นายเสริมสกุล พจนการุณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพะเยา เปิดเผยว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2557 กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานในสาขาอาชีพ ตำแหน่งงาน หรือลักษณะงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะ หรือต้องใช้ผู้มีความรู้ความสามารถตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ต้องได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถจึงจะทำงานได้ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และผู้จ้างงานผู้ไม่มีหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท ขณะนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ประกาศเพียงสาขาเดียว คือ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ซึ่งเหตุผลความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัติ คือ ลดความเสียหายจากผู้ประกอบอาชีพที่ไม่มีความชำนาญในการทำงาน เน้นความปลอดภัยสาธารณะ สังคมได้รับความคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การประเมินเพื่อขอหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก ความรู้ความสามารถ ทักษะฝีมือ ทัศนคติในการทำงาน (50%) ใช้ผลการผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1 ส่วนที่ 2 ประสบการณ์ (25%) ด้านการประกอบอาชีพ การศึกษา การฝึกอบรม/สัมมนา และส่วนที่ 3 คุณลักษณะส่วนบุคคลที่แสดงถึงศักยภาพในการประกอบอาชีพหรือการทำงาน (25%) โดยการสัมภาษณ์ ซึ่งหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ มีอายุ 5 ปี นอกจากนี้ ผู้ผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1 จะได้รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ อัตราวันละ 400 บาทด้วย ดังนั้น สำนักงานฯ จึงได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเร่งรัดการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 1 ให้กับช่างไฟฟ้าที่ยังไม่ผ่านมาตรฐานฝีมือฯ และเร่งประเมินความรู้ความสามารถให้กับช่างไฟฟ้าผู้ผ่านมาตรฐานฝีมือฯ ระดับ 1 แล้ว อันจะส่งผลให้เกิดความปลอดภัยสาธารณะอย่างยั่งยืน ตามนโยบายเร่งด่วน 13 ข้อของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานข้อ 11 ขับเคลื่อน Safety Thailand
- พ.ย. ๗๙๙๘ พัฒนาฝีมือพะเยาฝึกจักสานกระติบข้าวสีธรรมชาติให้ผู้สูงอายุเป็นสินค้าประจำชุมชน
- ๑๖ พ.ย. TTC ร่วมปลูกป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
- ๑๖ พ.ย. กรมอนามัย แจงเหตุชาวปางหมูร้องเรียนเหม็นกลิ่นยางมะตอย เร่งลงพื้นที่ดูแลประชาชน
- ๑๖ พ.ย. วว.ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ อบรมเชิงปฏิบัติการ "การผลิตภาชนะรักษ์โลกจากเยื่อกล้วย"