โดย ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 93.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ 93.9 ในเดือนพฤศจิกายน โดยเป็นการปรับตัวลดลง ในองค์ประกอบยอดคำ-สั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
จากการสำรวจ พบว่า ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคมปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้ประกอบการได้เร่งผลิตสินค้าไปแล้วในเดือนพฤศจิกายน เพื่อชดเชยในเดือนธันวาคมที่มีวันทำงานน้อยและมีวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลปีใหม่ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการมีความกังวลต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะSMEs นอกจากนี้ผู้ประกอบการส่งออกมีความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อคำสั่งซื้อสินค้าของไทย
อย่างไรก็ตาม พบว่าการจัดกิจกรรมกระตุ้นการขายของผู้ประกอบการ ได้ส่งผลดีต่อยอดคำสั่งซื้อและยอดขายในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น และกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 105.9 ลดลงจาก 107.4 ในเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความไม่แน่นอนของสงครามการค้า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยให้ชะลอตัวลง ขณะเดียวกันราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อต้นทุนประกอบการในอนาคต
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามขนาดของกิจการในเดือนธันวาคม 2561 จากการสำรวจ จุมภาพันธ์พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลาง ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน
อุตสาหกรรมขนาดย่อม ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 75.8 ปรับตัวลดลงจากระดับ 76.2 ในเดือนพฤศจิกายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิก, อุตสาหกรรมแก้วและกระจก, อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 99.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 100.0 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมขนาดกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 91.6 ปรับตัวลดลงจากระดับ 92.0 ในเดือนพฤศจิกายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ,อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์, อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 106.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 108.5 ในเดือนพฤศจิกายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 112.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 112.0 ในเดือนพฤศจิกายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์, อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น, อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 111.1 ปรับตัวลดลงจากระดับ 112.9 ในเดือนพฤศจิกายน โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นฯ รายภูมิภาค ประจำเดือนธันวาคม 2561 จากการสำรวจ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ขณะที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคตะวันออก และภาคใต้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน
ภาคกลาง ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 96.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 97.3 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมเหล็ก (เหล็กเส้น เหล็กลวด และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ มีการผลิตลดลง เนื่องจากในเดือนธันวาคมมีวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลปีใหม่)
อุตสาหกรรมเคมี (ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและน้ำยาเคมี สีน้ำพลาสติก มีการผลิตลดลง และยอดขายในประเทศลดลง ผลิตภัณฑ์สีย้อมผ้าส่งออกไปยังตลาดเอเชียลดลง)
อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ (กระดาษที่ใช้ในสำนักงาน กระดาษคราฟต์ มียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากลูกค้ามีสต๊อกสินค้าปริมาณสูง ผลิตภัณฑ์กระดาษสา ส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ CLMV ลดลง)
อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ครีมบำรุงผิว มีคำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายต่อเนื่อง ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศจีนและตลาด CLMV)
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 109.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 110.2 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ภาคเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม2561 อยู่ที่ระดับ 78.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ 79.0 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมสิ่งทอ (ผลิตภัณฑ์เส้นใยโพลีเอสเตอร์และเส้นใยสิ่งทอ มีคำสั่งซื้อในประเทศลดลง เนื่องจากลูกค้ามีสินค้าในสต๊อกปริมาณสูง ด้านการส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ เส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน มีคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศเวียดนาม)
อุตสาหกรรมเซรามิก (การผลิตกระเบื้องปูพื้นและแผ่นเซรามิก มียอดขายลดลงจากเดือนก่อนหน้าเนื่องจากเร่งผลิตในเดือนก่อนหน้า ขณะเดียวกันกระเบื้องปูพื้นบุผนังมีคำสั่งซื้อลดลงจาก CLMV)
อุตสาหกรรมสมุนไพร (ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อความงาม เครื่องดื่มสมุนไพร มียอดขายในประเทศลดลง ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อสมุนไพรสำหรับทำสปาจากตลาด CLMV ลดลง)
อุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
หัตถอุตสาหกรรม (เครื่องปั้นดินเผา ร่ม มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงท่องเที่ยว สินค้าพรีเมียม มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นจากประเทศสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 98.6 ปรับตัวลดลงจากระดับ 99.6 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 90.0 ปรับตัวลดลง จากระดับ 90.8 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภทแผงวงจรไฟฟ้า มีคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศสหรัฐฯ ขณะที่การผลิตลดลงเนื่องจากมีวันหยุดต่อเนื่องช่วงเดือนธันวาคม)
อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน (หินอ่อน หินประดับ อิฐมวลเบา อิฐที่ใช้ในการก่อสร้าง มียอดขายในประเทศลดลง)
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่ใช้ในงานก่อสร้าง และปูนซีเมนต์ มีการผลิตลดลง ขณะที่ยอดขายและคำสั่งซื้อในประเทศลดลงตามความต้องการใช้ในภาคก่อสร้างลดลง เนื่องจากมีวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเดือนธันวาคม)
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม (เสื้อผ้าสำเร็จรูปประเภทเสื้อผ้ากีฬา และเสื้อกันหนาว มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศสหรัฐ, ยุโรป และเอเชีย ขณะที่ตลาดในประเทศเสื้อผ้าสำเร็จรูปมียอดขายเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคมีการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 101.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 102.5 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 112.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 110.4 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น (คอมเพรสเซอร์ มีคำสั่งซื้อเพิ่มจากประเทศญี่ปุ่น ยุโรป และจีน สินค้าเครื่องปรับอากาศมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศญี่ปุ่น อาเซียนและยุโรป)
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (อัญมณีและเครื่องประดับมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากอินเดียและยุโรป เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องใช้เป็นของขวัญของฝากช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ขณะที่ผู้ประกอบการมีการออกแบบสินค้าคอลเล็กชั่นใหม่มากขึ้น)
อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง (ผลิตภัณฑ์กระเป๋าหนัง กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นตามความต้องการของนักท่องเที่ยวจีน หนังฟอกสำหรับทำรถยนต์มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์)
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ (เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร มียอดขายในประเทศลดลง และส่งออกไปประเทศจีนและญี่ปุ่นลดลง)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 111.4 ลดลงจากระดับ 113.7 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
ภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 78.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 74.9 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง (ถุงมือยางทางการแพทย์ ยางรัดของ ยางรถยนต์ มีคำสั่งซื้อภายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกยางรถยนต์มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น)
อุตสาหกรรมอาหาร (อาหารทะแลแช่แข็ง ปลาทูน่ากระป๋อง มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศสหรัฐฯ แอฟริกาใต้ และสิงคโปร์)
อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม (น้ำมันปาล์มดิบมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการนำน้ำมันปาล์มดิบมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ขณะเดียวกันผู้ประกอบการมีการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายต่อเนื่อง เพื่อระบายสต๊อกสินค้าน้ำมันปาล์มขวด)
อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ (ไม้ยางพาราแปรรูปมีคำสั่งซื้อในประเทศลดลงจากอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ด้านการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปมีคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศจีน เนื่องจากลูกค้ามีการชะลอคำสั่งซื้อ)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 100.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 102.2 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมจำแนกตามการส่งออก
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามร้อยละของการส่งออกต่อยอดขายในเดือนธันวาคม 2561 จากการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศปรับตัวลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ขณะที่กลุ่มที่เน้นตลาดต่าง ประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน
กลุ่มที่มีการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 50 ของยอดขาย (เน้นตลาดในประเทศ) ดัชนีความเชื่อมั่นฯในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 88.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 90.0 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์, อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร, อุตสาหกรรมหล่อโลหะ เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 105.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 106.9 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
กลุ่มที่มีการส่งออกตั้งแต่ร้อยละ 50 ของยอดขายขึ้นไป (เน้นตลาดในต่างประเทศ) ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 112.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 110.0 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ ผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร, อุตสาหกรรม อัญมณีและเครื่องประดับ, อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 106.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 109.3 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ
1. เสนอให้ภาครัฐสนับสนุนการใช้สกุลเงินบาท เพื่อการค้าระหว่างประเทศกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างกัน
2. เสนอให้ภาครัฐหามาตรการเยียวยารายการสินค้าที่เสียดุลการค้าอย่างมากกับประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา