ภารกิจของศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย - จีน (CTC) เป็นการส่งเสริมการวิจัยและความร่วมมือคลังสมองระหว่างไทยจีน โดยจะทำงานใน 4 ด้าน 1. ร่วมส่งเสริมโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์หนึ่งแทบหนึ่งเส้นทาง 2.แลกเปลี่ยนทางด้านนักวิจัยระหว่างไทย - จีน 3.ร่วมจัดตั้งกองทุนวิจัยเพื่อส่งเสริมการวิจัยไทย - จีน 4.การแลกเปลี่ยนผลการวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สังคม
พล.อ.สุรสิทธิ์ ถนัดทาง ผู้อำนายการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย - จีน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า
ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย - จีน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและสถาบันวิจัยการพัฒนาและยุทธศาสตร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยประชาชนแห่งประเทศจีน??Renmin University of China??ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือจัดตั้งศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย - จีน เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 ณ นครปักกิ่ง ศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย – จีน เป็นคลังสมองที่ระดมสมองและหาแนวทางแก้ปัญหาเชิงยุทธศาสตร์และนโยบายให้กับรัฐบาลของทั้งสองประเทศ สองฝ่ายจะช่วยส่งเสริมงานวิจัยและการแลกเปลี่ยนทางด้านวิชาการ จากนโยบายมาเป็นแนวปฏิบัติระหว่างไทย - จีน
ดร. ธารากร วุฒิเสถิรกูล รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย - จีน ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ประเทศจีนได้นำแนวคิดหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (The Belt and Road Initiative; BRI) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจการค้า การเมือง การศึกษาและ วัฒนธรรม ของจีนในยุคใหม่ จนถึงปัจจุบันนี้ถือว่าประสบความสำเร็จได้ระดับที่น่าพอใจ เพิ่มขีดความร่วมมือระหว่างจีนกับนานาชาติ โดยเชื่อว่าในการออกแบบยุทธศาสตร์นี้ ต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาควิชาการกับภาคสื่อมวลชลในการทำงานร่วมกันและทั้งสองประเทศยังต้องเผชิญกับโอกาสและความท้าทายในยุคใหม่
หลังจากพิธีเปิดศูนย์วิจัยเส้นทางสายไหมไทย - จีน ดร.สิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ พล.อ. สุรสิทธิ์ ถนัดทาง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย - จีน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ คุณพัฒนา สิทธิสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย - จีน ได้ลงนำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน การร่วมมือกันกับศูนย์วิจัยเส้นทางสายไหมไทย - จีน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยในทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการศึกษายุทธศาสตร์และนโยบาย เพื่อส่งเสริมการศึกษาวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ไทย - จีน และเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณชน ออกแบบเชิงนโยบายแก่รัฐบาล
ในวันเดียวกันนั้นยังได้มีพิธีเปิดหนังสือฉบับแปลภาษาไทย เรื่อง "พุทธศาสนาและวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน" ของสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยประชาชนแห่งประเทศจีน (China Renmin university Press) ซึ่งเป็นผลงานของศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย - จีน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หนังสือ "พุทธศาสนาและวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน" ที่เขียนโดยศาสตราจารย์ฟาง ลี่เทียน มุ่งเน้นเรื่องศึกษาพุทธศาสนาในจีนและการเชื่อมโยง เรื่องวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน จากมุมมองทางวัฒนธรรม พร้อมทั้งแนะนำเชิงลึกและเป็นการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อจิตสำนึกทางการเมือง ศีลธรรมและจริยธรรม แนวคิดปรัชญา วรรณคดี ศิลปะ และประเพณีพื้นบ้านของจีน แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาในประเทศจีนที่มีต่อวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างรอบด้านและกฎเกณฑ์การพัฒนาของวัฒนธรรมจีนโบราณ หนังสือ "พุทธศาสนาและวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน" ฉบับภาษาไทย เป็นประตูที่สังคมไทย เข้าใจพุทธศาสนาและวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน หนังสือฉบับภาษาไทยจะทำให้ผู้อ่านไทยที่สนใจพุทธศาสนาที่จะศึกษาเรื่องวัฒนาธรรมของจีน สามารถเพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับพุทธศาสนาของจีนผ่านหนังสือเล่มนี้ได้ และเชื่อว่าหนังสือเล่มนี้ยังเป็นการสร้างคุณูปการเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนและไทย
คุณหลัน ซุ หงษ์ ที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรมของสถานทูตจีนประจำประเทศไทย นายกสภามหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ: รศ.ดร.สมชอบ ไชยเวท ดร.ประเสริฐ ประวัติรุ่งเรือง นายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย – จีน : คุณชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ คุณเฉียน เซียงหลิน อดีตประธานสมาคมนักธุรกิจไทย - เจียงเจ๋อฮู้ คุณธนโชติ แสงรุ่งเรืองพงศ์ ประธานสมาคมการค้าไทย - กว่างซีและ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เข้าร่วมพิธีเปิดของศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย – จีนด้วยและพิธีเปิดหนังสือ "พุทธศาสนาและวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน" ด้วย