ชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 7 แสนบาท โดย 8 ทีมสตาร์ทอัพ ที่ผ่านการคัดเลือก ล้วนมีผลงานที่น่าสนใจ อาทิ การแนะนำอาชีพให้แก่นิสิต นักศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยทำงาน การเรียนและฝึกภาษาอังกฤษผ่านทางออนไลน์ การช่วยคุณครูประหยัดเวลาการบริหารจัดการเอกสารผ่านทางแอปพลิเคชั่น การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาผ่านทางออนไลน์ การพัฒนาข้อมูลหรือการบริหารจัดการภายในโรงพยาบาล เครื่องมือติดตามผู้สูงอายุ รวมไปถึงการพัฒนาการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นต้น
สำหรับ 5 ทีม สตาร์ทอัพด้านการศึกษา (EdTech) ที่ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ ทีม CarreVisa (แคเรียร์วีซ่า) แพลตฟอร์มแนะแนวอาชีพครบวงจร แอปพลิเคชั่นแรกในประเทศไทย ที่มีแบบประเมินความเหมาะสมทางอาชีพ จากผู้มีประสบการณ์การทำงานหลากหลายสาขาอาชีพ ตั้งแต่ Investment banker ที่ Wall Street นักแสดง Broadway ที่ New York ซึ่งปัจจุบันร่วมกับ 5 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศในการให้นักศึกษาทดลองใช้แอปพลิเคชั่นฟรี อาทิ ม. เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ม.เทคโนโลยีสุรนารี, ม.เชียงใหม่, ม.พะเยา และ ม.นเรศวร ทีม School Brigth (รู้จักในนามจับจ่าย) คือ แพลตฟอร์มบริหารจัดการโรงเรียนดิจิทัลในรูปแบบแอปพลิเคชั่นบนมือถือ ที่ครอบคลุมความต้องการใช้งานของสถานศึกษามากที่สุดในประเทศไทย ที่เชื่อมโยงระหว่างนักเรียน และผู้ปกครอง และปัจจุบันมีนักเรียนในระบบมากกว่า 100,000 คนและโรงเรียนมากกว่า 100 โรงเรียน ที่ School Bright ช่วยคุณครูประหยัดเวลาการทำงานได้ถึง 90% และช่วยลดต้นทุนโรงเรียนได้ถึง 30%
ทีม BASE Playhouse ตั้งมาได้ประมาณ 2 ปี ด้วยปัญหาที่พบว่าเด็กไทยไม่มีสถานที่ที่เตรียมพร้อมให้เข้าสู่โลกชีวิตจริง เพราะโลกของการทำงานต้องการความรู้ และทักษะหลาย ๆ อย่างที่ไม่มีในโรงเรียน และมหาวิทยาลัย การเติมทักษะเหล่านั้น จำเป็นต้องฝึกฝนผ่านสถานการณ์จริง BASE จึงสร้างประสบการณ์เรียนรู้ หลักสูตร และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยพัฒนาทักษะองค์ความรู้เหล่านั้นให้กับเด็กตั้งแต่มัธยมไปจนถึงเด็กมหาวิทยาลัย เรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลองจริง (Experience Simulation ) ช่วยให้ครูทุกคนที่มีพื้นฐานและไม่มีพื้นฐาน สามารถฝึกทักษะในศตวรรษที่21 ให้กับเด็กในห้องเรียนได้ด้วยตัวเองแบบไม่น่าเบื่อและสนุก
ทีม VOXY เป็นระบบปฏิบัติการสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ที่ใช้เทคโนโลยี AI คู่ขนานไปกับการสอนสด โดยเจ้าของภาษาตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านทางแอปพลิเคชั่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ รองรับทั้งระบบ iOsและ Android โดย Voxy มีเนื้อหาที่อัปเดทตลอดเวลา เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้และองค์กรนั้น ๆ ปัจจุบันมีคนใช้แล้วกว่า 5 ล้านคน อาทิ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และคุณกระทิง พูลพล ผู้ก่อตั้งตั้งแต่ Disrupt University และ 500 TukTuks
ทีม Codekit คือ คลาสเรียนออนไลน์ ที่จะช่วยปูพื้นฐานด้านเทคโนโลยี อาทิ การสร้างเว็บไซต์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่พื้นฐานไปสู่เทคโนโลยีที่ยากขึ้น อาทิ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ทั้งในผู้ใหญ่ที่ไม่มีพื้นฐานและเด็กระดับมัธยมต้น สามารถลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา
สำหรับ 3 ทีม สตาร์ทอัพด้านสาธารณสุข (Heathl Tech) ที่ได้รับการคัดเลือก ได้แก่
ทีม ARINCARE คือ Digital Platform สำหรับร้านขายยา และเภสัชกรทั่วประเทศ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เภสัชกรทำงานได้ดีขึ้นด้วยการทำ Digital Transformation จ่ายยาได้แม่นยำ ยกระดับประสิทธิภาพของเภสัชกรชุมชนจากร้านขายยาในแบบ Analog มาเป็น Digital Healthcare ได้ดียิ่งขึ้น และปัจจุบัน Arincare มีร้านขายยาและเภสัชกรในเครือข่ายมากกว่า 2,000 ร้านทั่วประเทศ ที่เข้าถึงเทคโนโลยี สามารถให้บริการสาธารณสุขในชุมชนได้ดีขึ้น
ทีม MeDisee เป็น Platform ด้านสุขภาพ มีระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพที่รวบรวมคนไข้ยา และโรงพยาบาลเข้าไว้ด้วยกัน มีระบบริหารจัดการสำหรับโรงพยาบาล คลินิก แพทย์สามารถเชื่อมต่อข้อมูลกับโรงพยาบาลได้
ทีมRemote-Care เป็นระบบส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion) ของประชาชนไทยทุกคน โดยผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์ Wearable devices เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์ทั้ง Android และ iOs เพื่อวิเคราะห์การเกิดโรค NCDs (Non-Communicable Diseases) หรืออื่น ๆ อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคเลือดในสมองตีบ
ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ประธานสถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย (Future Innovation Thailand Institute: FIT) กล่าวว่า "สถาบันฯ ก่อตั้งโดยมูลนิธิ ควง อภัยวงศ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดที่ได้จากการศึกษาข้อมูลเชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลบนข้อเท็จจริง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศ โดยมีภารกิจหลักที่สำคัญ ได้แก่ 1. ศึกษาและวิจัยเชิงนโยบาย 2. พัฒนานโยบายสาธารณะที่ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ 3. สื่อสารและผลักดันให้มีกระบวนการขับเคลื่อนทางสังคม และ 4. สร้างเครือข่ายพลเมือง เพื่อการพัฒนาประเทศที่มีความหลากหลาย พร้อมผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ
"โครงการ Govtech จัดขึ้นมาเพื่อให้สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย ได้เป็นเวทีเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง startups ในด้านการศึกษาและสาธารณสุขเข้าไปมีส่วนร่วมและทำงานกับภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม ผู้เข้าแข่งขันจึงมั่นใจได้ว่าทุกโครงการจะได้รับคำปรึกษา การสนับสนุน และเตรียมความพร้อมจากผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ เพื่อยกระดับประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล" ดร.พิสิฐ กล่าวทิ้งท้าย