ปส. จับมือ IAEA และ 14 องค์กรความมั่นคงนิวเคลียร์ไทย ประเมินภัยคุกคามและแผนสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยนิวเคลียร์ของประเทศ

จันทร์ ๑๗ ธันวาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๒๕
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) จัดประชุมระดับประเทศ เรื่อง "การดำเนินการตามแผนสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ครั้งที่ 2 National Design Basis Threat: Evaluation" หวังประเมินข้อมูลภัยคุกคามและดำเนินการตามแผนสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยนิวเคลียร์ของประเทศให้มีความพร้อมและสามารถใช้งานได้จริง ช่วยเสริมความเข้มแข็งในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของไทยอย่างสอดคล้องและรอบด้าน โดยมี 14 องค์กรพันธมิตรด้านความมั่นคงนิวเคลียร์ไทยร่วมประเมินอย่างเข้มข้น

นางสาววิไลวรรณ ตันจ้อย รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับประเทศ เรื่อง "การดำเนินการตามแผนสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ครั้งที่ 2 National Design Basis Threat: Evaluation" กล่าวว่า การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ เป็นหนึ่งในหน้าที่หลักของ ปส. เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ภายในประเทศมีความมั่นคงปลอดภัยต่อชีวิต ทรัพย์สิน ของประชาชน ผู้ปฏิบัติงาน และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งป้องกันภัยคุกคามและอันตรายจากผู้ก่อการร้ายหรือผู้ไม่หวังดีด้วยตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญ ปส. จึงร่วมกับ IAEA จัดประชุมเชิงปฏิบัติการระดับประเทศ เรื่อง "การดำเนินการตามแผนสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ครั้งที่ 2 National Design Basis Threat: Evaluation" ตั้งแต่วันที่ 17 - 20 ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุมใหญ่ ปส. เพื่อประเมินข้อมูลและจัดทำภัยคุกคามพื้นฐานทางนิวเคลียร์ ซึ่งได้มีการรวบรวมข้อมูลไว้จากการประชุมครั้งที่ 1 เมื่อเดือนตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา

นางสาววิไลวรรณ กล่าวต่อไปว่า การประชุมในครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมต่อเนื่องซึ่ง ปส. และผู้แทนหน่วยงานพันธมิตรด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของไทย กว่า 40 คน จาก 14 หน่วยงาน จะมุ่งเน้นการประเมินแผนสนับสนุนการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของประเทศไทยอย่างเข้มข้น เพื่อให้มีความสอดคล้องกับองค์ประกอบสำคัญ 6 ด้าน ได้แก่ (1) กรอบกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ (2) การประเมินภัยคุกคามและความเสี่ยง (3) การคุ้มครองทางกายภาพ (4) การตรวจสอบ (5) การพัฒนาอย่างยั่งยืน และ (6) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งนี้ หากการประเมินในครั้งนี้พบว่าแผนสนับสนุนฯ มีความสมบูรณ์และคลอบคลุมการดำเนินงานอย่างครบถ้วนในทุกด้านตามแนวทางและมาตรฐานสากลแล้ว ประเทศไทย โดย ปส. จะได้นำเสนอแผนดังกล่าวต่อ IAEA เพื่อให้มีการรับรองและประกาศใช้แผนสนับสนุนการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของประเทศอย่างเป็นทางการต่อไป ซึ่งจะส่งผลให้หน่วยงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของประเทศมีแนวทางในการกำกับดูแลความปลอดภัยอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม สามารถดำเนินงานเพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยในการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ในทางสันติภายในประเทศอย่างมีมาตรฐาน นำไปสู่การยอมรับของนานาประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version