ผลสำรวจพบเด็กไทยชอบใช้โทรศัพท์มือถือ/ดูทีวี/วีซีดี มากกว่าอ่านหนังสือ สสส.ห่วงเยาวชนไม่รักการอ่าน จัดงานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน

พฤหัส ๐๖ กรกฎาคม ๒๐๐๖ ๑๗:๕๗
กรุงเทพฯ--6 ก.ค.--สสส.
เมื่อวันที่ 6 ก.ค. เวลา 16.30 น. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ....ผศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์ และสื่อสาธารณะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า การจัดงาน "เทศกาลหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 4" ซึ่งทาง สสส.ร่วมกับ สมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย จัดงานขึ้นเพื่อเป็นการรณรงค์และส่งเสริมการให้เยาวชนรักการอ่านเพื่อช่วยในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน ภายในงานมีหนังสำหรับเยาวชน และกิจกรรมต่างๆ มากมาย ระหว่างวันที่ 6-11 กรกฎาคม 2549 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ภายในงานมีการนำผลวิจัยเอแบคโพลล์ ที่สำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเยาวชน พบว่า เยาวชนชอบคุยโทรศัพท์มือถือ มากกว่าอ่านหนังสือ จากผลการสำรวจ "โครงการพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเยาวชน : กรณีศึกษาตัวอย่างเยาวชนที่มีอายุ 13-23 ปีทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ชลบุรี ขอนแก่น และสงขลา" ครั้งนี้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 5 มีนาคม 2549 โดยมีขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 4,920 ตัวอย่าง การสำรวจในครั้งนี้ได้ทำการสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างเยาวชน แบ่งเป็นเพศของเยาวชนที่เป็นชาย คิดเป็นร้อยละ 50.6 และเป็นหญิงจำนวนร้อยละ 49.4 ในกลุ่มตัวอย่างซึ่งมีอายุ 12-23 ปี มีสัดส่วนแบ่งตามอายุ พบว่า ช่วงอายุ 12-14 ปี คิดเป็นร้อยละ 23.1 ช่วงอายุ 15-17 ปี คิดเป็นร้อยละ 24.6 และช่วงอายุ 18-23 ปี คิดเป็นร้อยละ 52.3
ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีทั้งผู้ที่กำลังศึกษาอยู่คิดเป็นร้อยละ 82.7 และผู้ที่ไม่ได้ศึกษา คิดเป็นร้อยละ 17.3 ในส่วนของผู้ที่กำลังศึกษาอยู่นั้นมีตั้งแต่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่าจนถึงระดับปริญญาตรี โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาต้อนต้น/ต่ำกว่า คิดเป็นร้อยละ 39.4 รองลงมาเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 28.7 เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย / ป.ว.ช. คิดเป็นร้อยละ 27.6 และผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญา คิดเป็นร้อยละ 4.4
จากการสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเด็กและเยาวชนโดยภาพรวม พบว่า เด็กและเยาวชนที่มีอายุ 12-23 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้อ่านหนังสือถึงร้อยละ 91.0 และเป็นผู้ไม่อ่านหนังสือเพียงร้อยละ 9.0 จำแนกพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเด็กและเยาวชนออกตามพื้นที่ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล และกรุงเทพมหานคร พบว่า มีพฤติกรรมการอ่านหนังสือที่สอดคล้องกันในแต่ละพื้นที่คือเป็นผู้อ่านหนังสือคิดเป็นร้อยละ 93.1 ร้อยละ 91.0 และร้อยละ 90.2 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงช่วงอายุของเยาวชนต่อพฤติกรรมการอ่านหนังสือ พบว่า ช่วงอายุที่เยาวชนอ่านหนังสือมากที่สุดคือช่วงอายุ 12-14 ปี คิดเป็นร้อยละ 92.8 รองลงมาคือช่วงอายุ 18-23 ปี ร้อยละ 90.8 และช่วงอายุที่อ่านหนังสือน้อยสุดคือช่วง 15-17 ปี ร้อยละ 89.8
เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกชอบอ่านหนังสือนั้น โดยภาพรวม พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.5 ระบุชอบอ่านหนังสือ และเริ่มต้นอ่านหนังสือเมื่ออายุ 5 ปี และเฉพาะเยาวชนที่ชอบอ่านหนังสืออายุเริ่มต้นที่ชอบอ่านฯ เฉลี่ยอยู่ที่อายุ 10-18 ปี โดยตัวอย่างร้อยละ 6.3 ระบุชอบอ่านหนังสือในช่วงอายุ 2-5 ปี ร้อยละ 60.8 ระบุชอบอ่านหนังสือในช่วงอายุ 6-11 ปี ร้อยละ 19.4 ระบุชอบอ่านหนังสือในช่วงอายุ 12-14 ปี ร้อยละ 11.0 ระบุชอบอ่านหนังสือในช่วงอายุ 15-17 ปี และร้อยละ 2.5 ระบุชอบอ่านหนังสือในช่วงอายุ 18 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามมีเพียงร้อยละ 18.5 ที่ระบุว่าไม่ชอบอ่านหนังสือ โดยให้เหตุผลที่สำคัญคือ รู้สึกขี้เกียจ รู้สึกเบื่อ/ไม่สนุก และไม่มีเวลาว่าง
สำหรับกลุ่มคนใกล้ตัวของตัวอย่างที่ชอบอ่านหนังสือ โดยภาพรวม พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.8 ระบุเป็นเพื่อน/คนรู้จัก รองลงมาคือ ร้อยละ 51.1 ระบุเป็นพี่/น้อง/ญาติ ร้อยละ 39.4 ระบุพ่อ/แม่ และร้อยละ 28.6 ระบุเป็นครู/อาจารย์ ตามลำดับ อย่างไรก็ตามมีกลุ่มตัวอย่างเพียงส่วนน้อยหรือร้อยละ 2.6 ระบุไม่มีใครชอบอ่านหนังสือเลย
เมื่อทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการใช้เวลาในการอ่านหนังสือ โดยภาพพบว่า ตัวอย่างใช้เวลาในการอ่านหนังสือเรียน โดยเฉลี่ยประมาณ 1 ชั่วโมง 37 นาทีต่อวัน แล้วใช้เวลาในการอ่านหนังสืออ่านเล่น/พ็อกเก็ต โดยเฉลี่ยประมาณ 1 ชั่วโมง 36 นาทีต่อวัน จากผลสำรวจจะเห็นได้ว่าเยาวชนใช้เวลาในการอ่านหนังสือเรียนกับหนังสืออ่านเล่น/พ็อกเก็ตบุค มีความใกล้เคียงกัน
สำหรับช่วงอายุ 12-14 ปี พบว่า ตัวอย่างใช้เวลาในการอ่านหนังสือเรียน โดยเฉลี่ยประมาณ 1 ชั่วโมง 28 นาทีต่อวัน แล้วใช้เวลาในการอ่านหนังสืออ่านเล่น/พ็อกเก็ต โดยเฉลี่ยประมาณ 1 ชั่วโมง 28 นาทีต่อวัน
ช่วงอายุ 15-17 ปี พบว่า ตัวอย่างใช้เวลาในการอ่านหนังสือเรียน โดยเฉลี่ยประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาทีต่อวัน แล้วใช้เวลาในการอ่านหนังสืออ่านเล่น/พ็อกเก็ต โดยเฉลี่ยประมาณ 1 ชั่วโมง 37 นาทีต่อวัน
ช่วงอายุ 18-23 ปี พบว่า ตัวอย่างใช้เวลาในการอ่านหนังสือเรียน โดยเฉลี่ยประมาณ 1 ชั่วโมง 46 นาทีต่อวัน แล้วใช้เวลาในการอ่านหนังสืออ่านเล่น/พ็อกเก็ต โดยเฉลี่ยประมาณ 1 ชั่วโมง 39 นาทีต่อวัน ดังนั้น จากผลการสำรวจจะเห็นได้ว่าเยาวชนในทุกๆ ช่วงอายุมีพฤติกรรมการอ่านหนังสืออ่านเล่น/พ็อกเก็ตใกล้เคียงกันกับการอ่านหนังสือเรียน
นอกจากนี้เยาวชนทุกช่วงอายุ และในพื้นที่เขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล และกรุงเทพมหานคร มักใช้เวลาอ่านหนังสือในวันที่มีเรียนหรือวันทำงานโดยระบุว่าจะอ่านเมื่อมีเวลาว่าง คิดเป็นร้อยละ 76.2 รองลงมาคือร้อยละ 38.2 ระบุก่อนเข้านอน ร้อยละ 19.9 ระบุหลังเลิกเรียน-เลิกงาน ร้อยละ 10.5 ระบุขณะเดินทางไป-กลับจากโรงเรียนหรือที่ทำงาน และร้อยละ 8.3 ระบุหลังตื่นนอนตอนเช้า ตามลำดับ
ในขณะเดียวกันช่วงเวลาที่กลุ่มตัวอย่างมักใช้อ่านหนังสือมากที่สุดในวันหยุดพบว่ามีความสอดคล้องกันกับวันที่มีเรียนหรือวันทำงานคือ ร้อยละ 78.7 ระบุอ่านเมื่อมีเวลาว่าง รองลงมาคือร้อยละ 29.1 ระบุอ่านก่อนเข้านอน ร้อยละ 13.0 ระบุอ่านหลังเลิกเรียนพิเศษ-กิจกรรมพิเศษ ร้อยละ 10.4 ระบุอ่านขณะเดินทาง และร้อยละ 9.7 ระบุอ่านหลังตื่นนอนตอนเช้า ตามลำดับ
จากการสำรวจความถี่ของการอ่านหนังสือเรียน/ตำราเรียนใน 1 สัปดาห์ของกลุ่มตัวอย่างในทุกช่วงอายุ และทุกพื้นที่ที่ทำการสำรวจ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 34.9 ระบุอ่านสัปดาห์ละ 1-2 วัน ร้อยละ 22.5 ระบุอ่านสัปดาห์ละ 3-4 วัน ร้อยละ 11.8 ระบุอ่านทุกวัน ร้อยละ 11.3 ระบุอ่านน้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และร้อยละ 11.0 ระบุอ่านสัปดาห์ละ 5-6 วัน ตามลำดับ
เยาวชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 65.5 ระบุดูโทรทัศน์/วีซีดี มากกว่าอ่านหนังสือ ในขณะที่ร้อยละ 20.4 ระบุพอๆ กัน และร้อยละ 14.1 ดูโทรทัศน์/วีซีดี มากกว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อให้เปรียบเทียบการฟังวิทยุกับการอ่านหนังสือ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 45.0 ตอบได้ว่า ฟังวิทยุมากกว่าร้อยละ 31.8 อ่านหนังสือมากกว่า และร้อยละ 23.2 ระบุว่าพอๆ กัน เมื่อให้เปรียบเทียบการเล่นอินเทอร์เน็ตกับการอ่านหนังสือ พบว่า กลุ่มตัวอย่างระบุการเลือกทำกิจกรรมทั้งสองมีความใกล้เคียงกันอย่างมาก คือ ร้อยละ 25.2 ระบุว่าพอๆ กัน เมื่อให้เปรียบเทียบการเล่นเกมออนไลน์กับการอ่านหนังสือ พบว่า ร้อยละ 46.0 เล่นกีฬามากกว่า ร้อยละ 33.4 อ่านหนังสือมากกว่า และร้อยละ 20.5 ระบุว่าพอๆ กัน เมื่อให้เปรียบเทียบการเล่นดนตรีกับการอ่านหนังสือ พบว่า ร้อยละ 52.9 อ่านหนังสือมากกว่า ร้อยละ 24.9 เล่นดนตรีมากกว่า และร้อยละ 22.2 ระบุว่าพอๆ กัน เมื่อเปรียบเทียบการเดินห้างสรรพสินค้ากับการอ่านหนังสือ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.2 อ่านหนังสือมากกว่า ร้อยละ 35.1 เดินห้างสรรพสินค้ามากกว่า และร้อยละ 22.7 ระบุว่าพอๆ กัน เมื่อเปรียบเทียบการคุยโทรศัพท์กับการอ่านหนังสือ พบว่า ร้อยละ 43.3 คุยโทรศัพท์มากกว่า ร้อยละ 35.6 อ่านหนังสือมากกว่า และร้อยละ 21.1 ระบุพอๆ กัน และเมื่อเปรียบเทียบการดูภาพยนตรในโรงภาพยนตร์กับการอ่านหนังสือ พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.9 อ่านหนังสือมากกว่า ร้อยละ 25.3 ดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์มากกว่า และร้อยละ 22.8 ระบุพอๆ กัน
นอกจากนี้จากการสำรวจเกี่ยวกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า เยาวชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 56.8 ระบุว่ารู้จัก สสส. เมื่อสอบถามความคิดเห็นของเยาวชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 51.1 เห็นว่า สสส.ควรมีบทบาทในการรณรงค์ให้เยาวชนรักการอ่านในด้านจัดกิจกรรมรณรงค์เรื่องการอ่านหนังสือให้มากขึ้นมากที่สุด รองลงมาคือร้อยละ 35.7 เห็นว่าควรบริจารหนังสือให้กับเด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาส และร้อยละ 31.7 ควรประชาสัมพันธ์/แนะนำหนังสือที่ดีให้เยาวชนได้อ่าน ตามลำดับ
นอกจากนี้ภายในงาน "เทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน" ยังมีกิจกรรมสำหรับเด็กๆ ได้ร่วมเรียนรู้อีกมากมาย อาทิ บ้านของพ่อ ที่รวบรวมกิจกรรม 60 ปี 60 ล้านความดี ถวายในหลวง มาให้เด็กๆ ได้เรียนรู้, เด็กๆ จากเหตุการณ์สึนามิ และ บ้านลับแล จะมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ "ห้องเรียนสึนามิ", มุมบ้านนักประดิษฐ์ เป็นมุมที่น่าจะได้รับความสนใจจากเด็กๆ เป็นจำนวนมาก ด้วยการให้เด็กได้ร่วมประดิษฐ์เครื่องบินด้วยตนเอง เมื่อนำมอเตอร์มาใส่จะสามารถบินได้, โชว์ผลงานของเยาวชน อาทิ ปลั๊กไฟไร้สาย ช่วยป้องกันไฟดูด, เครื่องดักฝุ่นอัจฉริยะ ซึ่งสามารถแสดงผลได้ว่าบริเวณที่เครื่องนี้ตั้งอยู่มีฝุ่นเท่าใดเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ รวมทั้งการเสวนาในหัวข้อที่น่าสนใจ "ยุทธศาสตร์...เส้นทางหนังสือ สู่มือเด็ก" และมีการแจกหนังสือ "คำพ่อสอน" ซึ่งเป็นหนังสือที่ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับความสุขในการดำเนินชีวิต ที่ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำมาแจกฟรี! ให้กับประชาชนที่เข้าร่วมงาน เทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมในบูธของ สสส. ซึ่งเป็นมุมหมู่บ้านสร้างเสริมสุขภาพ จะได้รับหนังสือ "คำพ่อสอน" ฟรี! วันละ 500 เล่ม โดยไม่มีการวางจำหน่าย จัดพิมพ์ขึ้นในวาระพิเศษสำหรับแจกในงานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชนเท่านั้น ประชาชนสนใจขอรับหนังสือได้ระหว่างวันที่ 6-11 ก.ค.นี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
คุณจีรนันท์ มีผา โทร. 06-392-5335, 01-309-3789

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version