- ๒๔ ธ.ค. สวทช. โดย นาโนเทค จับมือ มรภ.อุดรธานี ลงนามร่วมวิจัยและถ่ายทอดนาโนเทคโนโลยีสู่ชุมชน
- ๒๓ ธ.ค. "วิศวกรสังคม" มรภ.อุดรธานี ต้นแบบการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นและด้วยวิจัยและนวัตกรรม
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ทีมอีสปอร์ต ม.หอการค้า คว้าแชมป์ ROV กีฬามหาวิทยาลัยครังที่ 48
พพ.ผนึกม.อุดรธานีผุดหลักสูตรพลังงาน ผลิตวิศวกรรมคุณภาพด้านลดใช้พลังงาน นายยงยุทธ จันทรโรทัย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง พพ. กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เพื่อร่วมกันพัฒนาการเรียนการสอนหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญ และหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ตามแนวทางการออกแบบอาคารที่สามารถลดใช้พลังงานได้อย่างมประสิทธิภาพ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่กำหนดของหน่วยงานภาครัฐ สำหรับความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตร นับเป็นการขยายเครือข่ายมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการต่อยอดให้เกิดการขยายองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานไปสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานมีแนวทางในการนำไปต่อยอดในการปฎิบัติหน้าที่ในส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องให้ได้ตามมาตรฐานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบตามกฎหมาย (พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535)และขั้นตอนการปฏิบัติตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการรู้ศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานของโรงงาน/อาคาร ซึ่งทั้งสองหลักสูตรดังกล่าวจะใช้สำหรับการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมพลังงาน และสาขาวิศวกรรมเครื่องกล เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับ ในการพัฒนาให้ทุกภาคส่วนสามารถมีแนวทางการบริหารจัดการพลังงานทั้งการออกแบบอาคาร และ ในโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในอนาคต อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการขยายเครือข่ายการส่งเสริมและสนับสนุนการออกแบบอาคารและการเพื่อการอนุรักษ์พลังงานมาอย่างเนื่อง โดยที่ผ่านมา พพ.ได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเอกชน ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องการออกแบบอาคารให้เป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณาอาคารอนุรักษ์พลังงาน และในขณะที่ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เพื่อนำเนื้อหาไปบรรจุในหลักสูตร เพื่อนำไปประกอบการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ จากการเดินหน้าส่งเสริมในเรื่องดังกล่าวทำไห้ในปัจจุบันนี้สามารถลดต้นทุนด้านพลังงานให้กับอาคารได้ประมาณ 1,500 ล้านบาทต่อปี