มูลนิธิทรวงอกซูซาน จี. โคเมน ประกาศรายชื่อผู้ได้รางวัลโคเมน บริงเกอร์ สำหรับผู้ที่มีผลงานโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ประจำปี 2549

พุธ ๑๓ ธันวาคม ๒๐๐๖ ๑๒:๑๔
ซานอันโตนิโอ, เท็กซัส--13 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
มูลนิธิมะเร็งทรวงอกซูซาน จี. โคเมน ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนที่ไม่หวังผลกำไรรายใหญ่ที่สุดของโลกสำหรับการวิจัยมะเร็งทรวงอกและโครงการแก่ชุมชนที่มีรัฐบาลสหรัฐอเมริกาอยู่เบื้องหลัง ได้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลประจำปี 2549 ที่ทรงคุณค่าที่สุด ได้แก่รางวัลบริงเกอร์ มูลนิธิโคเมนด้านความโดดเด่นทางวิทยาศาสตร์ สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลนี้ในสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐานได้แก่ ดร. อีวาน ซิมป์สัน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเวชภัณฑ์แห่งปรินซ์ เฮนี่ ในเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย และผู้ที่ได้รับรางวัลในสาขาการวิจัยคลินิกได้แก่ จอร์จ ดับเบิ้ลยู สเลดจ์ จูเนียร์ ศาสตราจารย์ด้านเนื้องอกวิทยาที่ศูนย์โรคมะเร็งมหาวิทยาลัยอินเดียนาในเมืองอินเดียนาโปลิส
รางวัล`โคเมน บริงเกอร์ สำหรับผู้ที่มีผลงานโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์จัดตั้งขึ้นโดยมูลนิธิโคเมนเมื่อปี 2535 เพื่อตระหนักถึงนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำสำหรับผลงานที่สำคัญที่เกี่ยวกับแนวคิดในการวิจัยที่ก้าวหน้า หรือการใช้ยาทางคลินิกในสาขาการวิจัยมะเร็งทรวงอก การตรวจหา และการรักษา ดร. ซิมป์สัน และสเลดจ์จะได้รับรางวัลในวันที่ 14 ธันวาคมในงานเลี้ยงอาหารเย็นของมูลนิธิโคเมน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างการประชุมมะเร็งทรวงอก ซาน อันโตนิโอ ประจำปีครั้งที่ 29 (SABCS) ตั้งแต่วันที่ 14-17 ะนวาคม 2549 ณ ศูนย์ประชุมเฮนรี่ บี กอนซาเลซ ในเมืองซาน อันโตนิโอ
ผลงานการวิจัยของศาสตราจารย์ซิมป์สันได้สร้างผลกระทบที่สำคัญในวงกว้างหลากหลายสาขา รวมทั้งด้าน การศึกษาตัวอ่อน การศึกษาระบบต่อมไร้ท่อ การสืบพันธ์ ชีววิทยาเนื้องอก สรีระวิทยาของมนุษย์ และสรีระวิทยาของระบบการทำหน้าที่ที่บกพร่อง ซิมป์สัน ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำของโลกในสาขา estrogen biosynthesis การวิจัยของเขานำไปสู่แนวคิดที่ว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ปฏิกิริยาของเอสโตรเจนในทรวงอก สมอง และกระดูกขึ้นอยู่กับการผลิตในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องตามลำดับ ซึ่งแนวคิดนี้มีอิทธิพลต่อการพัฒนายาตัวใหม่สำหรับการรักษาเนื้องอกทรวงอก นอกจากนี้ การทำงานของซิมป์สันแสดงให้เห็นว่า อโรมาเทสในเนื้องอกทรวงอกแตกต่างจากเนื้อเยื่อทรวงอกธรรมดาที่ล้อมรอบอยู่ ซึ่งอาจนำไปสู่ความก้าวหน้าเฉพาะตัวในการรักษามะเร็งทรวงอก
ขณะที่ ดร. สเลดจ์ เป็นนักวิจัยรายแรกๆที่ตระหนักถึงความสำคัญของการบุกรุกและการเติบโตของโลหิตภายในมะเร็งทรวงอก และเป็นผู้นำในการใช้การรักษาต้านการเติบโตของโลหิต ที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการพัฒนาหลอดเลือดใหม่ในมะเร็งของมนุษย์ ผลงานของสเลดจ์ในช่วงหลายปีมานี้ได้มุ่งเน้นไปที่วิธีการรักษาทางชีววิทยาใหม่ๆสำหรับมะเร็งทรวงอก สเลดจ์เป็ผู้นำการทดลองกลุ่มเนื้องอกวิทยา " ความร่วมมือตะวันออก" ที่ทดสอบความปลอดภัยของ trastuzumab และ paclitaxel ในฐานะที่เป็นวิธีการรักษามะเร็งทรวงอก รวมทั้งนำการทดลองครั้งแรกเกี่ยวกับแอนตี้บอดี้ เซลล์เดียว แอนตี้ VEGF สำหรับการรักษามะเร็งทรวงอกที่ย้ายเซลล์จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งโดยไม่ผ่านการติดต่อ ความเกี่ยวข้องของสเลดจ์ในการออกแบบและปรับใช้การทดสอบต่างๆได้ตกเป็นที่วิจารณ์ในประเด็นการพัฒนาการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตโดยรวมและสภาพที่ปราศจากโรคในผู้หญิงที่เป็นมะเร็งทรวงอกชนิดที่ย้ายเซลล์จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งโดยไม่ผ่านการติดต่อ
ผู้ที่ได้รับรางวัลบริงเกอร์จะกล่าวบรรยายผลงานของตนเองที่ได้รับรางวัลบริงเกอร์ของมูลนิธิโคเมนสำหรับผู้ที่มีผลงานโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ในวันเปิดการประชุม SABCS วันที่ 14 ธันวาคม เวลา 15.45-16.45 น. ที่ห้องนิทรรศการดี ศูนย์การประชุมกอนซาเลซ โดยผู้เข้าร่วมการประชุมที่ได้รับเชิญให้เข้าฟังการบรรยายและงานเลี้ยงอาหารค่ำรางวัลบริงเกอร์ ข้อมูลสมบูรณ์เกี่ยวกับการประชุมสามารถเข้าชมได้ที่ http://www.sabcs.org
ผู้ที่เคยได้รับรางวัลโคเมน บริงเกอร์ รวมทั้ง ดร. วี เคร็ก จอร์แดน โอบีอี ผู้นำการใช้ยา tamoxifen ดร. แมรี-แคลร์ คิง ผู้ซึ่งวิจัยการกลายพันธุ์ของยีนที่ถูกโดดเดี่ยวคือ BRCA1 และ BRCA2 โดยเชื่อมโยงกับรูปแบบของยีนในมะเร็งทรวงอก แลร์รี่ นอร์ตัน เอ็มดี ซึ่งเสนอคณะกรรมการให้ใช้เคมีบำบัดปฏิวัติการรักษามะเร็งทรวงอก และ ดร. ลีแลนด์ ฮาร์ทเวลล ผู้ชนะเลิศรางวัลโนเบลปี 2544 ด้านเวชภัณฑ์หรือสรีระวิทยา ผู้ซึ่งได้รับการยอมรับความสำเร็จในเรื่องความเข้าใจวงจรของเซลล์ในการพัฒนามะเร็ง ผู้ได้รับรางวัลบริงเกอร์แต่ละคนจะได้รับเงินรางวัล 20,000 ดอลลาร์สหรัฐและการอ้างอิงเป็นพิเศษถึงความสำเร็จ
เกี่ยวกับมูลนิธิโคเมน
มูลนิธิมะเร็งทรวงอกซูซาน จี. โคเมน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2525 โดยแนนซี่ บริงเกอร์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึง ซูซาน จี. โคเมน พี่สาวของเธอที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทรวงอกขณะอายุได้ 36 ปี ปัจจุบันมูลนิธิเป็นองค์กรนานาชาติที่มีเครือข่ายอาสาสมัครมากกว่า 75,000 คนผ่านทางพันธมิตรท้องถิ่นและกิจกรรมเช่นการแข่งขันโคเมนเพื่อการรักษา (R) เพื่อกำจัดมะเร็งทรวงอกในฐานะโรคที่คุกคามชีต ในฐานะผู้นำระดับโลกในการต่อสู้กับมะเร็งทรวงอก มูลนิธิได้เติมเต็มภารกิจผ่านทางการสนับสนุนการให้เงินทุนวิจัยมะเร็งทรวงอกที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ รางวัลและการศึกษา โครงการด้านวิทยาศาสตร์และชุมชนทั่วโลก มูลนิธิได้ใช้เงินงบประมาณตลอดปี 2549 ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร หุ้นส่วนร่วมและผู้บริจาค จะลงทุนมูลค่า 780 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการวิจัยมะเร็ง การศึกษา โครงการตรวจหาและรักษา
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพทรวงอกและมะเร็งทรวงอก กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของมูลนิธิที่ http://www.komen.org หรือโทรศัพท์มาที่ศูนย์ช่วยเหลือการรักษาทรวงอกแห่งชาติของมูลนิธิซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ 1.800 I'M AWARE(R) (1.800.4762.9273)
ที่มา มูลนิธิมะเร็งทรวงอกซูซาน จี. โคเมน
ติดต่อ จีน มาซ่า
โทร. +1-972-701-2105 หรือ
[email protected] หรือ
จิล คูดี้ สมิทส์
โทร.+1-972-855-1682 หรือ
อีเมล์ [email protected]
เว็บไซต์ http://www.komen.org
http://www.sabcs.org
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ