สยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ เผย “ประชาชน 70.59% ค้านการเสนอให้สถานศึกษาห้ามนักเรียนแต่งชุดไปรเวตเข้าเรียนเลย”

จันทร์ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๕:๓๐
ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโสสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (STC) เปิดเผยผลการสำรวจ "ความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปต่อการอนุญาตให้นักเรียนนักศึกษาสวมชุดไปรเวตเข้าเรียนในสถานศึกษา" สำรวจระหว่างวันที่ 17 ถึง 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,190 คน

ในช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาได้ปรากฏข่าวโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครทดลองอนุญาตให้นักเรียนแต่งชุดไปรเวตมาเข้าเรียนทุกวันอังคาร เพื่อเป็นการลดบรรยากาศความเครียดและสร้างความผ่อนคลายระหว่างชั่วโมงเรียนให้กับนักเรียน ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้นักเรียนรู้สึกมีความสุขกับการเรียนมากขึ้น โดยมีระยะเวลาทดลองไปจนถึงสิ้นสุดภาคเรียน ทั้งนี้ข่าวดังกล่าวได้กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันเป็นวงกว้างในสังคมทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผู้คนที่เห็นด้วยส่วนหนึ่งระบุว่าจะทำให้ผู้ปกครองลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องแบบนักเรียนทุกปีและสามารถลดปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างสถาบันได้ แต่ผู้คนอีกส่วนหนึ่งก็คัดค้านว่าอาจเป็นการสร้างความรู้สึกเหลื่อมล้ำระหว่างนักเรียนในประเด็นการแต่งกาย แต่อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยก็มีสถานศึกษาของเอกชนหลายแห่งที่อนุญาตให้นักเรียนนักศึกษาแต่งชุดไปรเวตมาเข้าเรียนในบางระดับชั้นแล้ว จากประเด็นดังกล่าว สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปต่อการอนุญาตให้นักเรียนนักศึกษาสวมชุดไปรเวตเข้าเรียนในสถานศึกษา

จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป แบ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.67 เพศชายร้อยละ 49.33 สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ในด้านความคิดเห็นต่อการอนุญาตให้นักเรียนนักศึกษาสามารถสวมชุดไปรเวตเข้าเรียนในสถานศึกษานั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 69.24 มีความคิดเห็นว่าการอนุญาตให้นักเรียนนักศึกษาสามารถสวมชุดไปรเวตเข้าเรียนในสถานศึกษาได้จะไม่มีส่วนทำให้นักเรียนนักศึกษาเกิดความรู้สึกเหลื่อมล้ำ/ความรู้สึกไม่เท่าเทียม/เกิดปมด้อยขึ้นได้ ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.61 มีความคิดเห็นว่าจะมีส่วนช่วยลดปัญหาการทะเลาะวิวาท/ทำร้ายร่างกายกันระหว่างสถาบันลงได้ นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างเกือบสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 65.63 มีความคิดเห็นว่าจะมีส่วนช่วยลดความเครียด/ความกดดันในการเรียนในสถานศึกษาลงได้ ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 64.71 มีความคิดเห็นว่าจไม่ส่งผลให้นักเรียนนักศึกษารู้สึกผูกพันกับสถานศึกษาลดน้อยลง

อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 58.32 มีความคิดเห็นว่าการอนุญาตให้นักเรียนนักศึกษาสามารถสวมชุดไปรเวตเข้าเรียนในสถานศึกษาได้จะมีส่วนทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60.17 ยอมรับว่าตนเองรู้สึกกังวลว่าการอนุญาตให้นักเรียนนักศึกษาสามารถสวมชุดไปรเวตเข้าเรียนในสถานศึกษาได้จะทำให้นักเรียนนักศึกษามีพฤติกรรมหนีเรียนมากขึ้น

สำหรับความคิดเห็นต่อการอนุญาตให้นักเรียนนักศึกษาสวมชุดไปรเวตเข้าเรียนในสถานศึกษาหรือไม่นั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 31.26 เห็นด้วยหากมีการอนุญาตให้นักเรียนนักศึกษาสามารถสวมชุดไปรเวตเข้าเรียนในสถานศึกษาได้สัปดาห์ละ 1 ถึง 2 วัน ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 19.58 เห็นด้วยหากมีการอนุญาตให้สวมได้สัปดาห์ละ 3 ถึง 4 วัน ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 10.84 เห็นด้วยหากมีการอนุญาตให้สวมได้ทุกวันยกเว้นวันสอบหรือวันที่มีกิจกรรมและพิธีการสำคัญ โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 17.65 เห็นด้วยหากมีการอนุญาตให้สวมได้ทุกวัน แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20.67 ไม่เห็นด้วยเลย

ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 61.34 เห็นด้วยว่าการกำหนดให้นักเรียนนักศึกษาต้องสวมเครื่องแบบประจำสถานศึกษาจะช่วยฝึกให้นักเรียนนักศึกษามีระเบียบวินัยเพิ่มมากขึ้นได้ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30.17 ไม่เห็นด้วย ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 8.49 ไม่แน่ใจ ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 77.31 ไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้ยกเลิกการแต่งเครื่องแบบนักเรียนนักศึกษาไปเลย ในทางกลับกัน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.59 ไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้ยกเลิกการอนุญาตให้นักเรียนนักศึกษาสามารถสวมชุดไปรเวตเข้าเรียนในสถานศึกษาได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ