มูลนิธิบ้านนกขมิ้น รับบริจาคเพื่อโครงการ “เพราะทุกมื้อคือชีวิต” ผ่านคิวอาร์โค้ด ทำบุญง่ายๆแค่ปลายนิ้วคลิ๊ก

พุธ ๑๖ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๑:๐๓
มูลนิธิบ้านนกขมิ้น องค์กรสาธารณประโยชน์ที่ให้ความช่วยเหลือ อุปการะเลี้ยงดูแก่เด็กและเยาวชนที่มีปัญหาครอบครัว และไม่มีผู้รับผิดชอบในการอุปการะเลี้ยงดู เป็นเด็กเร่ร่อน กำพร้า ถูกทอดทิ้ง โดยให้การสนับสนุนในด้านการศึกษา อาหาร และปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของเด็กในแต่ละวัน ปัจจุบันมูลนิธิบ้านนกขมิ้นได้รับอุปการะเด็ก อายุระหว่าง 3 - 20 ปีไว้ในความอุปถัมภ์กว่า 200 ชีวิต มีโครงการบ้านอุปการะเด็กในประเทศไทยจำนวน 17 ครอบครัว ด้วยเวลาที่ผ่านไป ทางมูลนิธิบ้านนกขมิ้นได้รับอุปการะเด็กมากขึ้น

ดังนั้น ทางมูลนิธิบ้านนกขมิ้น จัดทำโครงการ "เพราะทุกมื้อคือชีวิต" เพื่อเชิญชวนผู้สนใจบริจาคเงินสมทบเป็นกองทุนช่วยเหลือค่าอาหารกลางวัน โดยเปิดรับการชำระเงินแบบง่ายๆ แค่ปลายนิ้วคลิ๊ก ผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ดด้วยแอพพลิเคชั่นของธนาคารบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ทั้งต่อมูลนิธิบ้านนกขมิ้นและผู้บริจาคในด้านของความสะดวกและความปลอดภัย ทั้งยังเป็นการสร้างความตระหนักให้สังคมเกิดความรู้สึกการมีส่วนร่วมด้วยการให้ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข อิ่มใจทั้งผู้ให้ สุขใจทั้งผู้รับ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ