สศก. หารือร่วมจีน รุกแนวทางทางนวัตกรรมดาวเทียมเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร

ศุกร์ ๑๘ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๒:๕๔
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการร่วมหารือถึงแนวทางการพัฒนาการสำรวจการผลผลิตพืชด้วยดาวเทียม หรือ Crop Production Survey by Satellite ณ มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง (Zhejiang University) และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หนานจิง (Nanjing Agricultural University) ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้เข้าร่วมโครงการความร่วมมือไทย - จีน (Sino - Thai) ด้านวิชาการระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศไทย

จากการหารือร่วมกัน พบว่า ขณะนี้จีนใช้ดาวเทียมที่มีอยู่อย่างหลากหลาย ในภารกิจด้านการเกษตรและด้านอื่นๆ โดยดาวเทียมหลัก ได้แก่ HJA/B ,GF-1, GF-2 , GF-6 , Sentinel-2 และ CBERS ซึ่งนับว่ามีรายละเอียดของภาพระดับสูง ร่วมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่มีอยู่ โดยเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต (Internet of Things : IoT) เชื่อมโยงเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่กระจายอยู่มากกว่า 2,000 จุดทั่วประเทศ รวมทั้งการใช้อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle : UAV) เป็นตัวตรวจสอบค่าความผิดพลาด จากการวัดค่าการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต่างๆ อาทิ อุณหภูมิ ความชื้น และกระแสลม ตลอดจนมีการใช้กล้องวงจรปิดเพื่อติดตามการเจริญเติบโตของต้นพืชและการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากแมลงศัตรูพืชอีกด้วย

นอกจากจะใช้ดาวเทียมสำรวจข้อมูลด้านการเกษตรภายในประเทศของตนเองแล้ว จีนยังใช้ดาวเทียมที่มีรายละเอียดสูง ประเมินเนื้อที่และผลผลิตด้านการเกษตรของประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วยเช่นกันในการบริหารนโยบายด้านการเกษตรของประเทศตนเอง โดยหากผลผลิตในประเทศอื่นมีปริมาณมาก จีนจะดำเนินนโยบายรับซื้อจากต่างประเทศ ในทางกลับกันหากปริมาณการผลิตในประเทศอื่นมีปริมาณน้อย ประเทศจีนจะผลิตสินค้าดังกล่าวในประเทศเพิ่มขึ้น ดังนั้น ข้อมูลด้านดาวเทียม นับเป็นการใช้ประโยชน์เพื่อประเมินผลผลิต และส่งเสริมการเพาะปลูกสินค้าเกษตร ตลอดจนกำหนดนโยบายบริหารสินค้าเกษตรที่จะนำเข้ามาในประเทศ

สำหรับประเทศไทย ขณะนี้ สศก. ได้ใช้เทคโนโลยีจากดาวเทียมเพื่อสำรวจผลผลิตทางการเกษตร จากภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT8 ทางเว็บไซต์https://earthexplorer.usgs.gov/ ซึ่งทุก 16 วัน ภาพถ่ายดาวเทียมจะโคจรมาซ้ำบริเวณเดิม ร่วมกับแผนที่รายละเอียดสูงจาก Google มาใช้ในการแปลและวิเคราะห์เพื่อจำแนกเนื้อที่เพาะปลูกและเนื้อที่ยืนต้นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง สับปะรดโรงงาน ยางพารา และ ปาล์มน้ำมัน และคาดว่าในระยะต่อไป สศก. จะเริ่มใช้ดาวเทียมธีออส 2 (THEOS 2) ในการสำรวจแทน ซึ่งตอบโจทย์การใช้ประโยชน์โดยรวมหลากหลายด้าน ทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร ด้านการจัดการน้ำแบบองค์รวม การจัดการด้านภัยพิบัติด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งด้านความมั่นคงด้านสังคมและเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ จากการหารือร่วมกันดังกล่าว นับเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดทำข้อมูลสารสนเทศการเกษตรของประเทศไทยด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัย ซึ่งการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง เครื่องมือที่ใช้อินเทอร์เน็ต IoT และ UAV ถือเป็นแนวทางประยุกต์เพื่อประโยชน์ต่อการบริหารจัดการสินค้าเกษตรของประเทศไทยให้มีความแม่นยำ ถูกต้อง และตอบสนองความต้องการใช้ข้อมูลของผู้ใช้ (user) ในแต่ละระดับต่อไปในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO