พัฒนาฝีมือพะเยาจัดสัปดาห์ทดสอบมาตรฐานฝีมือฯ สร้างแรงงานคุณภาพ

อังคาร ๒๙ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๒:๑๔
วันที่ 28 มกราคม 2562 นายเสริมสกุล พจนการุณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพะเยา เปิดโครงการ "สัปดาห์แห่งการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ" โดยในช่วงแรกของสัปดาห์ ได้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือฯ ต่อเนื่องกัน 3 สาขาอาชีพ รวม 70 คน ได้แก่ ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือฯ สาขาช่างซ่อมเครื่องยนต์ ระดับ 1 ให้กับช่างยนต์ของ หจก.อู่วีไอพีพะเยา จำนวน 25 คน ณ หจก.อู่วีไอพีพะเยา ต.จำป่าหวาย อ.เมือง และ หจก.อู่เศวตยนต์พะเยา จำนวน 10 คน ณ อาคารฝึกงานช่างซ่อมรถยนต์ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพะเยา ระหว่างวันที่ 25-27 มกราคม 2562 ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือฯ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1 ให้กับช่างไฟฟ้าในอำเภอปง จำนวน 15 คน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลควร อ.ปง ระหว่างวันที่ 27-28 มกราคม 2562 และดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือฯ สาขาช่างเย็บ ระดับ 1 ให้กับผู้ผ่านการฝึกเตรียมเข้าทำงาน สาขาเย็บจักรอุตสาหกรรม (ผ้า) 420 ชั่วโมง ในอำเภอภูซาง จำนวน 20 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์บ้านก๊อน้อย หมู่ที่ 1 ต.ทุ่งกล้วย อ.ภูซาง ระหว่างวันที่ 28-29 มกราคม 2562 นอกจากนี้ยังได้มอบหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพ สาขาอาชีพช่างเครื่องกล สาขาช่างสีรถยนต์ ระดับ 1 ให้กับนายประยูร กุลศิลป์ หุ้นส่วนผู้จัดการ หจก.อู่วีไอพีพะเยา ซึ่งได้ร่วมโครงการกับสำนักงานฯ ในปีงบประมาณ 2561 และคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานได้มีมติรับรอง ตามพรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561

นายเสริมสกุล พจนการุณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพะเยา เปิดเผยว่า กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "ภาคีเครือข่าย ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมสร้าง ร่วมพัฒนาทักษะฝีมือ สู่พะเยาเมืองแห่งมาตรฐานฝีมือแรงงาน" ซึ่งได้ลงนามบันทึกความร่วมมือร่วมกันเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2561 ซึ่งสาขาอาชีพที่ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ทั้งสามสาขาในครั้งนี้ ได้รับการประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ กล่าวคือ ผู้ผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 1 สาขา ช่างซ่อมรถยนต์ และช่างไฟฟ้าภายในอาคาร จะได้รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือวันละ 400 บาท ขณะที่ผู้ผ่านมาตรฐานฯ สาขาช่างเย็บ ระดับ 1 จะได้รับค่าจ้างวันละ 345 บาท ทั้งนี้ ผู้ที่สามารถผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติได้ แสดงว่าได้ผ่านเกณฑ์ 6 ประการ ได้แก่ ความปลอดภัยในการทำงาน การใช้วัสดุอย่างประหยัด การใช้เครื่องมือเครื่องจักรถูกต้อง ระยะเวลาในการปฏิบัติงานทันภายในกำหนด ขั้นตอนการทำงานครบถ้วนถูกต้อง และผลงานสำเร็จมีมาตรฐาน จึงเป็นการสร้าง "แรงงานคุณภาพ (Super worker)" ตามนโยบายเร่งด่วน 13 ข้อของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว) ข้อที่ 1 ยกระดับทักษะฝีมือแรงงานให้เป็นแรงงานคุณภาพ (super worker) เพื่อรองรับอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ดังนั้น ผู้ว่าจ้างจึงมั่นใจได้ว่าผลงานที่จ้างช่างที่ผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงาน จะเป็นงานที่ดี มีคุณภาพ เชื่อถือได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม