“บีจีซี” ร่วม “สิงห์” เปิด “Thailand Glass Art Festival 2018” นิทรรศการศิลปะจากการเป่าแก้วครั้งแรกของไทย ตระการตา 40 ผลงานมาสเตอร์พีซ ศิลปินระดับโลก

อังคาร ๑๘ ธันวาคม ๒๐๑๘ ๑๓:๓๗
"บีจีซี" ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แก้วครบวงจร ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ร่วมกับ "สิงห์" ผู้ดำเนินธุรกิจเครื่องดื่มรายใหญ่ระดับโลก เปิดนิทรรศการ "Thailand Glass Art Festival 2018" (ไทยแลนด์ กล๊าส อาร์ต เฟสติวัล 2018) งานแสดงศิลปะจากการเป่าแก้วครั้งแรกของประเทศไทย เชิญศิลปินระดับโลกบินนำผลงานมาร่วมจัดแสดง พร้อมชวนตื่นตากว่า 40 ผลงานมาสเตอร์พีซศิลปะแก้ว สร้างสรรค์โดยศิลปินดังทั้งนานาชาติ ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินแถวหน้าของไทย ณ แฟชั่นฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

ภายในพิธีเปิดนิทรรศการ ได้รับเกียรติจาก ปวิณ ภิรมย์ภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย สรวิช ภิรมย์ภักดี ผู้อำนวยการ สำนักงานการพิพิธภัณฑ์และสื่อสิ่งพิมพ์ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยภายในงานได้รับฟังเสวนาพิเศษในหัวข้อ "ศิลปะแก้ว สื่อผสมของความสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ" โดย ศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) หรือ บีจีซี ร่วมด้วยศิลปินรับเชิญ อาจารย์จักรพันธ์ วิลาสินีกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร, เจอร์มี โปเปลก้า (Jeremy Popelka), สเตฟานี่ เทร็นเชิร์ท (Stephanie Trenchard) ศิลปินระดับโลก จากประเทศสหรัฐอเมริกา และ แอฟ-ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ นักแสดงชื่อดัง

ทั้งนี้ นิทรรศการดังกล่าวจัดโดย บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด และบริษัท พิพิธภัณฑ์สิงห์ จำกัด ภายใต้การนำของ ศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร กรรมการผู้จัดการ กล่าวภายในงานว่า "บีจีซี ในฐานะผู้นำบรรจุภัณฑ์แก้ว มุ่งหวังที่จะพัฒนางานศิลปะแก้วให้เติบโตขึ้นในประเทศไทย จึงจัดตั้งหน่วยงาน BGC Glass Studio ขึ้นเมื่อปี 2560 เพื่อส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์ และพัฒนาการศึกษาด้านศิลปะจากแก้วอย่างจริงจัง มีการลงนามในเอกสารความร่วมมือ (MOU) กับ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อผลักดันแก้วให้พัฒนาไปสู่ผลงานสร้างสรรค์ และเป็นศูนย์การเรียนรู้ศิลปะแก้วในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน

"ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เชิญศิลปินผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคนิคการปฏิบัติงานแก้วให้แก่ บุคลากรของบริษัทฯ ศิลปินชาวไทย อาจารย์ และนักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไป จึงเกิดเป็นกลุ่มศิลปินสร้างสรรค์งานศิลปะจากแก้วขึ้นในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาไปสู่การจัดกิจกรรม และการเผยแพร่งานศิลปะจากแก้วในอนาคต"

ศิลปรัตน์ กล่าวต่อไปว่า "จากเหตุผลดังกล่าว และเพื่อตอกย้ำสโลแกนขององค์กรที่ว่า 'INVENT TO INSPIRE' พลังสร้างสรรค์ ไม่มีวันหมด เราจึงได้ร่วมมือกับสิงห์ ริเริ่มจัดงาน Thailand Glass Art Festival 2018 ระหว่างวันที่ 30 พ.ย.- 6 ธ.ค. 61 เพื่อสร้างจุดหมายใหม่ของวงการศิลปะแก้วให้เกิดขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย รวมถึงผลักดันให้เป็นที่รู้จักในภูมิภาคอาเซียน และส่งเสริมให้ผลงานศิลปะแก้วของไทยก้าวไกลสู่สากล พร้อมนำเสนอศิลปะแก้วรูปแบบใหม่ๆ ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ตลอดจนสนับสนุนพลังสร้างสรรค์ของศิลปินรุ่นใหม่ เพราะเราเชื่อมั่นว่าศักยภาพศิลปินไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลก และผมเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า นิทรรศการครั้งนี้ จะสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่มาชมนิทรรศการอย่างแน่นอน" ศิลปรัตน์ กล่าว

ภายในพิธีเปิด ศรัยฉัตร กุญชรฯ จีระแพทย์ พิธีกรชื่อดัง ได้เชิญศิลปินรับเชิญ อาจารย์จักรพันธ์ วิลาสินีกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร, เจอร์มี โปเปลก้า (Jeremy Popelka), สเตฟานี่ เทร็นเชิร์ท (Stephanie Trenchard) ศิลปินระดับโลก จากประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมด้วย "แอฟ ทักษอร" นักแสดงชื่อดัง ร่วมสนทนาในหัวข้อ "ศิลปะแก้ว สื่อผสม ของความสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ" ตลอดจนการส่งเสริมศิลปินรุ่นใหม่ให้โดดเด่นในศิลปะแขนงนี้

โดย อาจารย์จักรพันธ์ วิลาสินีกุล เล่าว่า "แก้วเป็นวัสดุที่อยู่ในทุกที่ ที่มีมนุษย์อาศัยมีทั้งที่บ้านในร้านอาหาร ในรถยนต์ หรือที่อื่นๆ เรามักจะพบสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งทำจากแก้ว ในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ เมื่อผมทำงานกับแก้ว ความคุ้นเคยกับสิ่งของทำจากแก้ว ทำให้รู้สึกว่ามันเป็นวัสดุที่ได้จากธรรมชาติแต่เมื่อต้องทำงานกับแก้วร้อนเหลวๆ ที่กลายเป็นของแข็งใสได้ ผมเริ่มสัมผัสความเป็นแร่ธาตุในตัวมัน ราวกับเป็นโลหะชนิดหนึ่ง แต่แก้วเป็นอโลหะ อย่างไรก็ตามแก้วหลอมขึ้นจากสารเคมีหลายชนิด ผสมรวมกันและมีองค์ประกอบของโลหะอยู่ด้วย ยิ่งทำงานกับแก้วมากขึ้น และเมื่อทดลองเคลือบแก้วให้กลายเป็นกระจกเงา ผมยิ่งตระหนักว่า กระบวนการทำงานศิลปะจากแก้วไม่ต่างไปจากการเล่นแร่แปรธาตุเลย"

ด้าน เจอร์มี โปเปลก้า (Jeremy Popelka) เผยว่า "ส่วนใหญ่ในชีวิตการทำงานผมจะเน้นแก้วหลอมเหลวเป็นวัสดุหลัก การที่ผมสนใจศิลปะการเป่าแก้ว ทำให้ผมมุ่งฝึกฝนเทคนิคต่างๆ ในการทำแก้วของอิตาลี อย่างเทคนิคเมอร์รินี่ (murrine) ซึ่งเป็นวิธีใส่ลวดลายหลากสีสันลงไปในเนื้อแก้ว ผมชอบทำงานประติมากรรมแก้วโดยใช้วิธีหล่อแก้วด้วยแม่พิมพ์ทราย (sand cast glass) เพราะวิธีนี้ จะทำให้เกิดผิวสัมผัสประทับลงไปบนเนื้อแก้วที่โปร่งแสง ผลงานของผมมักได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ และปรารถนาที่จะถ่ายทอดแง่มุมต่างๆ ของวัสดุ เช่น รูปทรงเรขาคณิต เส้นสายจากแรงดึง และแรงโน้มถ่วง

ที่กระทำต่อตัวชิ้นงานในขณะหลอม ซึ่งแง่มุมเหล่านี้ ช่วยนิยามและสื่อความหมายในผลงานของผมครับ"

ขณะที่ สเตฟานี่ เทร็นเชิร์ท (Stephanie Trenchard) เล่าถึงการสร้างสรรค์ศิลปะของเธอว่า "งานของฉันบอกเล่าเรื่องราวของผู้หญิงจากฝั่งตะวันตกของประเทศ ที่สร้างสรรค์ศิลปะ หรือข้องเกี่ยวกับศิลปินในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในหนังสือประวัติศาสตร์ มักไม่ยอมรับว่างานศิลปะของผู้หญิง เป็นศิลปะสำคัญของโลก ผลงานของฉันได้บอกเล่าเรื่องเล็กๆ ด้วยรายละเอียดเฉพาะเจาะจง ที่สะท้อนให้เห็นความหมายและความมีพลัง ในฐานะศิลปินหญิงคนหนึ่ง ผลงานของฉันที่นำมาแสดงครั้งนี้ เป็นเรื่องราวของสภาวะบีบคั้นที่มนุษย์มักนำมากำกับตัวเอง และชุมชน เทคนิคของฉัน คือ สร้างสรรค์รูปทรงลงสี จากนั้น จะหุ้มด้วยแก้วที่หล่อขึ้นโดยใช้แบบหล่อทราย"

ทั้งนี้ ผู้มาชมนิทรรศการ "Thailand Glass Art Festival 2018" ได้พบกับผลงานศิลปะแก้วระดับมาสเตอร์พีซ กว่า 40 ชิ้น สร้างสรรค์โดยศิลปินแก้วระดับโลก, ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินแถวหน้าของไทย ดังนี้

ศิลปินแก้วนานาชาติ อาทิ Jeremy Popelka (USA), Stephanie Tranchard (USA), Roger Parramore (USA), Austin Stern (USA), Nick Mount (Australia), Peter Bowles (Australia), Osamu Noda (Japan), Yumiko Noda (Japan), Hiroshi Yamano (Japan), Nobuyuki Fujiwara (Japan), Koh Seong-Hee (Korea), Lee Yong-Phill (Korea)

ศิลปินแก้วไทย อาทิ อิทธิพล ตั้งโฉลก (ศิลปินแห่งชาติ), เดชา วราชุน (ศิลปินแห่งชาติ), ชนิดา สุวรรณเพ็ญ, จักรพันธ์ วิลาสินีกุล, นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์, ณัฏฐา เจริญพานิช, ชานนท์ ไกรรส, อิ่มหทัย สุวัฒนศิลป์, สวรรยา จันทรสมัย, เอกชญงค์ พรขจรกิจกุล, อุทิศโพธิ์คำ หรือ Jayoto, ชยุตม์ จันทรากุล, ปกรณ์ สิงชา

ศิลปินแก้วระดับโลก : เจอร์มี โปเปลก้า (Jeremy Popelka) และ สเตฟานี่ เทร็นเชิร์ด (Stephanie Trenchard) จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับการยอมรับในฐานะศิลปิน และผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะแก้ว โดยทั้งคู่ได้ร่วมกันสะท้อนเรื่องราวต่างๆ ผ่านงานศิลปะแก้วได้อย่างสวยงามและลงตัว ผลงานของทั้งคู่ถูกจัดแสดงในนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในหลายประเทศ ทั้งยัง ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปะแก้ว และงานหล่อทราย ให้กับมหาวิทยาลัยและสถาบันศิลปะชั้นนำในสหรัฐอเมริกา

ศิลปินไทย/ผู้เชี่ยวชาญ : อาจารย์จักรพันธ์ วิลาสินีกุล ศิลปิน และอาจารย์ประจำภาควิชาประติมากรรม ผู้บุกเบิกวิชาศิลปะแก้วในคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงศิลปะและประติมากรรม ผลงานของอาจารย์ได้รับแรงบันดาลใจจากการนำความทรงจำและประสบการณ์ในอดีตมาเล่าเป็นกวี โดยนำเสนอเรื่องราวผ่านผลงานประติมากรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version