นายลักษณ์ กล่าวต่อไปว่า ในปี 2562 นี้ จึงคาดว่าจะมีแม่พันธุ์สุกร จำนวน 1.047 ล้านตัว ผลิตสุกรขุน (น้ำหนัก 100 กิโลกรัม/ตัว) วันละ 56,388 ตัว รวมทั้งปีจะสามารถผลิตสุกรขุนได้ จำนวน 20.557 ล้านตัว นอกจากนี้ ยังคาดว่าจะมีปริมาณการส่งออกสุกรมีชีวิต จำนวน 1,000,000 ตัว (เพิ่มขึ้นร้อยละ 10) การนำเข้าเนื้อสุกร จำนวน 112 ตัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5) และส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ จำนวน 20,906 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4) อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีปริมาณเนื้อสุกรเหลือบริโภคภายในประเทศ จำนวน 1.45 ล้านตัน หรือคิดเป็นอัตราบริโภค 22 กิโลกรัม/คน/ปี
ทั้งนี้ ในปี 2561 มีปริมาณการผลิตสุกรขุน จำนวน 22.90 ล้านตัว ปริมาณการผลิตไตรมาส 4/2561 (ต.ค. - ธ.ค.) จำนวน 6.03 ล้านตัว คิดเป็นเนื้อสุกร 452.12 พันตัน มีต้นทุนการผลิตสุกร ไตรมาส 4/2561 (กรณีซื้อลูกสุกรมาเลี้ยง) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.24 บาท ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ ไตรมาส 4/2561 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.89 บาท ราคาขายปลีกเนื้อสุกรชำแหละ ไตรมาส 4/2561 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 134.55 บาท การส่งออกสุกรมีชีวิต ปี 2561 (ม.ค. - ธ.ค.) จำนวน 885,372 ตัว เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 127 และการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกร ปี 2561 (ม.ค. - ธ.ค.) มีจำนวน 97,534 ตัน ลดลงจากปี 2560 ร้อยละ 9