การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อสนับสนุนนโยบายส่งเสริมดิจิทัลของประเทศภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนทั้งในเชิงวิชาการ และทางด้านเทคนิค ที่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ รองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนการยกระดับชีวิตของประชาชนอย่างมั่นคงปลอดภัย ซึ่งถือเป็นความร่วมมือของ 3 ฝ่ายที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านโครงสร้างพื้นฐานสำคัญสำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่ต้องการผลักดันไปสู่ดิจิทัลในอนาคต โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน
depa กับบทบาทภารกิจหลักด้าน Smart City หรือเมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และนวัตกรรมทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ การให้บริการ การบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากร โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจ และภาคประชาชนในการพัฒนา ให้กลายเป็นเมืองที่ประชาชนอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน โดยมีต้นแบบที่ประสบความสำเร็จอย่างมากคือ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งรัฐบาลได้ตั้งเป้าให้จังหวัดภูเก็ตเป็น Smart City ทั้งด้านการค้า การลงทุน โดยให้อุตสาหกรรมดิจิทัลขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอื่น ๆ ให้เติบโตไปพร้อม ๆ กัน และเมื่อโครงการนี้ดำเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบ จะทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตขยายตัวไม่ต่ำกว่า 4.5% ต่อปี ในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งปัจจุบัน โครงการ Phuket Smart City มีพัฒนาการในหลายด้าน และดำเนินโครงการให้หลายมิติเพื่อผลักดันให้จังหวัดภูเก็ตเป็น Smart City เช่น การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศดิจิทัลภูเก็ต (Centre of Digital Excellence Phuket: CODE Phuket) ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับมาตรการพิเศษ
สำหรับ Digital Worker หรือบริษัทด้านดิจิทัลคอนเทนต์ ที่จะมาทำงานหรือลงทุนในประเทศไทย และกำลังขยายผลโครงการเมืองอัจฉริยะ เพิ่มอีก 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น เชียงใหม่ และ EEC ตามเป้าหมายของคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยเร็ว ๆ นี้ เตรียมประกาศเกณฑ์การประเมินเมืองอัจฉริยะ และตราสัญลักษณ์ Smart City