กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เดินหน้า ประชาสัมพันธ์และเตือนภัยด้านการท่องเที่ยว สร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยว พร้อมเปิดศูนย์ประสานงานช่วยเหลือนักท่องเที่ยวครบ 4 ภาค

พุธ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๓:๕๖
นายสันติ ป่าหวาย รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานเปิดโครงการประชาสัมพันธ์และเตือนภัยด้านการท่องเที่ยว พร้อมกล่าวว่า "การท่องเที่ยว" เป็นอุตสาหกรรมภาคบริการที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยในปี 2561 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย จำนวน 38.28 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 คิดเป็นร้อยละ 7.54 โดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ ลาว และญี่ปุ่น ในปี 2561 ภาคการท่องเที่ยวสร้างรายได้รวมกว่า 3.08 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 9.04 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 18.13 ของผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (GDP) โดยประเทศที่สร้างรายได้มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน รัสเซีย มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ นอกจากนี้ภาคการท่องเที่ยวยังสร้างการจ้างงานกว่า 4.38 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 11.59 ของการจ้างงานของประเทศ ดังนั้น การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนนักท่องเที่ยวทำให้ภาครัฐต้องให้ความสำคัญในด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว จำนวน 17 ศูนย์ และศูนย์ประสานงานช่วยเหลือนักท่องเที่ยว อีกจำนวน 61 ศูนย์ มีบุคลากรปฏิบัติงานทั้งหมดจำนวน 260 คน

ทั้งนี้ในปี 2562 โครงการฯได้ยึดหลักแนวคิด "Your Safety is our Priority ท่านปลอดภัย เราหายห่วง" เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและทัศนคติอันดีต่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย และพร้อมลงพื้นที่จัดกิจกรรมเพื่อให้ข้อมูลเตือนภัยด้านการท่องเที่ยวและคำแนะนำในการป้องกันภัยจากการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยว รวมถึงการประชาสัมพันธ์ช่องทางการร้องเรียน ร้องทุกข์ ของกองมาตรฐานและกำกับความปลอดภัยนักท่องเที่ยว จำนวนทั้งสิ้น 12 จังหวัด ได้แก่

1. กรุงเทพมหานคร บริเวณตลาดนัดสวนจตุจักร

2. ภูเก็ต บริเวณหาดป่าตอง

3. กระบี่ เกาะพีพี

4. ชลบุรี เมืองพัทยา

5. พังงา บริเวณเขาหลัก

6. สุราษฎร์ธานี เกาะสมุย

7. เชียงใหม่ บริเวณถนนคนเดินประตูท่าแพ

8. เชียงราย อำเภอเมือง

9. ตรัง อำเภอเมือง

10. ตราด บริเวณท่าเรือเกาะช้าง

11. บุรีรัมย์ อำเภอเมือง

12. สงขลา อำเภอหาดใหญ่

นอกจากนี้ กองมาตรฐานและกำกับความปลอดภัยนักท่องเที่ยว ยังได้จัดทำคลิปวิดีโอประชาสัมพันธ์โดยมีเนื้อหาข้อมูลการเตือนภัย ด้านการท่องเที่ยว การให้คำแนะนำในการป้องกันภัยจากการท่องเที่ยว ช่องทางการร้องเรียน ร้องทุกข์ เมื่อนักท่องเที่ยวประสบภัยจากการท่องเที่ยว และการช่วยเหลือเยียวยานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยจัดทำเป็น 3 ภาษา ประกอบด้วย ภาษาไทย อังกฤษ และจีน และจะทำการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผ่านจอแสดงภาพ LED ภายในท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง พร้อมทั้งจัดทำคู่มือสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งที่นักท่องเที่ยวควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติ หรือ "Do's & Don't" ประกอบด้วย ภาษาอังกฤษ – ไทย และภาษาอังกฤษ – จีน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ความรู้ความเข้าใจอันดีระหว่างนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย

หากนักท่องเที่ยวต้องการร้องเรียนหรือขอความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่ Call Center (สุวรรณภูมิ) (66) 2134 4077 เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version