คณะสื่อสารฯ ราชมงคลพระนคร จัดสัมมนาการสร้างแบรนด์

จันทร์ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๖:๑๕
สาขาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จัดโครงการสัมมนาวิชาชีพ ในวันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 ตั้งแต่เวลา 12.30 – 15.30 ณ ห้อง 1101 ชั้น 1 อาคารสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์เทเวศร์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเกิดความเข้าใจในการสร้างตราสินค้า ด้วยเนื้อหาออนไลน์

นายอรรถการ สัตยพาณิชย์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เปิดเผยว่า ทางคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้สื่อออนไลน์ โดยเฉพาะการสร้างคอนเทนต์เพื่อดึงดูดใจผู้อ่านจึงเป็นสิ่งสำคัญ จึงจัดโครงการสัมมนาวิชาชีพในการทำ Content Online โดยได้รับเกียรติจาก คุณชาติฉกาจ ไวกวี เจ้าของบริษัท ไวกวี จำกัด และเป็นผู้ก่อตั้งแบรนด์ Truly มาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อีกทั้งยังบอกเล่าถึงประสบการณ์การทำ Content Online ให้ประสบความสำเร็จ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ขอเชิญชวนทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา "โฆษ CONTEN" ในวันและเวลาดังกล่าว ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร http://www.rmutp.ac.th หรือ โทร. 088-016-9039

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ