เดินหน้า!!! โครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโล หลังคลอดสเปก – ราคากลางก่อสร้างถนนฯ ดัน ใช้น้ำยางจากเกษตรกร – สถาบันเกษตรกรที่ กยท.รับรอง เป็นวัตถุดิบ

จันทร์ ๑๗ ธันวาคม ๒๐๑๘ ๑๒:๓๒
พร้อมเดินหน้าโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร หลังกำหนดคู่มือแนะนำการก่อสร้างถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ สำหรับถนนท้องถิ่น พร้อมหลักเกณฑ์และราคากลางก่อสร้างฯ เพื่อให้ อปท. ดำเนินการก่อสร้างเองหรือจ้างเหมาก่อสร้าง โดยมีวัตถุดิบเป็นน้ำยางจากบริษัทผู้ผลิต สถาบัน/กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางที่ กยท. รับรอง

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง เผยว่า โครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร เป็นอีกหนึ่งโครงการตามนโยบายแก้ปัญหายางพาราของรัฐบาล ขณะนี้พร้อมเดินหน้าดำเนินโครงการอย่างเต็มที่ หลังมี "ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง ข้อแนะนำการก่อสร้างถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ สำหรับงานถนนท้องถิ่น" โดยดำเนินการสร้างถนนด้วยกระบวนการ Mix in Placeใช้รถเกลี่ยดิน (Motor Grader) ซึ่งหน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการก่อสร้างถนนได้ โดยยึดมาตรฐานจากคู่มือแนะนำการก่อสร้างถนนดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ สำหรับถนนท้องถิ่น และคู่มือการออกแบบส่วนผสม (Job Mix Formula) ที่จัดทำโดยกระทรวงคมนาคม นอกจากนี้ กรมบัญชีกลางได้มีประกาศการกำหนดหลักเกณฑ์และราคากลางงานก่อสร้างเพื่อใช้ในงานถนนดินซีเมนต์ฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จึงสามารถนำคู่มือ ข้อแนะนำ และราคากลาง ไปดำเนินการก่อสร้างด้วยตนเองหรือจ้างเหมาก่อสร้างได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ ทั้งนี้ หากมีการสร้างถนนพาราซอยด์ซีเมนต์ อย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 กิโลเมตร ทั่วประเทศ จะมีระยะทางรวม 75,032 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้น้ำยางสดในปริมาณ 1,440,614.40 ตัน หรือคิดเป็นน้ำยางข้น 720,320.2 ตัน ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 16,326.9632 ล้านบาท

นายณกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับน้ำยางที่ใช้เป็นวัตถุดิบใช้ในการผสมเป็นน้ำยาง Preblend เพื่อนำมาราดถนนนั้น กำหนดให้บริษัทผู้ผลิตน้ำยางPreblend ที่เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องใช้น้ำยางสดหรือน้ำยางข้นจากการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) หรือบริษัทผู้ผลิตน้ำยางข้น สถาบัน/กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง ที่ กยท. รับรองเท่านั้น ดังนั้น โครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร นอกจากจะช่วยดูดซับน้ำยางออกจากระบบตลาด เพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น และเป็นการพัฒนาคุณภาพถนนและพื้นผิวการจราจรให้มีความทนทานแข็งแรงขึ้นแล้ว ยังช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ