PM2.5 ฝุ่นจิ๋ว ที่ไม่จิ๋วกับผลกระทบทางสมอง

พุธ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๔:๑๕
มลพิษทางอากาศ ทำลายร่างกายมนุษย์เราได้หลายระบบ โดยเฉพาะในเมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่น ระบบคมนาคมขนส่งที่คับคั่ง รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดมลภาวะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ และอวัยวะที่สำคัญอย่าง "สมอง" อีกด้วย

เรืออากาศโท นพ.กีรติกร ว่องไววาณิชย์ อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ในยุคปัจจุบันคงไม่มีใครไม่รู้จักฝุ่นขนาดจิ๋วที่เรียกว่า PM 2.5 ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมประมาณ 20 - 30 เท่า ฝุ่น PM2.5 นี้ไม่ใช่เป็นมลพิษทางอากาศชนิดเดียวที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่ยังมีก๊าซพิษอีกหลายอย่าง เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ รวมทั้งโลหะหนักที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศที่เราหายใจอีกด้วย ทั้งนี้ ซึ่งปัญหาของมลพิษทางอากาศไม่ได้มีเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น แต่ยังพบได้ตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก และมากกว่า 90% ของประชากรทั่วโลกก็ได้รับมลพิษทางอากาศที่เกินค่ามาตรฐานเช่นกัน ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพกระจายเป็นวงกว้าง จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ในทุกปีมีประชากรถึง 7 ล้านคนที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากการได้รับมลพิษทางอากาศ ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ และ โรคสมอง

ทั้งนี้ ฝุ่น PM 2.5 สามารถซึมผ่านเข้าสู่เส้นเลือด รวมทั้งผ่านเข้าทางเส้นประสาทการรับกลิ่นที่อยู่ในโพรงจมูก และผ่านเข้าไปยังสมองได้โดยตรง ซึ่งจะทำให้เกิดกระบวนการอักเสบในสมอง มีการหลั่งสารอักเสบชนิดต่างๆ ที่ทำให้เซลล์สมองได้รับบาดเจ็บ เกิดภาวะสมองเสื่อมเร็วกว่าปกติ รวมทั้งพบว่าทำให้เกิดการก่อตัวของก้อนโปรตีนที่ผิดปกติในสมอง ที่มีลักษณะคล้ายกับคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคพาร์กินสัน และยังทำให้สมองส่วนเนื้อขาว (White Matter) มีการฝ่อเหี่ยวมากกว่าคนปกติอีกด้วย

ในเด็กก็เช่นกัน มีหลายงานวิจัยที่ยืนยันถึงความสัมพันธ์ของ PM 2.5 ต่อความผิดปกติทางด้านพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก อาทิ มีสติปัญญาด้อยลง การพัฒนาการช้าลง มีปัญหาด้านการได้ยินและการพูด รวมทั้งยังมีผลทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้น และภาวะออทิซึม เพิ่มมากขึ้นถึง 68% สำหรับในผู้ใหญ่พบว่า การได้รับฝุ่น PM 2.5 ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์เพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่า และทำให้เกิดโรคพาร์กินสันเพิ่มได้ถึง 34% เกิดความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดสมอง (Stroke) เพิ่มขึ้น โดยระดับ PM2.5 ที่เพิ่มขึ้นจะยิ่งเพิ่มระดับความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดสมอง โดยในกลุ่มคนที่เป็นโรคเส้นเลือดสมองอยู่แล้วหากได้รับ PM 2.5 ยังเป็นการเพิ่มอัตราการเสียชีวิตให้กับคนกลุ่มนี้อีกด้วย ที่สำคัญสำหรับคนรักสุขภาพถ้ายิ่งออกกำลังกายในสถานที่มีฝุ่น PM2.5สูงๆ ก็ยิ่งเกิดผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าได้ผลดี เพราะจะเพิ่มอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดสมองได้มากกว่า

การป้องกันฝุ่นจิ๋วที่ไม่จิ๋วต่อผลกระทบกับร่างกายเบื้องต้นที่ทำกันได้ง่ายในชีวิตประจำวัน คือ หลีกเลี่ยงเข้าไปในสถานที่ที่มีฝุ่นขนาดจิ๋วในปริมาณสูง ใช้เครื่องป้องกันอย่างเหมาะสม เช่น การใส่หน้ากากป้องกันฝุ่น และเลือกรับประทานผักและผลไม้(ในปริมาณที่มากกว่า 3.5 serving ต่อวัน) เพราะจะช่วยลดผลกระทบของฝุ่นจิ๋วต่อร่างกายได้ อันเนื่องมาจากสารต้านอนุมูลอิสระที่มีในผักและผลไม้ และให้ทุกคนหันมาตระหนักถึงการช่วยกันลดมลภาวะในอากาศ เพราะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพทั้งตัวเราเองและคนที่เรารัก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ