สกศ. ชี้บริบทโลกเปลี่ยนแปลงฉับพลัน เร่งขับเคลื่อนมาตรฐานแหล่งการเรียนรู้สู่การปฏิบัติยุคการศึกษา 4.0

อังคาร ๒๒ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๓:๔๕
วันนี้ (21 ม.ค.62) ที่โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพฯ ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น เรื่อง รายงานประสิทธิผลของแหล่งเรียนรู้ : การเผยแพร่และการนำมาตรฐานแหล่งการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา คณะนักวิจัย ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเรียนรู้ จำนวน 120 คน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสัมมนา

ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579

วางกรอบเป้าหมายและทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศในการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนไทยทุกช่วงวัยให้เต็มตามศักยภาพ สามารถแสวงหาความรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยการขับเคลื่อนภายใต้วิสัยทัศน์คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21

และกำหนดเป้าหมายสำคัญ 5 ประการครอบคลุมการเรียนรู้และการบริหารจัดการการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย 1.การเข้าถึงการศึกษา 2.ความเท่าเทียม 3.คุณภาพ4.ประสิทธิภาพ และ 5.ตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งปรากฏมุมมองแหล่งการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย

ดร.สุภัทร จำปาทอง กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือ การบริหารจัดการแหล่ง

การเรียนรู้ใหม่ ๆ ต้องมีความยืดหยุ่นตามความเปลี่ยนแปลง ต้องให้ความสำคัญด้านการบริหาร และงบประมาณ ในการดำเนินการ เพราะความสนใจของผู้เข้าแหล่งเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ต้องเพิ่มแนวคิดและสิ่งจูงใจดึงดูดผู้สนใจเข้ามาใช้ประโยชน์แหล่งเรียนรู้ ตลอดจนเร่งพัฒนาปรับปรุงแหล่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยังต้องเร่งสร้างเครือข่ายแหล่งเรียนรู้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างความเชื่อมโยงการดำเนินงานร่วมกัน เช่น ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบกรุงเทพ (TCDC Bangkok) ซึ่งเคยมีการสำรวจและรวบรวมแหล่งเรียนรู้ไว้แล้ว ประมาณ 300 แห่ง สำหรับการประชุมสัมมนาประสิทธิผลของแหล่งเรียนรู้ : การเผยแพร่และการนำมาตรฐานแหล่งการเรียนรู้สู่การปฏิบัติครั้งนี้ สกศ. หวังให้เป็นการเพิ่มช่องทอง และปริมาณผู้สนใจเข้าไปใช้ประโยชน์ของแหล่งเรียนรู้ของเด็กเยาวชนได้อย่างหลากหลายต่อไป

ศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล ว่องวาณิช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แนวทางการศึกษาวิจัยต้องการตอบโจทย์และพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 ที่ได้จำแนกออกเป็น 8 ประเภท 1.ห้องสมุดประชาชน 2.พิพิธภัณฑ์ 3.หอศิลป์ 4.สวนสาธารณะ 5.สวนสัตว์ 6.สวนพฤกษศาสตร์7.อุทยานสิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 8.ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ

ทั้งนี้ สกศ. พบว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้การเรียนรู้ของโลกเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปมาก แหล่งการเรียนรู้ปัจจุบันเป็นแบบเปิดมากขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น จำเป็นต้องสำรวจข้อมูลเพื่อชี้สภาพของแหล่งเรียนรู้ และประสิทธิผลของแหล่งการเรียนรู้ โดยครอบคลุมแหล่งการเรียนรู้และแหล่งการศึกษารูปแบบอื่น ๆ เพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้เดิม 8 ประเภท ซึ่งพบมีแหล่งการเรียนรู้ที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นกับบริบทการเรียนรู้ปัจจุบัน อาทิ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน/ภูมิปัญญา ศาสนสถาน โบราณสถาน Google และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

สำหรับแนวทางปฏิบัตินั้น สกศ. ได้จัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเร่งขับเคลื่อนมาตรฐานแหล่งการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผล โดย สกศ. ใช้มาตรฐานกลางดังกล่าวเป็นแนวทางในการกำกับ ติดตาม และการส่งเสริมให้การจัดการแหล่งการเรียนรู้ได้มาตรฐาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ