QS เผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชาประจำปี 2562

พุธ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๙ ๑๔:๐๙
QS Quacquarelli Symonds ผู้วิเคราะห์ข้อมูลสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก ได้เปิดเผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชา "QS World University Rankings by Subjects" ที่มีข้อมูลครบถ้วนที่สุด[1] โดยเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัย 1,222 แห่ง ใน 78 ประเทศ ใน 48 สาขาวิชา และ 5 กลุ่มวิชา ผลการจัดอันดับนี้ใช้ข้อมูลจากสถาบันวิชาการ 83,000 แห่งที่ให้ข้อมูลของบุคลากรกว่า 1.25 ล้านคน รวมถึงบริษัท 42,000 แห่งที่ให้ข้อมูลของพนักงาน 199,123 คน นอกจากนั้นยังมีการวิเคราะห์ข้อมูลอ้างอิง 150 ล้านข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ 22 ล้านฉบับ

(โลโก้: https://mma.prnewswire.com/media/702459/QS_World_University_Rankings_Logo.jpg )

ผลการค้นพบสำคัญ

- มหาวิทยาลัยสหรัฐอเมริการั้งอันดับหนึ่งใน 28 สาขาวิชาในปี 2562 ลดลงจาก 34 สาขาวิชาในปี 2561

- Harvard University ยังครองอันดับสูงสุด โดยรั้งอันดับหนึ่งใน 12 สาขาวิชา ตามมาด้วย MIT ที่รั้งอันดับหนึ่งใน 11 สาขาวิชา

- สวิตเซอร์แลนด์ขึ้นแท่นประเทศที่มีระบบอุดมศึกษาดีที่สุดเป็นอันดับสามของโลก เป็นรองแค่สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร โดย ETH Zurich ทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจ

- สหราชอาณาจักรยังคงทำผลงานได้ดีแม้เผชิญกับความไม่แน่นอนจากการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) โดยมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรรั้งอันดับหนึ่งใน 13 สาขาวิชา เพิ่มขึ้นจาก 10 สาขาวิชา และทำผลงานดีขึ้นในทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการวิจัย

- สิงคโปร์มีระบบอุดมศึกษาโดดเด่นที่สุดในเอเชีย โดยมีภาควิชาที่ติด 10 อันดับแรกในสาขาวิชาต่างๆ มากกว่าประเทศอื่นในเอเชียรวมกัน

- จีนมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีภาควิชาที่ติด 50 อันดับแรกในสาขาวิชาต่างๆ มากกว่าทุกปีที่ผ่านมา

- บราซิลสถานการณ์ไม่สู้ดีนัก โดยมีอันดับลดลงมากกว่าค่าเฉลี่ยของละตินอเมริกา

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามสาขาวิชาประจำปี 2562

รายชื่อ 10 ประเทศที่ติด 10 อันดับแรกในสาขาวิชาต่างๆ มากที่สุด

ประเทศ จำนวนภาควิชาที่ติด 10 อันดับแรก

สหรัฐอเมริกา 234

สหราชอาณาจักร 137

สวิตเซอร์แลนด์ 22

ออสเตรเลีย 18

แคนาดา 15

สิงคโปร์ 14

เนเธอร์แลนด์ 12

อิตาลี 6

จีนแผ่นดินใหญ่ 4

สวีเดน 4

(c) TopUniversities.com

คุณเบน โซวเทอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ QS กล่าวว่า "สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนในการจัดอันดับครั้งนี้คือ การถดถอยอย่างต่อเนื่องของผู้นำตารางอย่างสหรัฐอเมริกา โดยนับตั้งแต่ปี 2558 มีภาควิชาที่หลุดอันดับท็อปในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยไปถึง 10% และประเทศที่ได้ประโยชน์ที่สุดก็คือจีน ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร ขณะที่สหราชอาณาจักรยังคงทำผลงานได้ดีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยแม้ว่าจะถูกตัดงบประมาณไปเป็นจำนวนมากก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับว่าการวิจัยที่ทำร่วมกับสหภาพยุโรปมีส่วนสำคัญที่ทำให้สหราชอาณาจักรประสบความสำเร็จ"

มหาวิทยาลัยชั้นนำ จำนวนสาขาวิชาที่รั้งอันดับหนึ่ง

Harvard 12

MIT 11

Oxford 6

UCL 2

รายชื่อมหาวิทยาลัยที่รั้งอันดับหนึ่งใน 1 สาขาวิชา

British Columbia, Cambridge, Colorado School of Mines, Ecole Hoteliere de Lausanne, ETH Zurich, Julliard School, Karolinska Institute, LSE, Loughborough, Royal College of Art, Royal Veterinary College, La Sapienza, Stanford, University of Amsterdam, University of Music and Performing Arts Vienna, UPenn, Pittsburgh, Sussex, Wageningen

ระเบียบวิธีวิจัย: https://www.topuniversities.com/subject-rankings/methodology

[1] "ข้อมูลครบถ้วนที่สุด" หมายถึงข้อมูลจากแพลตฟอร์ม media monitoring อย่าง Meltwater ประกอบกับข้อมูลเชิงลึกจาก SimilarWeb, Alexa และ Google Analytics

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ