มรภ.สงขลา เปิดเวทีความร่วมมือสภา’ สัญจร 4 ภาค ผนึกเครือข่ายวางกรอบพัฒนาวิชาชีพสาธารณสุข

พุธ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๕:๑๑
มรภ.สงขลา จัดสัมมนาสภาสัญจร' 4 ภาค เปิดเวทีเจรจากำหนดกรอบความร่วมมือพัฒนาวิชาชีพสาธารณสุข เตรียมผนึกเครือข่ายลงนาม MOU เพิ่มประสิทธิภาพหลักสูตร หวังช่วยคนไทยเข้าถึงบริการคุณภาพ

ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดโครงการความร่วมมือสภาสัญจร' 4 ภาค ครั้งที่ 2 ระหว่างสภาการสาธารณสุขชุมชน กับหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.สงขลา ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติฯ มรภ.สงขลา เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน และบทบาทอำนาจหน้าที่ของสภาการสาธารณสุขชุมชนสู่นักสาธารณสุขของหน่วยงาน และสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตด้านสาธารณสุข ซึ่งนับเป็นนิมิตรหมายที่ดีว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะส่งเสริมให้หลักสูตรยิ่งมีคุณภาพการจัดการศึกษาดีขึ้นกว่าเดิมไปอีก อันเนื่องมาจากมีสภาการสาธารณสุขชุมชน เป็นสภาวิชาชีพเฉพาะที่คอยให้การเกื้อหนุน เป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษา โดยเฉพาะการเปิดเวทีเจรจากำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างกัน

ดร.ไพศาล บางชวด นายกสภาการสาธารณสุขชุมชน กล่าวว่า ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำร่างปฏิญญาความร่วมมือระหว่างสภาการสาธารณสุขชุมชน สภาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตด้านสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม นำไปสู่การพัฒนาสุขภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และหลักการสาธารณสุขมูลฐานตามนิยามที่องค์การอนามัยโลกและประเทศสมาชิกกำหนดไว้ ตลอดจนส่งเสริมการประกอบวิชาชีพการสาธารสุขชุมชน กำหนดและควบคุมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ เพื่อมิให้มีการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากบุคคลซึ่งไม่มีความรู้ อันจะก่อให้เกิดภัยและความเสียหายต่อสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน

ดร.ไพศาล กล่าวอีกว่า สภาการสาธารณสุข และสภาคณบดีสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย จะร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการศึกษา การวิจัย เพื่อก่อให้เกิดมาตรฐานทางด้านวิชาการ เพื่อสนับสนุนการประกอบวิชาชีพการสาธารสุขชุมชนที่มีคุณภาพและมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เกิดการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขของประเทศอย่างเข้มแข็ง รวมถึงสนับสนุนการพัฒนากลไกควบคุมกำกับดูแล และกำหนดมาตรฐานการจัดบริการสาธารณสุข ให้ความรู้กับประชาชนและองค์กรต่างๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับสาธารณสุข และส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน กับสถาบันและองค์กรด้านการสาธารณสุขในต่างประเทศ เพื่อพัฒนาและเผยแพร่ชื่อเสียงของนักสาธารณสุขของประเทศไทยในระดับนานาชาติ

ด้าน ดร.วรพล หนูนุ่น ประธานหลักสูตรสาธารณสุขบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.สงขลา กล่าวว่า จุดแข็งของหลักสูตรฯ คือมีหน่วยงานภาคีเครือข่ายในชุมชน และส่งเสริมให้นักศึกษาได้ดำเนินงานจริงในพื้นที่ ทำให้ได้รับประสบการณ์ตรง อีกทั้งการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาต่างๆ มีการให้นักศึกษาไปศึกษาดูงานตามหน่วยงาน ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนความรู้นอกห้องเรียน ทั้งนี้ หลังจากหารือในเรื่องกรอบความร่วมมือระหว่างสภาการสาธารสุขชุมชนกับ มรภ.สงขลา โดยหลักการถือว่ามีความเห็นสอดคล้องกัน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีและบริการทางด้านวิชาการ วิชาชีพสาธารณสุข ในส่วนรายละเอียดด้าน MOU อาจจะต้องหารือกันอีกครั้ง ซึ่งจะมีหลายประเด็นในการพูดคุยถึงเรื่องนี้

ดร.วรพล กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการเสวนาในหัวข้อ ระเบียบสภาว่าด้วยการบำบัดโรคเบื้องต้น และอภิปรายในเรื่องของจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการสาธารณสุข โดยทีมวิทยากรจากสภาการสาธารณชุมชน การอภิปรายเรื่อง จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน และแบ่งกลุ่มระดมความคิดออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มสวัสดิการสมาชิก กลุ่มเครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มศึกษาและพัฒนาต่อเนื่อง และ กลุ่มมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตลอดจนมีการร่วมหารือถึงรายละเอียดในการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ที่จะเกิดขึ้นภายในอีก 2 เดือนข้างหน้าด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ