4 ปี การประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557

จันทร์ ๒๔ ธันวาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๕๔

เลขาธิการและผู้อำนวยการ สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย

เนื่องด้วยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์มาเป็นระยะเวลาเกือบ 4 ปีแล้ว สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) ในฐานะผู้นำภาคประชาชนในการผลักดันพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ได้เสนอให้ทางคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการรวบรวมความคิดเห็นเพื่อเริ่มต้นประเมินและติดตามผลการบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน ซึ่งได้จัดขึ้น ณ โรงแรมแคนทารี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ทั้งนี้ การดำเนินงานดังกล่าว ได้กำหนดให้มีการสรุปประเด็นเรื่องการรับรู้ การเข้าถึง และการตอบสนองของประชาชนต่อกฎหมายฉบับนี้ รวมถึงข้อคิดเห็น ข้อดีและจุดเน้นที่ควรพัฒนาของพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ดังนี้

ประเด็นข้อคิดเห็น

1. ด้านการรับรู้ของประชาชน คือ ประชาชนรับรู้แต่ขาดความเข้าใจ (56.33%) โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ที่ยังไม่ทั่วถึง และมีการรับรู้กฎหมายเฉพาะบางกลุ่ม สะท้อนจากคดีฟ้องร้องหรือผู้ที่ให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าว (53.52%) ควรเพิ่มช่องทางการสื่อสารไปยังประชาชน เพื่อปลูกจิตสำนึกในเรื่องการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ (40.84%) ผู้บังคับใช้กฎหมายยังไม่เข้าใจกฎหมายอย่างชัดเจน (39.43%) ไม่สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างรวดเร็ว (26.76%) ประชาชนส่วนใหญ่คิดเห็นว่าข้อกำหนดใน พ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้ ให้ความคุ้มครองสัตว์มากเกินไป (26.67%)

2. ด้านการตอบสนองของประชาชนและสังคม คือ มีการตอบสนองของประชาชนและสังคมหลังประกาศใช้กฎหมายนี้ โดยพิจารณาจากการโพสต์ภาพ คลิปวิดีโอ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทารุณกรรมสัตว์ (36.61% ) โดยขาดการตอบสนองจากประชาชนด้านสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งสังคมได้มุ่งประเด็นด้านทารุณกรรมสัตว์เป็นส่วนใหญ่ (36.11%) ยังมีบุคคลบางกลุ่มที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัว (16.90%) มีความตื่นตัวต่อการประกาศใช้กฎหมายและจะให้ความสำคัญเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็นประเด็นทางสังคม แต่ยังขาดความเข้าใจต่อกฎหมาย ในบางกรณีเกิดการล้อเลียนกฎหมายดังกล่าวเปรียบเทียบกับกฎหมายของคน เป็นต้น (5.63%) กฎหมายไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญเนื่องจากประชาชนไทยมีจิตสำนึกและความเมตตาต่อสัตว์ (4.22%)

3. ด้านความตระหนักรู้และการปฏิบัติตามกฎหมาย คือ ประชาชนขาดการตระหนักรู้ ส่งผลให้การปฏิบัติไม่เป็นไปตามที่ควรหรือการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง เช่น การปล่อยสัตว์เลี้ยงตามสถานที่สาธารณะ เป็นต้น รวมถึงการไม่คำนึงถึงกฎหมาย และใช้ความรู้สึกในการปฏิบัติ (47.88%) ขาดความแม่นยำและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดของผู้บังคับใช้กฎหมาย (39.43%) โดยควรสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน โดยการประชาสัมพันธ์และมีเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น (28.16%) ควรให้ปลูกจิตสำนึกและให้ความรู้ในเรื่องกฎหมายแก่เยาวชน (26.76%) เสนอให้มีการทำสื่อในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวเพื่อเพิ่มการรับรู้และสื่อสารไปยังประชาชน (26.76%)

ข้อควรพัฒนาและข้อเสนอแนะต่อพระราชบัญญัติการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557

1. เพิ่มองค์ประกอบในพระราชบัญญัติให้ครบถ้วน เช่น กฎหมายลูกที่ให้รายละเอียดในการปฏิบัติ (26.76) ได้แก่ การระบุอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจน เช่น อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ในการจัดการโรคเรบีส์/พิษสุนัขบ้า และการควบคุมประชากรสัตว์ (38.02%) การจัดการสัตว์ไม่มีเจ้าของและผู้รับผิดชอบเยียวยากรณีประชาชนได้รับอันตรายหรือทำให้เสียทรัพย์สินจากสัตว์ไม่มีเจ้าของ (33.80%) ควรระบุประเภทของสัตว์ที่ชัดเจน ครอบคลุมชนิดสัตว์และบทนิยามเกี่ยวกับสัตว์ที่อาศัยตามธรรมชาติยังไม่ชัดเจน (29.57%) รวมทั้งการจัดการสวัสดิภาพสัตว์ (4.22%) ควรระบุพฤติกรรมที่สามารถกำหนดบทลงโทษได้ (4.22%) โดยเฉพาะการให้คำจำกัดความในมาตรา 24 หมวด 6 ว่าด้วยเรื่องการขนส่งสัตว์ ไม่ชัดเจน (4.22%) ข้อเสนอแนะ คือการมีกฎหมายลูกให้ครบถ้วน ซึ่งจะช่วยขยายความภาษากฎหมายให้มีความชัดเจนมากขึ้น ดังนี้ ระบุอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจน และเพิ่มอำนาจในการจัดการสัตว์จรจัดโดยเร่งรัดการประกาศใช้กฎหมาย ควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะประเด็นการนำสัตว์ไปปล่อยในที่สาธารณะ จับกุมและเผยแพร่ผ่านสื่อเพื่อสร้างความตระหนัก สร้างกองทุนเพื่อเยียวยาผู้ได้รับความเดือดร้อน ระบุหรือให้คำจำกัดความของชนิดสัตว์และสัตว์ป่าในพระราชบัญญัตินี้อย่างชัดเจน หรือออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับชนิดสัตว์ที่อยู่ภายใต้กฎหมาย

2. การตีความกฎหมาย ภาษากฎหมายยากต่อความเข้าใจ (19.71%) อาทิ ข้อปฏิบัติอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ เช่น เมื่อเกิดปัญหาในสัตว์แต่ละชนิดจะต้องไปแจ้งใคร สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า ปศุสัตว์ การบริโภคสัตว์เลี้ยงเป็นการทารุณสัตว์หรือไม่ ปริมาณอาหารและน้ำ ขนาดของกรงสัตว์ที่เหมาะสมต่อสวัสดิภาพสัตว์ เป็นต้น ขาดการวิเคราะห์ที่เพียงพอทำให้ผู้นำไปใช้ตีความผิด เช่น บางครั้งอาจต้องทำลายสัตว์ที่สัมผัสโรค กรณีควบคุมโรคเรบีส์/พิษสุนัขบ้า (2.81%) ข้อเสนอแนะ ควรให้ความรู้ในภาษาตาม พ.ร.บ.ฯ และใช้กรณีตัวอย่างนำมาศึกษาเปรียบเทียบเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจของประชาชนและการตีความ

3.การประชาสัมพันธ์กฎหมาย เพิ่มการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่และประชาชน (16.90%) ข้อเสนอแนะ จัดทำคู่มือและจัดฝึกอบรมสำหรับเจ้าหน้าที่ จัดทำคู่มือสำหรับประชาชนให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย และรวบรวมกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรเพิ่มช่องทางการสื่อสาร อาทิ จัดทำสื่อหรือวีดีโอ สำหรับประชาชน และควรมีการประชาสัมพันธ์เป็นระยะ

4. เพิ่มช่องทางการรับเหตุร้องเรียน รับแจ้งเหตุ (1.40%) ข้อเสนอแนะ กรมปศุสัตว์ มีสายด่วนรับแจ้งเหตุ

5. เพิ่มพนักงานเจ้าหน้าที่และบุคลากรให้เพียงพอ ให้บังคับใช้กฎหมายอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะการแก้ปัญหาสัตว์จรจัดโดยทั่วไป (1.40%) ข้อเสนอแนะ เปิดรับอาสาสมัครในการช่วยเหลือสัตว์

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะดังกล่าวของพระราชบัญญัติการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 จะเป็นการช่วยพัฒนาและปรับปรุงด้านต่าง ๆ ให้กฎหมายฉบับนี้มีความสมบูรณ์ เป็นกฎหมายที่สามารถช่วยในการคุ้มครองสัตว์จากการทารุณกรรมโดยไม่มีเหตุอันสมควรและ เป็นการยกระดับจิตใจให้มนุษย์ได้ตระหนักถึงคุณภาพชีวิตของสัตว์ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตและมีความรู้สึกเช่นเดียวกัน เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีในสังคม สะท้อนถึงน้ำใจอันดี ความเมตตากรุณาต่อสัตว์ของคนไทยได้อีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ