3 เทรนด์สำคัญที่จะปรุงโฉมใหม่ให้กับธุรกิจในอาเซียน ในปี 2562

พุธ ๓๐ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๔:๓๔
บทความโดย ทวิพงศ์ อโนทัยสินทวี ผู้จัดการประจำประเทศไทย นูทานิคซ์

เมื่อความคาดหวังและมาตรฐานของผู้บริโภค รวมถึงโครงสร้างและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เราจะได้เริ่มเห็นธุรกิจที่ขึ้นเป็นผู้นำในตลาด และธุรกิจที่ล้มเหลวได้ชัดเจนขึ้น

เทรนด์สามประการที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จะช่วยให้ธุรกิจต่างๆ พบหนทางจัดการกับความซับซ้อนของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจสู่ดิจิทัล รับมือการแข่งขันกับธุรกิจในโมเดลใหม่ๆ และการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากเทรนด์เหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะใช้สร้างแผนงานและกำหนดหลักการเพื่อนำธุรกิจในภูมิภาคนี้สู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและการดิสรัปชั่น จะเกิดขึ้นอีกครั้ง

ที่ผ่านมาได้มีการตระเตรียมและจัดการเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและดิสรัปชั่นเกิดขึ้นมากมาย แต่ส่วนใหญ่จะมุ่งเป้าไปที่เรื่องของเทคโนโลยี แต่ในปี 2562 นี้ ดูเหมือนจะไม่ใช่ภาพนั้นอีกแล้ว

โดยความเป็นจริงนวัตกรรมที่เกิดขึ้นกับเทคโนโลยีนั้นไม่ใช่เทรนด์ใดๆ นวัตกรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้มาโดยตลอด มีเทคโนโลยีเกิดขึ้นในวงการธุรกิจมานานหลายศตวรรษแล้ว แต่สิ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบกับธุรกิจในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในเชิงของ ขนาด ความเร็ว ความกว้างและความลึกนั้นมาจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และดิสรัปชั่น

ในปี 2562 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อเทคโนโลยีระดับองค์กร ปัจจุบันองค์กรธุรกิจตระหนักมากขึ้นว่าโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี แพลตฟอร์มที่มีอยู่ทั้งหมดที่ใช้ในธุรกิจ รวมถึงโมเดลธุรกิจ และสิ่งที่ธุรกิจต้องพึ่งพาเพื่อความอยู่รอดในอนาคตนั้น ไม่เหมาะสมกับเป้าประสงค์ทางธุรกิจอีกต่อไป และไม่สามารถแก้ไข ซ่อมแซม และปรับปรุงได้ง่ายๆ อีกต่อไปเช่นกัน โครงสร้างพื้นฐานแบบเดิมทำงานบนฮาร์ดแวร์ ซึ่งช้า ไม่ยืดหยุ่น เป็นแบบไซโล และค่าใช้จ่ายสูง ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นเงิน ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากพื้นที่จัดวาง พลังงานที่ใช้ พนักงานที่ต้องดูแล และในอีกไม่นานก็จะล้าสมัย และทำงานได้อย่างจำกัด

การผสานรวมและใช้งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมล่าสุดกับทุกส่วนงานขององค์กรในแบบเรียลไทม์จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอด เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรตามความต้องการ หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนในอุตสาหกรรมได้อย่างทันที เพื่อให้ทันและล้ำหน้าคู่แข่งในตลาดได้

เทคโนโลยีไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะกับธุรกิจอีกต่อไป แต่จะเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมในวงกว้างมากขึ้น โดยครอบคลุมถึงพฤติกรรมของลูกค้า ความเปลี่ยนแปลงของตลาด ทิศทางเศรษฐกิจ และนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยี ทั้งนี้องค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการติดตั้งและใช้งานโครงสร้างพื้นฐานไอทีรุ่นใหม่ คือ โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮบริด เพื่อรองรับการขับเคลื่อนธุรกิจในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง

ผลวิจัยล่าสุดของนูทานิคซ์ได้ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนและการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานรุ่นใหม่จะได้รับความนิยมและเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะองค์กรขนาดใหญ่ในเอเชียกำลังเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของตนให้มากขึ้น เพื่อแข่งขันทั้งในภูมิภาคเดียวกันและกับภูมิภาคอื่น และสิ่งนี้จะนำมาซึ่งองค์กรรูปแบบใหม่

องค์กรดิจิทัล คือ การดำเนินธุรกิจที่ชาญฉลาดและยืดหยุ่นมากขึ้น

ธุรกิจอัจฉริยะ (Smart Business) ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะองค์กรต่างๆ ใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้าและเทคโนโลยีล่าสุดเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว แต่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นโปรเจคกับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร ซึ่งสถานการณ์ลักษณะนี้จะเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในปีนี้

ในอดีต การพยายามตรวจสอบและกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกจากทุกแง่มุมของธุรกิจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่การปรับใช้ระบบไฮบริดคลาวด์และระบบปฏิบัติการคลาวด์ระดับองค์กรอย่างกว้างขวางมากขึ้นจะช่วยแก้ปัญหาความไม่สอดคล้องกันภายในองค์กร และเปิดทางสู่การกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ รอบด้าน และนำไปใช้งานได้จริง

ความซับซ้อนที่เกิดขึ้น และความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงธุรกิจจะต้องมั่นใจว่าบริษัทต้องอยู่รอดและเติบโตในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จะทำให้เราได้เห็นองค์กรดิจิทัลเพิ่มขึ้นในปีนี้

ธุรกิจที่มีความยืดหยุ่นและชาญฉลาดเหล่านี้จะใช้โครงสร้างพื้นฐานรุ่นใหม่ช่วยปรับวิธีการทำงาน การจัดการบุคลากร การทำธุรกิจ และรูปแบบทางธุรกิจของตน องค์กรเหล่านี้จะเริ่มเห็นประโยชน์ของข้อมูล วิเคราะห์ และใช้ข้อมูลทั้งหมดที่ตนมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เก็บนิ่งมานานหรือที่กำลังใช้งานอยู่ การทำงานร่วมกันได้ และการที่สามารถเห็นและรับรู้ความเคลื่อนไหวต่างๆ ได้ จะเป็นมาตรฐานของทุกส่วนในองค์กร

สิ่งนี้คือความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้น และความไร้กังวลในการทำงาน ที่มีอยู่ในองค์กรดิจิทัล

การเพิ่มศักยภาพให้แก่บุคลากร

บุคลากรและสถานที่ทำงานก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทำนองเดียวกันกับองค์กรและตลาดเช่นกัน

เทรนด์ด้านการจ้างงาน เศรษฐกิจและสังคม เป็นตัวสร้างแนวทางการทำงานใหม่ๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลซึ่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านสถานที่ทำงานอย่างรวดเร็ว

สำหรับองค์กรต่างๆ ปัจจุบันพนักงานก็เปรียบเสมือนลูกค้า กล่าวคือ พนักงานสามารถเลือกได้ว่าตนเองจะทำงานที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร นอกจากนี้ พนักงานไม่ได้ "ยึดติด" อยู่กับสไตล์การทำงานหรือแนวทางปฏิบัติแบบเดิมๆ อีกต่อไป พนักงานมีการปรับใช้เครื่องมือเทคโนโลยี รูปแบบ และสถานที่ในการทำงานตามความต้องการ

หากองค์กรสามารถรองรับเทรนด์ดังกล่าวได้ ก็จะทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพและความมุ่งมั่นในการทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจในท้ายที่สุด โดยจะต้องยอมแลกกับอำนาจในการ "ควบคุม" แบบเดิม ขณะเดียวกัน ทุกวันนี้พนักงานมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นในการทำงานให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด เนื่องจากเทคโนโลยีคลาวด์ช่วยให้บุคลากรและอุปกรณ์ทำงานอย่างสอดประสานกัน และสามารถดำเนินการติดต่อสื่อสารอย่างชาญฉลาดในแบบเรียลไทม์

ในกรณีนี้ โครงสร้างพื้นฐานขององค์กรจะต้องสามารถรองรับเครื่องมือ เทคโนโลยี และซอฟต์แวร์ได้อย่างยืดหยุ่น รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัย การบูรณาการเข้ากับระบบต่างๆ นโยบาย และการเข้าใช้งาน ทั้งนี้ องค์กรต่างๆ จะต้องเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับศึกแย่งชิงบุคลากรที่ดุเดือดมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ความยืดหยุ่นนี้ก็ส่งผลต่อบุคลากรเช่นกัน กล่าวคือ สำหรับพนักงานแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างแท้จริงก็คือ ความเร็วและขอบเขตของสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยพนักงานจะต้องมีความยืดหยุ่นเหมือนกับองค์กร สามารถทำงานในแผนก สายงาน สถานที่ตั้ง หรือแม้กระทั่งทีมงานที่หลากหลาย

บุคลากรในปี 2562 จะต้องมีทักษะหลากหลายด้าน แทนที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ถนัดด้านใดด้านหนึ่ง โดยจะต้องสามารถทำงานร่วมกับทีมงาน หน่วยงาน และแม้กระทั่งองค์กรธุรกิจที่หลากหลาย นอกจากนี้ จะต้องสามารถทำงานได้ทุกที่ โดยใช้ชุดเครื่องมือ "ส่วนตัว" ที่ได้รับจากองค์กรดิจิทัล เพื่อรองรับการติดต่อสื่อสาร การมอบหมายงาน และการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

เช่นเดียวกับองค์กร พนักงานจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อก้าวให้ทันกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยบุคลากรในองค์กรดิจิทัลจะต้องดำเนินการเชิงรุก ก้าวทัน (และล้ำหน้า) เทคโนโลยีและนวัตกรรมล่าสุด เพื่อประโยชน์ต่อองค์กรและต่อตนเอง

ท้ายที่สุดแล้ว องค์กรจะต้องรับมืออย่างเหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจ ประสิทธิภาพการทำงาน และการพัฒนาเติบโตของพนักงาน

กล่าวโดยสรุปได้ว่า เทคโนโลยีใดก็ตามที่สามารถเชื่อมโยงและทำให้เกิดการผสานการทำงานร่วมกันได้ เป็นรากฐานและให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานและขนาดของตลาด ขอบเขตการทำงาน และขจัดความซับซ้อนได้ จะสามารถสร้างนิยามใหม่ให้กับองค์กรในภูมิภาคนี้

การที่ภูมิภาคเอเชียจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง องค์กรในภูมิภาคนี้จึงอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบที่จะได้ประโยชน์ ด้วยการสร้างเสาหลักที่จะเป็นรากฐานเทคโนโลยีที่เป็นอนาคตทางดิจิทัลให้กับเอเชีย ซึ่งนั่นหมายถึงเรากำลังช่วยกันผลักดันให้ภูมิภาคนี้ประสบความสำเร็จในระดับสูงขึ้นอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ