เทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยยับยั้งข้อครหาในวงการอาหาร ที่อาจสร้างวิกฤตให้แบรนด์

จันทร์ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๔:๓๔
บทความโดย นายพัสน์นันท์ จมูศรี

ผู้นำธุรกิจคลาวด์แพลตฟอร์ม บริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด

สินค้าที่ถูกเรียกคืนในอุตสาหกรรมอาหารมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นถึง 58% ในสหภาพยุโรป ซึ่งมากกว่าในสหรัฐฯ เกือบสองเท่า และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในเอเชีย เมื่อปีที่ผ่านมาเราได้เห็นเจ้าหน้าที่ของไทยสามารถกักกันและยึดแอปเปิ้ลที่ปนเปื้อนเชื้อลิสเทอเรียนไว้ ณ จุดกักกันและตรวจสินค้า และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขยังคงตรวจสอบสินค้าเกษตรที่เข้ามาจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์เช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าในปัจจุบันมีปัญหาเรื่องอาหารปนเปื้อนมากกว่าในอดีต แต่สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลทั่วโลกมีความเข้มงวดมากขึ้นในการตรวจสอบแหล่งที่มาของอาหาร กระบวนการผลิต และการบริโภค หน่วยงานกำกับดูแลกำลังตรวจสอบติดตามและเฝ้าระวังปัญหาเหล่านี้อย่างใกล้ชิด โดยมีการเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชน และจัดการให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงทีความพยายามที่จะตรวจสอบการดำเนินงานอย่างละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้นนี้ส่งผลให้ผู้ผลิตอาหารต้องหาหนทางที่จะปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น บล็อกเชน (Blockchain) ซึ่งรองรับการขุดและแลกเปลี่ยนบิตคอยน์ (Bitcoin) อย่างปลอดภัย โดยบล็อกเชนจะช่วยให้สามารถจัดทำบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้สำหรับการเคลื่อนย้ายและตรวจสอบย้อนกลับสินค้าต่างๆ รวมถึงสินค้าประเภทอาหาร และวัตถุดิบที่เป็นส่วนผสมในอาหาร ถ้าหากผู้ผลิตตรวจสอบได้อย่างง่ายดายว่าสินค้ามาจากที่ใด ก็จะสามารถแก้ปัญหาได้รวดเร็วมากขึ้น

ในการจัดการกับกรณีการปนเปื้อนของอาหาร ความรวดเร็วฉับไวคือสิ่งสำคัญที่สุดเพื่อความปลอดภัยของลูกค้า และเพื่อหลีกเลี่ยงการเรียกคืนสินค้าประเภทอาหารทั้งหมดซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ทั้งนี้ ลำพังเพียงแค่การเรียกคืนสินค้าโดยตรงก็อาจทำให้ผู้ผลิตต้องแบกรับความเสียหายโดยเฉลี่ย 10 ล้านดอลลาร์ และนั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้น การแพร่ระบาดหรือการปนเปื้อนที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างทันท่วงทีอาจลุกลามอย่างรวดเร็วจากข่าวอื้อฉาวเล็กๆ น้อยๆ ไปสู่วิกฤตการณ์ที่ทำลายชื่อเสียงของแบรนด์ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง

ยิ่งไปกว่านั้น ผลกระทบในระยะยาวต่อชื่อเสียงของบริษัทอาจสร้างความเสียหายมูลค่ามหาศาล โดยจากการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคกว่าหนึ่งในห้าระบุว่าตนเองจะเลิกซื้อสินค้าจากผู้ผลิตที่เคยมีปัญหาการเรียกคืนสินค้าการผลิตอาหารเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน โดยมีการจัดซื้อส่วนผสมจากที่ต่างๆ ทั่วโลกผ่านทางซัพพลายเออร์และบริษัทขนส่งสินค้า ในอดีตผู้ผลิตอาหารไม่สามารถตรวจสอบวัตถุดิบที่เป็นส่วนผสมทั้งหมดในซัพพลายเชนและแหล่งที่มาได้อย่างชัดเจน และดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบหาแหล่งที่มาของการปนเปื้อนด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้าไว้ในระบบจัดการซัพพลายเออร์ที่มีอยู่ รวมถึงเครือข่ายคู่ค้า บริษัทต่างๆ จะสามารถผนวกรวมเทคโนโลยีไว้ในระบบซัพพลายเชนได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว และช่วยให้สามารถแบ่งปันและดำเนินธุรกรรมที่ไว้ใจได้ร่วมกับซัพพลายเออร์และคู่ค้า และตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกขั้นตอนของกระบวนการได้รับการตรวจสอบติดตามและรับรองความถูกต้องภายใต้การอนุมัติของหน่วยงานภายนอก

สำหรับผู้ผลิตอาหาร การมีข้อมูลทั้งหมดนี้รวมอยู่ในที่เดียวจะช่วยให้สามารถระบุการปนเปื้อนและจัดการปัญหาได้รวดเร็วขึ้นอย่างมาก ก่อนที่จะส่งผลกระทบต่อลูกค้าเป็นวงกว้างเรียนรู้จากภายนอกสู่ภายในธุรกิจหนึ่งที่อาจเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการตรวจสอบติดตามก็คือ ธุรกิจขนส่งสินค้า ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับซัพพลายเชนด้านอาหาร โดยมีหลายภาคส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ผู้ให้บริการขนส่ง ตัวแทนผู้ส่งสินค้า สายเรือ คนขับรถบรรทุก ไปจนถึงหน่วยงานศุลกากร ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องทำงานร่วมกันผ่านกระบวนการที่ซับซ้อน ต้องดำเนินการโดยบุคลากร และเกี่ยวข้องกับเอกสารจำนวนมากเพื่อปรับปรุงกระบวนการดังกล่าว บริษัท CargoSmart ซึ่งเป็นผู้จัดหาโซลูชั่นซอฟต์แวร์ด้านการขนส่งสินค้าระดับโลก ได้จัดตั้งกลุ่มความร่วมมือ Global Shipping Business Network (GSBN) บนแพลตฟอร์มดิจิทัลแบบเปิดที่ใช้เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแบบ Distributed Ledger แพลตฟอร์มใหม่นี้จะสร้างดิจิทัลเบสไลน์ (Digital Baseline) ที่เชื่อมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสายเรือ ผู้ประกอบการท่า หน่วยงานศุลกากร บริษัทขนส่ง และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ เพื่อรองรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกัน และการปรับปรุงซัพพลายเชนโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล'ดิจิทัลเบสไลน์' นี้สามารถใช้อ้างอิงโดยฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบติดตามสถานะความคืบหน้าของสินค้าในทุกขั้นตอนของการจัดส่ง แพลตฟอร์มดังกล่าวจะช่วยให้ฝ่ายต่างๆ ประสานงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพิ่มความรวดเร็วในการจัดทำเอกสารและลดปัญหาข้อขัดแย้ง และที่สำคัญก็คือ จะช่วยให้สามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงทีในกรณีที่เกิดปัญหาหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน สำหรับธุรกิจการขนส่งสินค้า ภัยพิบัติทางธรรมชาติอาจทำให้การดำเนินงานต้องหยุดชะงักลง เช่น กรณีของพายุเฮอริเคนฟลอเรนซ์ และซูเปอร์ไต้ฝุ่นมังคุด และในส่วนของธุรกิจอาหาร การเรียกคืนสินค้าหลังจากที่ตรวจพบการปนเปื้อนอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินงานด้วยเหตุนี้ การประยุกต์ใช้งานอย่างแรกสุดที่เกิดขึ้นก็คือ การใช้โซลูชั่นบล็อกเชนเพื่อการจัดทำเอกสารด้านการขนส่งสินค้า เพื่อปรับปรุงกระบวนการซัพพลายเชนที่ซับซ้อน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลเวอร์ชั่นเดียวกันที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้สำหรับการจัดการเอกสารด้านการขนส่งสินค้า

ความน่าเชื่อถือและความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับในลักษณะเช่นนี้มีความสำคัญอย่างมากต่ออุตสาหกรรมโดยรวม และมีความสำคัญมากเป็นพิเศษในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านอาหาร เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่สูงมาก กลุ่มความร่วมมือ Food Safety Consortium ระบุว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีประโยชน์มากที่สุดสำหรับผู้ผลิตที่ต้องการรับประกันเรื่องความปลอดภัยของอาหาร และเราแน่ใจว่าบริษัทด้านเทคโนโลยีที่เดินตามรอย CargoSmart จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การตรวจสอบเกี่ยวกับการเรียกคืนสินค้ามีความเข้มงวดมากขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคมีความสนใจเกี่ยวกับแหล่งที่มาของสินค้ามากขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความโปร่งใสให้กับระบบซัพพลายเชนมากขึ้นเช่นกัน โดยหลักแล้ว บล็อกเชนเป็นระบบตรวจสอบติดตามที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และจะช่วยเสริมสร้างกระบวนการผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน ทั้งผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายสามารถผสานรวมเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้าไว้ในระบบซัพพลายเชนที่มีอยู่ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะช่วยรองรับการดำเนินงานที่ราบรื่นในอนาคต ด้วยการคุ้มครองลูกค้าให้ปลอดภัยและป้องกันไม่ให้ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ลุกลามกลายเป็นเรื่องใหญ่โตที่สร้างความเสียหายอย่างมาก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ