าน่าประทับใจยิ่งขึ้น และนี่เองที่โอเพ่นแบงก์กิ้งจะเข้ามาช่วยได้ เมื่อถามถึงประโยชน์ของการมีระบบนิเวศสำหรับโอเพ่นแบงก์กิ้ง ผู้บริหารของกิจการขนาดใหญ่และเอสเอ็มอีที่ตอบแบบสำรวจจำนวน 28% เห็นว่าจะช่วยลดความซับซ้อน รวมทั้งต้นทุนของการเชื่อมต่อระบบ

นอกจากนี้ องค์กรที่เป็นลูกค้าธนาคารพาณิชย์ยังคาดว่า โอเพ่นแบงก์กิ้งจะเข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพในกระบวนการทำธุรกิจ (มีผู้ตอบ 25%) และช่วยให้องค์กรเข้าถึงบริการธนาคารที่สะดวกและทันสมัย (มีผู้ตอบ 20%) เมื่อถามถึงส่วนงานที่จะได้ทำงานประสานความร่วมมือกับธนาคารมากขึ้นเมื่อมีระบบโอเพ่นแบงก์กิ้ง สำหรับเอสเอ็มอีในไทย เล็งเห็นประโยชน์ในด้านการชำระเงิน การจัดการคำสั่งซื้อ การจับคู่ธุรกิจ การรวมระบบบัญชีและกู้ยืมเข้าด้วยกัน ขณะที่องค์กรใหญ่ ๆ เล็งเห็นประโยชน์สำหรับฝ่ายการเงิน การบริหารเงิน และการชำระเงินต่าง ๆ

นายเกรแฮม รอทเวลล์ ผู้อำนวยการสายงานระบบชำระเงิน เอคเซนเชอร์ เอเชียแปซิฟิก กล่าว "บริการจากโอเพ่นแบงก์กิ้งที่ให้ประโยชน์สำคัญต่อธุรกิจเอสเอ็มอีและองค์กรธุรกิจในไทยนั้น มีหลากหลายมากตามแต่ที่ธุรกิจจะสนใจ แวดวงธนาคารจึงควรร่วมกันพัฒนากรอบของโอเพ่นแบงก์กิ้งและหาข้อตกลงด้านมาตรฐานร่วมด้วยกัน หากมีกรอบที่ดีแล้ว ธนาคารและธุรกิจฟินเทคจะทำงานประสานกันได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบโดยรวมจะมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง"

ธนาคารขนาดใหญ่ส่วนมากในเอเชียแปซิฟิกคือ ราว 80% ได้ลงทุนในโครงเกี่ยวกับโอเพ่นแบงก์กิ้งแล้วหรือไม่ก็มีแผนจะลงทุนในปีหน้า เพื่อรองรับลูกค้าองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกที่ 87% แต่หากพิจารณามูลค่าการลงทุนแล้ว ธนาคารในภูมิภาคนี้มีแผนลงทุนมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ในการสร้างแพลตฟอร์มโอเพ่นแบงก์กิ้งเป็นบริการแก่พันธมิตรภายนอก สามารถศึกษาการทำงานของระบบและความสัมพันธ์กับองค์ประกอบส่วนต่าง ๆ (use case) ได้ โดย 39% ของธนาคารในเอเชียแปซิฟิกมีแผนลงทุนด้านนี้เป็นมูลค่ารวม 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับ 21% ของธนาคารในทวีปอเมริกาเหนือ และ 14% ของธนาคารในยุโรปที่ลงทุนในจำนวนนั้น

เมื่อถามถึงพันธมิตรด้านโอเพ่นแบงก์กิ้ง องค์กรขนาดใหญ่และเอสเอ็มอีในไทยระบุว่าต้องการร่วมมือกับธนาคารที่ตนใช้บริการอยู่ คิดเป็นสัดส่วน 87% ซึ่งสูงที่สุดในโลก มีเพียง 12% เท่านั้นที่ต้องการร่วมมือกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีนอกภาคธนาคาร

"ภาคธนาคารในไทยยังมีโอกาสดี ๆ และมีศักยภาพอีกมาก ได้รับความเชื่อมั่นสูงจากลูกค้าองค์กร และมีบริการที่หลากหลาย ตอบโจทย์ทั้งเอสเอ็มอีและธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต่างต้องการโซลูชั่นด้านโอเพ่นแบงก์กิ้ง ซึ่งเอคเซนเชอร์เห็นว่า ถ้าธนาคารไม่ฉวยโอกาสดี ๆ เช่นนี้ กิจการฟินเทคและคู่แข่งด้านดิจิทัล อาจจะแซงหน้าและได้โอกาสนี้ไปก่อน" นายเกรแฮมกล่าวเสริม

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Accenture Banking ได้ที่ www.accenture.com/banking

นายเกรแฮม รอทเวลล์ ผู้อำนวยการสายงานระบบชำระเงิน เอคเซนเชอร์ เอเชียแปซิฟิก

วิธีวิจัย

เอคเซนเชอร์ รีเสิร์ช (Accenture Research) ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารจากธนาคารระดับโลก 100 แห่ง กิจการขนาดกลางและขนาดย่อม 330 แห่ง และกิจการขนาดใหญ่ 330 แห่ง ใน 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน (ฮ่องกง) ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สิงคโปร์ สวีเดน ไทย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา โดยสำรวจทางออนไลน์ในเดือนกันยายน 2561 เพื่อวิเคราะห์ความคาดหวังและแผนในการนำระบบโอเพ่นแบงก์กิ้งมาใช้

ข้อมูลเกี่ยวกับเอคเซนเชอร์

เอคเซนเชอร์ เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ ดิจิทัล การบริหารเทคโนโลยีและการปฏิบัติการชั้นนำของโลก และด้วยประสบการณ์การทำงานอย่างลึกซึ้ง ผนวกกับศักยภาพที่สมบูรณ์แบบในกว่า 40 อุตสาหกรรมซึ่งครอบคลุมทุกสายงานของธุรกิจ พร้อมด้วยเครือข่ายการให้บริการที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้เอคเซนเชอร์สามารถร่วมมือกับลูกค้า เชื่อมต่อธุรกิจและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ยกระดับองค์กรของลูกค้าให้เป็นองค์กรที่มีศักยภาพและสมรรถภาพสูง สามารถสร้างคุณค่าอันยั่งยืนแก่ผู้ถือหุ้นได้ ปัจจุบันเอคเซนเชอร์ มีพนักงานประมาณ 459,000 คนในกว่า 120 ประเทศ เอคเซนเชอร์มุ่งพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยให้การใช้ชีวิตและการทำงานมีคุณภาพดีขึ้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.accenture.com # # #

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ