ไนท์แฟรงค์ประเทศไทยเผยทุบสถิติโครงการคอนโดมิเนียมเปิดใหม่ในกรุงเทพฯ สูงสุดในครบ 10 ปี

ศุกร์ ๒๕ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๘:๑๘
นายพนม กาญจนเทียมเท่า กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ตลาดคอนโดมิเนียมกรุงเทพมหานครในปี 2561 ทุบสถิติการเปิดตัวโครงการใหม่สูงสุดในรอบ 10 ปี โดยมีอุปทานใหม่เข้าสู่ตลาดรวมทั้งสิ้นประมาณ 65,000 หน่วย ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 11% ส่งผลให้อุปทานสะสมของคอนโดมิเนียมเฉพาะในกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี 2552 – 2561 อยู่ที่ประมาณ 500,000 หน่วย ทั้งนี้จากการศึกษาของฝ่ายวิจัยอสังหาริมทรัพย์ ไนท์แฟรงค์ฯ พบว่าไตรมาส 3/2561 มีการเปิดตัวโครงการใหม่สูงที่สุดคือ 25,000 หน่วย ในขณะที่ไตรมาสสุดท้ายของปีมีอุปทานใหม่เข้าสู่ตลาดประมาณ 17,000 หน่วย โดยเปิดตัวหนาแน่นในเขตชานเมืองโดยเฉพาะแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวและสายสีน้ำเงิน ซึ่งอุปทานใหม่ในพื้นที่ดังกล่าวคิดเป็น 57% ของหน่วยเปิดใหม่ทั้งหมดในไตรมาส 4/2561 เมื่อมองภาพรวมทั้งปี พบว่าเขตชานเมืองโดยเฉพาะแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายแทบทุกสายยังคงเป็นพื้นที่ที่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สัดส่วนของอุปทานใหม่ใน CBD และพื้นที่รอบ CBD อยู่ที่ 18% และ 33% ตามลำดับ ส่วนทำเลเด่นที่ผู้ประกอบการสนใจเป็นพิเศษในปี 2561 ได้แก่ ถ.สุขุมวิทตั้งแต่ช่วงอโศก – เอกมัย ถ.พหลโยธินตามแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย (หมอชิต-คูคต) พระราม 9 – รัชดาภิเษก ลาดพร้าว – รามคำแหง และจรัญสนิทวงศ์ – เพชรเกษม

ด้านยอดขาย พบว่ายอดขายเฉลี่ยของโครงการเปิดใหม่ในกรุงเทพมหานครตลอดปี 2561อยู่ที่ประมาณ 55% โดยคอนโดขายดีส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ CBD และโซนรอบ CBD มียอดขายประมาณ 51% และ 64% ตามลำดับ ในขณะที่คอนโดเปิดใหม่ย่านชานเมืองมียอดขายประมาณ 50% ซึ่งถือว่าไปได้ดีเมื่อเทียบกับอุปทานใหม่จำนวนมากที่เข้าสู่ตลาดในพื้นที่นี้ ส่วนทำเลที่ได้รับความนิยมสูงจากผู้ซื้อได้แก่ สุขุมวิทตอนกลาง (อโศก – อ่อนนุช) สุขุมวิทตอนปลาย (อุดมสุข – แบริ่ง) พระราม 9 - รัชดาภิเษก พหลโยธิน (จตุจักร – พหลโยธิน 52) และธนบุรี ขณะที่ภาพรวมด้านราคาเสนอขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรของยูนิตเปิดใหม่ปี 2561 อยู่ที่ 150,641 บาท ปรับตัวลดลงจากปีก่อนหน้า 6% โดยราคาเสนอขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรของคอนโดใหม่ในเขต CBD และพื้นที่รอบ CBD อยู่ที่ 250,000 บาท และ 120,000 บาท ลดลง 8% และ 7% ตามลำดับเมื่อเทียบกับปี 2560 อย่างไรก็ตาม ราคาเสนอขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรของยูนิตเปิดใหม่ย่านชานเมืองมีแนวโน้มขยับขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2561 อยู่ที่ 85,000 บาทต่อตารางเมตร เพิ่มขึ้น 3%, 13% และ 20% จากปี 2560, 2559 และ 2558 ตามลำดับ

สำหรับแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2562 คาดว่าจะชะลอตัวจากสถานการณ์ตลาดโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นนโยบายกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารแห่งประเทศไทย การปรับตัวขึ้นของดอกเบี้ยนโยบายภายในประเทศ และภาวะเศรษฐกิจโลกซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อจากต่างประเทศ ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยอสังหาริมทรัพย์ ไนท์แฟรงค์ฯคาดว่าไตรมาสแรกของปีนี้ ราคาเสนอขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากปีที่แล้ว ด้วยแรงหนุนจากการเปิดตัวของโครงการในหลายทำเลทั้งใน CBD และพื้นที่รอบ CBD นอกจากนี้ใน Q1/2562 อัตราการโอนกรรมสิทธิ์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากผู้ซื้อต้องการโอนให้เสร็จก่อนนโยบายกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะถูกบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2562 นี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย
๑๕:๓๘ MediaTek เปิดตัว Dimensity 8400 ชิป All Big Core รุ่นแรกสำหรับสมาร์ทโฟนพรีเมียม
๑๕:๕๔ เปิด 10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัลปี 2024 ปีแห่งความหลากหลายด้านป๊อปคัลเจอร์ โดย LINE ประเทศไทย
๑๕:๒๕ สุรพงษ์ ส่งมอบความสุข ขยายเวลาให้บริการสายสีแดง ถึง ตี 2 ในคืนเคานต์ดาวน์ เป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน
๑๕:๐๗ เอ็นไอเอคัด 8 ผู้ประกอบการไทยสายการแพทย์ - สุขภาพ คว้าโอกาสบุกตลาดเยอรมนี - ยุโรป พร้อมโชว์จุดแข็งในงาน Medica 2024 ตอกย้ำไทย
๑๕:๒๖ EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AA ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
๑๕:๕๖ เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ แมกซ์ โซลูชัน ส่งมอบความสุขและความอุ่นใจ ต้อนรับเทศกาลปีใหม่แก่สมาชิก Max Card ผ่าน กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ
๑๕:๔๘ แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย
๑๕:๓๒ ซีเอ็มเอ็มยู มุ่งผลิตบุคลากรชั้นนำผ่านนวัตกรรมการศึกษาและงานวิจัยระดับโลก พร้อมจุดประกายภาคเศรษฐกิจ - สังคม เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้สู่ พาร์ทเนอร์การเรียนรู้