เมย์แบงก์ กิมเอ็ง คาด 1Q62 ช่วงเวลาแห่งความคาดหวัง

อังคาร ๒๕ ธันวาคม ๒๐๑๘ ๑๖:๔๔
นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง คาดการณ์ภาพรวมการลงทุนในช่วง 1Q61 คาดตลาดยังคงแกว่งผันผวนในกรอบแนวต้าน 1750 จุด และแนวรับ 1550 จุด โดยปัจจัยขับเคลื่อนมาจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และการลงทุนจากภาครัฐฯ 2.ความคาดหวังก่อนการเลือกตั้ง และ 3.โอกาสที่แนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะปรับขึ้นช้ากว่าคาด ในขณะที่ประเด็นที่ยังคงเป็นปัจจัยกดดันหลัก ยังคงเป็นเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน (Trade war) ซึ่งหากยืดเยื้อต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกปีหน้ามี downside มากขึ้นจากคาดการณ์ปัจจุบัน รวมถึงการยกเลิก QE ของธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้เม็ดเงินสภาพคล่องส่วนหนึ่งหายไป โดยสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ ยังคงแนะทยอยสะสมหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ Domestic Play อิงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และนโยบายภาครัฐฯ เช่น กลุ่มค้าปลีก (CPALL, BJC, HMPRO), กลุ่มโรงไฟฟ้า (EGCO) เก็งแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับใหม่, กลุ่มท่องเที่ยว (AOT, ERW) เก็งการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวไทย, กลุ่มธนาคาร (BBL) รับอานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้นรอบใหม่ รวมถึงหุ้นที่แนวโน้มกำไรยังเติบโตก้าวกระโดดในปี 62 (SAWAD, JMT, VGI)

สำหรับปัจจัยที่น่าติดตาม?

- ปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ยังคงเป็นสาเหตุหลักที่กดดันทิศทางการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงโลก โดยแม้ว่าประเด็นการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจีน วงเงิน 2 แสนล้านเหรียญ จาก 10% ขึ้นสู่ 25% จะเลื่อนการพิจารณาออกไป 90 วัน ซึ่งจะครบกำหนดราว 1 มีค. 2019 แต่ในระยะสั้นเรายังคงเห็นท่าทีอันแข็งกร้าวของ Donald Trump ดังนั้นเราเชื่อว่าปัญหานี้คงยังไม่สามารถคลี่คลายได้ในระยะสั้น ซึ่งจะเป็นจุดที่กดดันการลงทุนต่อเนื่องในปีนี้

- ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว กดดันการลงทุนเข้าสู่โหมด Risk off : จากประเด็นสงครามการค้าโลก ซึ่งหากยังคงยืดเยื้อต่อเนื่อง คาดจะกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงถัดไปมากกว่าที่ตลาดประเมินไว้ โดยล่าสุดหากพิจารณาในเชิงตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ของประเทศสำคัญ เช่น GDP, PMI ทั้งภาคการผลิตและบริการ ล้วนพบการชะลอตัวลงอย่างเห็นชัด โดยในระยะสั้นจุดที่น่าติดตามคือ PMI ภาคการผลิต ของจีน ที่ล่าสุดเดือน พฤศจิกายน ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50 จุด ถือเป็นจุด critical ซึ่งหากต่ำกว่านี้จะบ่งชี้การเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจหดตัว ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความเสี่ยงเพิ่มเติมต่อการปรับฐานได้อีกครั้ง

- ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบโลก : เราประเมินทุกๆ ราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวลดลง -1 เหรียญ มีโอกาสกดดันกำไรของบริษัทจดทะเบียนไทยรวม ลดลงราว 5,000 ล้านบาท (ไม่คิดรวมผลกระทบจาก Stock loss) หรือคิดเป็นแรงกดดันต่อ 2019 SET EPS ราว -0.5 จุด ต่อราคาน้ำมันดิบที่ลดลง 1 เหรียญ (เราประเมิน 2019 SET EPS ที่ 116 บาทต่อหุ้น อิงสมมติฐานน้ำมันดิบปี 2019 เฉลี่ยที่ 70เหรียญต่อบาร์เรล)

- นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากภาครัฐ: ระยะสั้นเริ่มเห็นนโยบายจากภาครัฐเร่งตัวขึ้น ทั้งการกระตุ้นภาคการบริโภคผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ หรือนโยบายช๊อปช่วยชาติ อีกทั้งงานประมูลโครงสร้างพื้นฐานในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 อีกกว่า 9 แสนล้านบาท น่าจะช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น รวมถึงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับใหม่ ซึ่งคาดจะออกมาช่วงเดือน มค. 2562 ล้วนเป็นปัจจัยที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยขยายตัวขึ้น

- การเลือกตั้งไทย 2562 สัญญาณการเลือกตั้งชัดเจนมากยิ่งขึ้น คาดเป็นแรงส่งต่อภาพรวมการลงทุนในช่วงแรก แต่อย่างไรก็ดีการจัดตั้งรัฐบาล รวมถึงการดำเนินนโยบายต่างๆ ในช่วงถัดไปจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ดังนั้นอาจต้องระมัดระวังหลังเลือกตั้งอาจเห็นสัญญาณการปรับฐานลงได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๑๗:๑๖ กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๑๗:๕๕ Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๑๗:๔๗ โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๑๗:๑๒ ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๑๗:๐๐ กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๑๖:๐๐ WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๑๖:๐๔ เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๑๖:๔๗ ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๑๖:๐๒ NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ