“ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ” ร่วมขับเคลื่อนความสัมพันธ์ นำขบวน “ฮาลาลไทย” สะพานเชื่อมสัมพันธ์ ไทย-ซาอุฯ

จันทร์ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๕:๕๗
นับเป็นสัญญาณอันดีที่ฮาลาลไทยแสดงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างไทย กับซาอุดิอารเบียให้ดีขึ้น หลังจากที่ห่างเหินกันมากกว่า 30 ปี ส่งผลดีทั้งการทูต ด้านเศรษฐกิจ ด้านการค้า การท่องเที่ยว รวมถึงการส่งออกแรงงานคุณภาพของไทยสู่ซาอุดิอารเบียอีกด้วย

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นับเป็นสัญญาณการอันดีที่ความสัมพันธ์อันเป็นปรกติของไทย กับซาอุฯ จะกับมารื้อฟื้นขึ้น หลังจากที่ห่างเหินมาเนินนานกว่า 30 ปี และส่วนสำคัญที่เป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ในครั้งนี้ต้องยกผลประโยชน์อย่างสูงให้กับ "ฮาลาลไทย" ซึ่งความสัมพันธ์ครั้งนี้เริ่มต้นจากที่การประชุมวิชาการและการแสดงสินค้านานาชาติ"Thailand Halal Assembly 2518" ได้จัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยผู้แทนจากซาอุดิอารเบีย ดร.อับดุลเราะฮมาน อับดุลเลาะฮมุฮัมมัด อัลซาอิด ผู้แทนซาอุฯจาก องค์กรสันนิบาตมุสลิมโลก Muslim World League-MWL หรือ รอบิเฏาะฮ ได้เดินทางมาเยี่ยมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ รวมถึงเข้าร่วมงาน THA 2018 โดยสิ่งหนึ่งที่ท่านให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง คือ ความสัมพันธ์อันเป็นปรกติระหว่างประเทศไทยกับประเทศซาอุดิอารเบีย โดยเน้นย้ำในเรื่องของการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหาร รวมถึงผลิตภัณฑ์ฮาลาลจากประเทศไทยไปสู่ประเทศซาอุดิอารเบียจะมีความสะดวกมากขึ้น ซึ่งเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ทางซาอุดิอารเบียก็ได้มีการผ่อนปรนในการทำงานต่อประเทศไทย รวมถึงยังได้มีนักธุรกิจจากประเทศซาอุดิอารเบีย จำนวน 6 กลุ่มได้เดินทางมาที่ประเทศไทย ซึ่งแต่ก่อนที่ผ่านมาการเดินทางระหว่างคนไทยกับคนซาอุดิอารเบียนั้นมีอุปสรรคมาโดยตลอด จึงนับได้ว่าเป็นมิติใหม่ที่น่ายินดีมาก

และ ดร.มูฮัมหมัด บิน อับดุลคารีม อัลอิซซา เลขาธิการทั่วไปของสมาคมมุสลิมโลก ยังได้เสริมอีกว่าทางซาอุดิอารเบียได้สนใจในด้านฮาลาลเป็นอย่างมาก โดยทางรัฐบาลซาอุดิอารเบียจะให้ Muslim world league หรือสำนักเลขาธิการองค์การสันนิบาตโลกมุสลิม ได้เป็นผู้แทนจากรัฐบาลซาอุดิอารเบียในการดำเนินการในเรื่องของฮาลาล ซึ่งประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศระดับนำในการส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลไปยังประเทศซาอุดิอารเบีย เพราะไทยเราได้ใช้หลักการของ "วิทยาศาสตร์" ในการตรวจสอบ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เชื่อถือได้อย่างแน่นอน และนอกจากนี้ทางรัฐบาลซาอุดิอารเบียก็มีเป้าประสงค์ที่จะมีความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลกับประเทศไทย

นอกจากนี้ ดร.อับดุลเราะฮมาน อับดุลเลาะฮมุฮัมมัด อัลซาอิด ยังได้เดินทางมาเยี่ยมชมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และชื่นชมถึงการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ฮาลาลของไทย และเชื่อมั่นว่าไทยจะเป็นต้นแบบในการวางรากฐานด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลให้กับประเทศซาอุดิอารเบียได้เป็นอย่างดี ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นการเริ่มต้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับซาอุดิอารเบียที่จะดีขึ้นตามลำดับอย่างแน่นอนรศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน กล่าวปิดท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ