มรภ.สงขลา เสริมทักษะจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน

จันทร์ ๑๗ ธันวาคม ๒๐๑๘ ๑๗:๑๔
มรภ.สงขลา อบรมเสริมสร้างทักษะจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ยกเป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายองค์กร ชี้ต้องวางแผนและควบคุมให้อยู่ในระดับยอมรับได้ หรือเกิดความเสียหายน้อยที่สุด

ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดการอบรมเรื่อง การเสริมสร้างทักษะจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ณ ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงานอธิการบดี มรภ.สงขลา เมื่อเร็วๆ นี้ว่า วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน โดยเชิญ นางวัลนา ภู่สำลี ข้าราชการบำนาญของกรมบัญชีกลาง มาให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากความเสี่ยงถือเป็นสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นและส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร เกิดความเสียหาย ผิดพลาด ฉ้อโกง สูญเปล่า หรือทำให้วัตถุประสงค์ขององค์กรเบี่ยงเบนไป อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะส่งผลกระทบต่อเงิน ทรัพย์สิน ภาพลักษณ์ขององค์กร ขวัญและกำลังใจของบุคลากร ตลอดจนความมั่นคงของประเทศ

นางวริษฐา ตันติพงศ์ หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน มรภ.สงขลา กล่าวว่า เมื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงในองค์กร แบ่งตามประเภทความเสี่ยง ได้แก่ ด้านทรัพยากร (การเงิน งบประมาณ ระบบเทคโนโลยีสารเสนเทศ อาคารสถานที่) ด้านยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ของสถาบัน ด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ด้านการปฏิบัติงาน เช่น การบริหารหลักสูตร การบริหารงานวิจัย ระบบงาน ระบบประกันคุณภาพ ด้านบุคลากรและด้านธรรมาภิบาล โดยเฉพาะจรรยาบรรณของอาจารย์และบุคลากร ซึ่งส่วนการควบคุมภายในเป็นกลไกที่จะทำให้หน่วยงานของรัฐบรรลุวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน ได้แก่ ด้านการดำเนินงาน ด้านการรายงาน และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ

"การควบคุมภายในเป็นส่วนประกอบที่แทรกอยู่ในการปฏิบัติงานตามปกติ เป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างเป็นขั้นตอนและต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นผลสุดท้ายของการกระทำ เกิดขึ้นได้โดยบุคลากรของหน่วยงานของรัฐ โดยผู้กำกับดูแล ฝ่ายบริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ตรวจสอบภายใน เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการทำให้มีการควบคุมภายในเกิดขึ้น โดยสามารถให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่าจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดหากมีการกำหนดให้เหมาะสมกับโครงสร้างองค์กรและภารกิจของหน่วยงานของรัฐ" นางวริษฐา กล่าว

ด้าน นางวัลนา ภู่สำลี ข้าราชการบำนาญของกรมบัญชีกลาง วิทยากร กล่าวว่า ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงทุกประเภทที่อาจจะเกิดขึ้นกับองค์กรอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ จึงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง 7 ขั้นตอน คือ 1. กำหนดวัตถุประสงค์ 2. ระบุความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง 3. ประเมินความเสี่ยง 4. ประเมินมาตรการควบคุมความเสี่ยง 5. จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง 6. การรายงานและติดตามผล และ 7. การทบทวนการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งองค์กรจะต้องมีการกำหนดการควบคุมภายในในแต่ละขั้นตอนของการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง หากมีการกำหนดการควบคุมภายในอย่างเหมาะสม องค์กรก็จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้น การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในขององค์กรจึงมีความสำคัญ และจำเป็นต้องมีการวางแผนและควบคุมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ หรือหากเกิดความเสียหายก็ต้องน้อยที่สุดหรือไม่เกิดขึ้นเลย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ