สภาหอการค้าฯ-สภาอุตสาหกรรม-สถาบันอาหาร ชี้ส่งออกอาหารปี 62 เผชิญปัจจัยเสี่ยง ลุ้นโตตามเป้า 8.5%

ศุกร์ ๐๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๓:๒๕
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย//การแถลงข่าวร่วม 3 องค์กรเศรษฐกิจด้านธุรกิจเกษตรและอาหาร โดย สภาหอการค้าฯ สภาอุตสาหกรรมฯ และสถาบันอาหาร เผยข้อมูลภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารของไทยปี 2561 และแนวโน้มปี 2562 มีตัวแทนหลักของทั้ง 3 องค์กร ประกอบด้วย นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมให้รายละเอียดสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ในการประสานความร่วมมือของ 3 องค์กร ในส่วนของสถาบันอาหารจะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องภายใต้การดำเนินงานของ ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร หรือ Food Intelligence Center โดยมีสภาหอการค้าฯ และสภาอุตสาหกรรมฯ ร่วมบูรณาการข้อมูล พบว่า การส่งออกอาหารของไทยปี 2561 มีมูลค่า 1,031,956 ล้านบาท หรือมูลค่า 32,190 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และร้อยละ 7.3 ในรูปเงินบาทและดอลล่าร์สหรัฐตามลำดับ ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 385,499 ล้านบาท หรือมูลค่า 11,937 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และร้อยละ 6.2 ในรูปเงินบาทและดอลล่าร์สหรัฐตามลำดับ สินค้าส่งออกอันดับ 1 ยังคงเป็นข้าว มีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 17.5 มูลค่าส่งออก 180,116 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ ไก่ ร้อยละ 10.7 มูลค่าส่งออก 110,116 ล้านบาท อันดับที่ 3 ถึงอันดับที่ 5 คือ น้ำตาลทราย ปลาทูน่าปรุงแต่ง และกุ้ง สัดส่วน ร้อยละ 8.5, 7.1 และ 5.7 ตามลำดับ กลุ่มสินค้าหลักที่มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2560 มีจำนวน 7 สินค้า ได้แก่ ข้าว(+8.0%) ไก่ (+13.4%) ปลาทูน่าปรุงแต่ง(+9.5%) แป้งมันสำปะหลัง(+33.1%) เครื่องปรุงรส(+12.5%) มะพร้าว(+19.7%) และอาหารพร้อมรับประทาน(+10.6) ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง จำนวน 3 สินค้า ได้แก่ น้ำตาลทราย(-3.0%) กุ้ง(-12.7%) และสับปะรด(-27.8%)

โดยมีญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกอาหารของไทยอันดับที่ 1 รองลงมา ได้แก่ จีน (อันดับ 2), เวียดนาม (4), อินโดนีเซีย (5), เมียนมาร์ (6), กัมพูชา (7), มาเลเซีย (8) และฟิลิปปินส์ (9) จะเห็นได้ว่าตลาดอาหารสำคัญของไทย 6 ใน 8 ประเทศตั้งอยู่ในภูมิภาคอาเซียน แต่หากพิจารณาในกลุ่มภูมิภาค

จะพบว่า อาเซียน เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย มีมูลค่าส่งออก 293,172 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 28.4 ของมูลค่าส่งออกอาหารทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ ร้อยละ 11.8, อันดับ 3 แอฟริการ้อยละ 9.1 อันดั บ 4 สหภาพยุโรป ร้อยละ 8.9 และอันดับ 5 โอเชียเนีย ร้อยละ 3.4 ทั้งนี้ หากคิดเฉพาะกลุ่มประเทศมุสลิม (OIC Country 57 ประเทศ) พบว่า มีมูลค่าส่งออก 180,777 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 17.6

"ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 12 ของโลก ปรับตัวดีขึ้น 2 อันดับ จากอันดับที่ 14 ของโลกในปี 2560 โดยพิจารณาจากมูลค่าส่งออกอาหารในรูปดอลลาร์พบว่า ไทยมีส่วนแบ่งตลาดโลกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.36 จากร้อยละ 2.34 ในปีก่อนหน้า ขณะที่ประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ เช่น สหรัฐฯ บราซิล และจีน ต่างมีส่วนแบ่งตลาดโลกลดลง ส่วนประเทศผู้ส่งออกอาหารที่สำคัญในภูมิภาคอย่างอินเดียและเวียดนาม ต่างก็มีส่วนแบ่งตลาดโลกลดลงเช่นกัน โดยอินเดียเป็นประเทศ

ผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 13 ของโลก ตกลงมา 2 อันดับ ขณะที่เวียดนามเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 17 ของโลกดีขึ้น 1 อันดับ"

นายยงวุฒิ กล่าวต่อว่า แนวโน้มการส่งออกอาหารไทยปี 2562 คาดว่าจะมีมูลค่า 1,120,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 จากปี 2561 กลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นมีจำนวน 8 กลุ่ม ได้แก่ ไก่ ปลาทูน่าปรุงแต่ง กุ้ง มันสำปะหลัง เครื่องปรุงรส มะพร้าว สับปะรด และอาหารพร้อมรับประทาน ส่วนกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าวและน้ำตาลทราย โดยสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ข้าว ไก่ น้ำตาลทราย ปลาทูน่าปรุงแต่ง และกุ้ง

สำหรับปัจจัยสนับสนุนสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารไทยในปี 2562 ได้แก่ 1) การปลดล็อคใบเหลืองประมงไทยของสหภาพยุโรป ที่ทำให้ประเทศคู่ค้าเกิดความเชื่อมั่นในสินค้าประมงไทยมากขึ้น 2) สินค้าอาหารของไทยเป็นที่ต้องการของตลาดอาเซียน โดยเฉพาะ CLMV ที่สินค้าไทยครองตลาดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 - 60 รวมทั้งตลาดอาเซียนเดิมที่เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าจำพวกข้าว น้ำตาล มันสำปะหลัง อาหารแปรรูป รวมทั้งอาหารฮาลาล 3) ราคาพลังงานอยู่ในระดับต่ำและมีเสถียรภาพ 4) การเมืองไทยมีความชัดเจน สร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจ โดยมีการกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจน

"ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบ ได้แก่ 1) ความผันผวนการเมืองระหว่างประเทศ และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้า ส่งกระทบทางอ้อมต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้กำลังซื้อ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อการจับจ่ายใช้สอยลดลงตามไปด้วย 2) แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการประกอบธุรกิจ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวตามทิศทางดอกเบี้ย Fed Fund rate ของสหรัฐฯ 3)การแข็งค่าของเงินบาท กระทบต่อสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป โดยเฉพาะสินค้าที่เน้นตลาดต่างประเทศจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคา รวมถึงรายได้ที่แปลงกลับมาเป็นเงินบาทจะลดลง ทำให้ราคาสินค้าวัตถุดิบการเกษตรลดลงตามไปด้วย 4)รายได้ผู้บริโภคลดลงตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ในระดับต่ำตามภาวะเศรษฐกิจ และ 5)สหรัฐฯตัดสิทธิ GSP สินค้าไทย 11 รายการ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการที่สินค้าไทยในกลุ่มดังกล่าวมีส่วนแบ่งตลาดเกินร้อยละ 50 ในตลาดสหรัฐฯ โดย 6 ใน 11 รายการ อยู่ในกลุ่มสินค้าอาหาร ประกอบด้วยทุเรียนสด มะละกอตากแห้ง มะละกอแปรรูป มะขามตากแห้ง ข้าวโพดปรุงแต่ง และผลไม้/ถั่วแช่อิ่ม"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม