ดร.มนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และนายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบในวงกว้างต่อทุกอุตสาหกรรม ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จคือ Digital Transformation การทำธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม (Platform Business) ข้อมูลขนาดใหญ่ (Data Strategy/Big Data) และการสร้างนวัตกรรม (Innovation) วันนี้ ทีโอที ได้ปรับธุรกิจปัจจุบันสู่ Digital Transformation เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและลูกค้ายุคดิจิทัล ด้วยต้นทุนต่ำ ราคาถูก เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้า ซึ่ง ทีโอที ได้มีการปรับโดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้ครอบคลุมกระบวนการทำงานทั้งก่อนและหลังการขาย การพัฒนาระบบรองรับการใช้งานผ่านมือถือ และการให้บริการในเชิง Preventive เพิ่มการลงทุนธุรกิจ Digital Service ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และยกระดับบริการด้วย Digital Platform, Cloud Services, Cyber Security และ Data Analytic โดยการจัดประกวดนวัตกรรมโครงการ TOT Hackathon 2019 เป็นหนึ่งในการปรับ Digital Transformation ของ ทีโอที
ดร.มนต์ชัยฯ กล่าวย้ำว่า "โครงการ TOT Hackathon 2019 นอกจากจะเป็นขับเคลื่อนประเทศตามนโยบายของรัฐบาลแล้ว โดยสนับสนุนให้นักศึกษา และผู้สนใจที่มีองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีมาแชร์ มาบูรณาการร่วมกัน เพื่อประยุกต์ สร้างนวัตกรมและแนวธุรกิจดิจิทัล เป็นการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลสร้าง Start Up คนรุ่นใหม่ให้กับประเทศ และที่สำคัญคือเป็นการลงทุนสร้างนวัตกรรมรูปแบบใหม่สำหรับการทำธุรกิจดิจิทัล และเป็นการทรัพยากรด้านดิจิทัลให้กับองค์กร รวมถึงเป็นการพัฒนาศักยภาพของพนักงานของ ทีโอที ในการทำงานร่วมกับคนรุ่นใหม่ เพื่อให้การปรับธุรกิจสู่ Digital Transformation ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น
สำหรับการประกวดแข่งขันนวัตกรรม "โครงการ TOT Hackathon 2019" ได้มีการแข่งขัน ระหว่างวันที่ 11–12 กุมภาพันธ์ 2562 ณ สถาบันวิชาการ ทีโอที ถ.งามวงศ์วาน จ.นนทบุรี โดยแบ่งการแข่งขันเป็น 3 ประเภท ซึ่งมีผลการตัดสิน ดังนี้
-ประเภทความมั่นคงปลอดภัยของโครงข่ายสื่อสาร Network Security
ผู้เข้าประกวดจะต้องนำเสนอโครงการที่เกี่ยวกับความมั่นคง ปลอดภัยสารสนเทศภายในเครือข่ายใช้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ตามบ้านพักที่อยู่อาศัย หรือบริษัทขนาดเล็ก ที่มีอุปกรณ์สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายอินเตอร์เน็ต ไม่เกิน 50อุปกรณ์ เช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก รวมไปถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ เช่น Smart TV, Smart Plug เป็นต้น แบ่งหัวข้อย่อยได้ออกเป็น 3 รูปแบบ คือ Hardware Software Firmware ซึ่งประเภทนี้มีผู้เข้าร่วมแข่งขันจำนวน 9 ทีม
ทีมชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับถ้วยพร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท ได้แก่ทีม !cleartext
1 นาย สุรสิทธิ์ ประคุณหังสิต 2 นางสาว นฤภร ลี้ศรีวัฒนกุล 3 นางสาว บุษภาณี พงษ์ศิริยาภรณ์ 4 นาย อานันท์ หมินแดง
จากผลงาน Content dilivery Network System
รางวัลที่ 2 ได้รับถ้วยพร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท
ได้แก่ ทีม !hacker
1 นายธนกร ร้อยอำแพง 2 นายสุรศักดิ์ ชัยสุรินทร์ 3 นายธนากร จันทอักษร4 นายณัฐพงษ์ งิ้วงาม
จากผลงาน Theat Management Network System
รางวัลที่ 3 ได้รับถ้วยพร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท
ได้แก่ ทีม Kittinan V 4
1 นายศรัณยู จันทร์คง2 นายกิตตินันท์ อุ่นลม 3 นายศิริพล อั้งรัตนวารี
4 นายกฤชณรงศ์ เสมอถุฃ
จากผลงาน Log Monitor
รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท
ได้แก่ ทีม unexpected
1 นายปฏิภาณ ผาก่ำ 2 นายรุ่งชัย นาคศรี 3 นายอภิสิทธิ์ ศรีภา
4 นายปิติภัทร ศักดิ์วงษ์
จากผลงาน Software ตรวจรับการบุกรุกทางเครือข่าย
- ประเภทการวิเคราะห์เชิงลึกของข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data analytics
ผู้เข้าประกวดจะต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ในรูปแบบต่างๆ อาทิ Descriptive, Predictive และPrescriptive เพื่อสร้างมูลค่า สร้างโอกาสทางธุรกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพช่องทางการติดต่อลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ามีความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย ซึ่งประเภทนี้มีผู้เข้าร่วมแข่งขันจำนวน 10 ทีม
ทีมชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับถ้วยพร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท
ได้แก่ ทีม 101
1 นาย พงศ์พิสิทธิ์ ธนสุวิทย์ 2 นาย พิริยพงศ์ เลาพงศ์สิทธิ์ 3 นายรุจกร ชารากร 4 นาย ชยานนท์ เอมวิวัฒน์
จากผลงาน Churn Model
รางวัลที่ 2 ได้รับถ้วยพร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท
ได้แก่ ทีม AI Love you
1 นายวิชาพงศ์ ดรุณธรรม 2 นายเผ่าพัฒน์ รัตน์พันธ์ไพโรจน์ 3 นางสาวธัญญา งามสันติวงษ์
จากผลงาน Churn Model
รางวัลที่ 3 ได้รับถ้วยพร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท
ได้แก่ ทีม สนามเด็กเล่น
1 นายเชาวรินทร์ บุญมั่น 2 นายศุภกร เอมชนานนท์
จากผลงาน Smart Call Center
รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท
ได้แก่ ทีม Teletubbies
1 นายอภิสิทธิ์ พานสุกิจ 2 นายฉัตริน หงส?จรรยา 3 นายธีระพัฒ นิโลตบล
4 นางสาวชญานิศ ธรรมรัตนะศิริ
จากผลงาน Personalizaiton Marketing
-ประเภทความฉลาดเทียมร่วมกับอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง AI and IoT
ARTIFICIAL INTELLIGENCE AND INTERNET OF THINGS ผู้เข้าประกวดจะต้องนำเสนอโครงการที่ประกอบด้วย ระบบ Hardware หรือระบบ Hareware+Software ที่มีความสามารถในการประมวลผลทางด้าน AI ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อสนับสนุนการให้บริการต่างๆ เพื่อนำไปให้บริการกับกลุ่มลูกค้าทั่วไป หรือกลุ่มลูกค้า ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม หรือกลุ่มลูกค้าภาครัฐ ซึ่งประเภทนี้มีผู้เข้าร่วมแข่งขันจำนวน 29 ทีม
ทีมชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับถ้วยพร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท
ไม่มีทีมที่ได้รับรางวัล
รางวัลที่ 2 ได้รับถ้วยพร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท
ได้แก่ ทีม Run B
1 นายวุฒินันท์ ชัยศิริวิเรนทร์ 2 นายฉัตรชัย แซ่ตัน 3 นายศุภวิชญ์ แสงสุวรรณ
4 นายอภิรัตน์ เชาว์เครือ
จากผลงาน TOT Security Solution
รางวัลที่ 3 ได้รับถ้วยพร้อมเงินเงินรางวัล 30,000 บาท
ได้แก่ ทีม E-twelve
1 นายบุรินทร์ ทรัพย์ศิริ 2 นายนัทธพงศ์ วัฒนศิริ 3 นายธนภูมิ ภูมี 4 นายนทีกานต์
มูลทองน้อย
จากผลงาน Helth care and home sececurity
รางวัลชมเชย ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท
ได้แก่ ทีม RMUTT Accident Notify Application
1 นายทศพล สังข์พุก 2 นายจีรศักดิ์ สุขทรัพย์ศรี 3 นายกิตติภูมิ พลค้า
จากผลงาน Applition แจ้งเหตุบนท้องถนน