กรมอุทยานแห่งชาติฯร่วมกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล แถลงความสำเร็จการติดปลอกคอช้างป่า เผยเป็นครั้งแรกของประเทศไทย หวังแก้ปัญหาความขัดแย้งของคนและช้างป่าในพื้นที่เขตป่าตะวันออกของประเทศ

อังคาร ๐๘ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๗:๔๓
กรมอุทยานแห่งชาติฯร่วมกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล แถลงความสำเร็จการติดปลอกคอช้างป่า เผยเป็นครั้งแรกของประเทศไทย หวังแก้ปัญหาความขัดแย้งของคนและช้างป่าในพื้นที่เขตป่าตะวันออกของประเทศ

นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธานในพิธีแถลงความสำเร็จในการติดปลอกคอสัญญาณดาวเทียมให้กับช้างป่าเพื่อติดตามพฤติกรรม และการเคลื่อนที่ของฝูงช้างป่าในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมด้วยนางสาวเยาวลักษณ์ เธียรเชาว์ ผู้อำนวยการองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย ดร.ศุภกิจ วินิตพรสวรรค์ หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยการติดปลอกคอสัญญาณดาวเทียมให้กับช้างป่าครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย เผยเป็นจุดเริ่มต้นของทางออกของคนและช้างป่า ในพื้นที่ประสบปัญหาดังกล่าวในขณะที่ช้างป่าได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ความเหมาะสมของถิ่นอาศัยได้ลดลง รวมถึงพื้นที่ป่าถูกบุกรุกเพื่อนำไปใช้ในการเกษตรและเพาะปลูก ด้านชุมชนก็ได้รับผลกระทบจากความเสียหายของพืชผลที่ไม่สามารถนำไปจำหน่ายและเป็นการสูญเสียรายได้ ซึ่งในบางครั้งความขัดแย้งระหว่างคน และสัตว์ป่าที่เกิดขึ้นนั้น ก่อให้เกิดเหตุการณ์ความสูญเสีย ทั้งชีวิต และทรัพย์สิน ของประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่ป่าอนุรักษ์ด้วยทั้งนี้ ปลอกคอชุดแรก 3 เส้นนำเข้าจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ จากความร่วมมือขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลและเครือข่ายนักวิจัยในสถาบันวิทยาศาสตร์ และการอนุรักษ์จากทั่วโลก อาทิ พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนี่ยน สหรัฐอเมริกา ความขัดแย้งระหว่างคนและช้างป่าในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนครอบคลุม 5 จังหวัด กว่า 1,000 ตารางกิโลเมตรถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทางกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยทางกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้จัดทีมนักวิจัย สัตว์แพทย์ และเจ้าหน้าที่ชุดเฝ้าระวังช้างป่าลงพื้นที่ติดตามและศึกษาโครงสร้างประชากร พฤติกรรมช้างป่ารวมทั้งศึกษาเส้นทางการเดินของฝูงช้างป่าแต่ละกลุ่ม เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาช้างป่าเข้าทำลายพืชผลทางการเกษตรกร ซึ่งก็ได้เห็นปัญหาในพื้นที่นี้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินของเกษตรกรโดยรอบพื้นที่ป่าอนุรักรษ์ รวมถึงการบาดเจ็บและสูญเสียทั้งชีวิตของทั้งคนและช้างป่าดังนั้นจึงได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการติดปลอกคอสัญญาณดาวเทียมให้กับช้าง ซึ่งเป็นวิธีที่หลายประเทศนำมาใช้ และได้ผลดี มาใช้ในการติดตามช้างป่าในครั้งนี้ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้รับจากปลอกคอสัญญาณดาวเทียมจะถูกนำมาใช้วางแผนการทำงานของเจ้าหน้าที่ร่วมกับกับภาคชุมชนในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและช้างให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

ทางด้านนางสาวเยาวลักษณ์ เธียรเชาว์ ผู้อำนวยการองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย กล่าวว่า WWF ให้การสนับสนุนกรมอุทยานแห่งชาติฯอย่างเต็มที่ในการถอดรหัสปัญหา พร้อมร่วมนำเสนอแนวทางแก้ไข ด้วยการนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ "WWF กับภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า มีต้นแบบของกระบวนการจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและสัตว์ป่าในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเรื่องของช้างป่า ถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของประเทศไทย ทั้งนี้ WWF และ กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้ร่วมกันดำเนินงานวิจัยที่จะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างคนและช้างป่าที่เกิดขึ้นรวมถึงการลงพื้นที่ทำงานติดตั้งปลอกคอสัญญาณดาวเทียมให้กับช้างป่าเพื่อการวางแผนรับมือกับปัญหาจากช้างป่าที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างเป็นรูปธรรม"

ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยกลุ่มงานงวิจัยสัตว์ป่า และทีมงานสัตวแพทย์ กลุ่มงานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่ากรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้ลงพื้นที่ติดปลอกคอสัญญาณดาวเทียมให้กับช้างป่า ในพื้นที่ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาอ่างฤาไน เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2561 โดยทีมเจ้าหน้าที่ได้ทำงานร่วมกับสัตวแพทย์ เพื่อตรวจสอบเส้นทางเดินของช้างป่าก่อนหน้าจะลงมือปฏิบัติการ และวางตัวเป้าหมายอย่างชัดเจน

ดร.ศุภกิจ วินิตพรสวรรค์ หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ กรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ โดยระบุว่า อุปกรณ์ที่ใช้ติดตามสัตว์นั้น เทคโนโลยีที่เรียกว่า ชุดปลอกคอสัญญาณดาวเทียมซึ่งจะนำเข้ามาใช้กับช้างป่าและถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการนำอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุด มาติดเข้ากับช้างป่าได้อย่างเป็นผลสำเร็จ"ชุดปลอกคอสัญญาณดาวเทียม โดยมากมักนำมาใช้กับสัตว์ที่เคลื่อนที่ได้ในระยะไกล และหาตัวได้ยาก

โดยสัญญาณจะถูกส่งไปยังระบบดาวเทียม โดยมีทั้งระบบจีเอสเอ็ม และ อิเรเดียม และส่งผ่านข้อมูลลงมายังแม่ข่ายภาคพื้นทีดิน ก่อนจะส่งต่อมายังผู้รับ โดยอุปกรณ์นี้ได้มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เพราะให้ความแม่นยำความแม่นยำ และผู้ใช้งานจะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่ายผ่านระบบอินเทอร์เนต คืออ่านค่าตำแหน่งของปลอกคอช้างได้ และรู้พิกัดของช้างที่ค่อนข้างแม่นยำ" ดร.ศุภกิจฯ หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่กล่าวเสริมว่า องค์ประกอบของอุปกรณ์ชุด ปลอกคอแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์สำหรับส่งสัญญาณ แบตเตอรี่ และเครื่องส่งสัญญาณที่มีอายุการใช้งาน 5-10 ปี รวมทั้งสายรัด ที่ทำจากโพลีเมอร์ ผสมยางพารา มีความคงทน และยังสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติเมื่ออายุการใช้งานประมาณ6-7 ปี

"เบื้องต้นเราจะเฝ้าสังเกต และเฝ้าระวังในกรณีช้างออกจากป่า ข้อมูลพิกัดของช้างที่ส่งมาแบบทันท่วงทีจะทำให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงตำแหน่งของช้างป่าได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ เพิ่มศักยภาพในการป้องกันและเฝ้าระวังช้างป่าได้ทันท่วงทีทั้งยังช่วยให้ชุมชมรับรู้ตำแหน่งของช้างป่า ตลอดจนการเคลื่อนที่ ทำให้สามารถป้องกันตนเอง และเฝ้าระวังช้างป่าได้ดียิ่งขึ้นชุมชนก็จะป้องกันตนเองได้ดีขึ้น ช้างก็จะปลอดภัยมากขึ้น"

โครงการติดปลอกคอช้างป่า ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ถือเป็นต้นแบบของความพยายามในการแก้ไขปัญหาระหว่างคนกับช้างป่าในมิติใหม่ และถือเป็นการทำงานครั้งแรกที่จะนำไปสู่ การขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกันต่อไป

ทั้งนี้ WWF ประเทศไทยวางแผนส่งมอบชุดปลอกคอช้างเชื่อมต่อสัญญาณดาวเทียมจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ให้กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รวมทั้งสิ้น 6 ชุด เพื่อนำไปใช้กับช้างป่าในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดตามแผนงานโครงการ และจะร่วมลงพื้นที่ติดตาม ทำงานวิจัยร่วมกับเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version