จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน วิชั่น พบว่า คนไทย 8 ใน 10 คน มีอาการของโรคMGD ทำงานผิดปกติ เสี่ยงต่อคุณภาพการมองเห็น

ศุกร์ ๐๘ มีนาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๕๐
การสำรวจครั้งใหม่โดยบริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน วิชั่น พบว่า คนไทย 8 ใน 10 คน มีอาการของโรคต่อมไมโบเมียนทำงานผิดปกติ (โรคเอ็มจีดี) อยู่เป็นประจำ* ซึ่งโรคนี้เป็นสาเหตุหลักของโรคตาแห้ง (Dry Eye Disease)** ทั้งนี้คนไทย 79% ไม่รู้จักโรคเอ็มจีดี และคนไทยส่วนใหญ่ (69%) ยังไม่ได้พบแพทย์ ซึ่งเป็นการสร้างความเสี่ยงต่อการมองเห็น

ผลการสำรวจออนไลน์ในครั้งนี้***ซึ่งสำรวจคนไทยกว่า 1,000 คน ถูกเผยแพร่ในการประชุมวิชาการนานาชาติ APAO 2019 ครั้งที่ 34 (The 34th Congress of Asia -Pacific Academy of Ophthamology-APAO) ซึ่งจัดขึ้นในประเทศไทยระหว่างวันที่ 6-9 มีนาคม 2562 โดยทีมงานจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน วิชั่น เข้าร่วมงานเพื่อจัดแสดงเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดพร้อมทั้งร่วมในการบรรยายด้านจักษุวิทยาระดับโลกคนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคเอ็มจีดี

โรคเอ็มจีดี เป็นสาเหตุหลักของโรคตาแห้ง (Dry Eye Disease) ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกกว่า 340 ล้านคน1 แต่คนจำนวนมากไม่รู้จักโรคเอ็มจีดีและอาการของโรค จึงไม่ได้เข้ารับการตรวจรักษากับแพทย์ โรคเอ็มจีดีเป็นโรคเรื้อรังที่สามารถทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวัน โรคนี้ส่งผลกระทบต่อทั้งโครงสร้างและการทำงานของต่อมไขมันที่เปลือกตา โดยต่อมไขมันเหล่านี้มีหน้าที่สร้างน้ำตาชั้นผิวนอกสุดหรือชั้นไขมันเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำตาและปกป้องดวงตาจากเชื้อโรคและสารก่อภูมิแพ้ หากต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติคุณจะรู้สึกไม่สบายตา มีอาการตาอักเสบ ตาพร่ามัวบางขณะ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดตาแห้ง

อาการของโรคที่พบบ่อยที่สุดในคนไทย ได้แก่ แสบตา (48%) และเจ็บตา (48%) ผู้ตอบแบบสอบถามยังระบุว่ารู้สึกเหมือนมีฝุ่นผงในตา (34%) และอาการเหล่านี้จะเกิดร่วมกับอาการตาแห้งและน้ำตาไหลตลอดเวลา ล้วนเป็นอาการของโรคเอ็มจีดี ผู้ที่มีอาการของโรคเอ็มจีดีเกือบครึ่งหนึ่ง (49%) ระบุว่าเริ่มมีอาการหลังใช้เวลาอยู่กับหน้าจอโทรศัพท์หรือจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน นอกจากนี้การศึกษายังพบว่าการใช้เวลาอยู่ในสถานที่ที่เปิดเครื่องปรับอากาศเป็นเวลานานยังเป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดอาการของโรคเอ็มจีดีอีกด้วย

อย่างไรก็ดี การที่คนไทยไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอ็มจีดี ทำให้พวกเขาไม่ตระหนักถึงความเสี่ยงของโรคนี้

นายแพทย์ณัฐวุฒิ วะน้ำค้าง ผู้อำนวยการคลินิก At Eye และจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้างระบบท่อน้ำตา (Oculoplastic) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล2 กล่าวว่า "อาการเริ่มแรกอาจจะรู้สึกแค่ระคายเคืองตา แต่เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จักโรคเอ็มจีดีจึงไม่ได้ไปตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาการอาจจะหนักขึ้นทำให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตและอาจส่งผลกับคุณภาพการมองเห็น"

การรักษาอาการของโรคเอ็มจีดี

ในแบบสำรวจเกี่ยวกับการรักษาอาการของโรคเอ็มจีดีพบว่า วิธีการรักษาด้วยตนเองที่คนไทยนิยมทำมากที่สุดคือการลดเวลามองจอประเภทต่างๆ (42%) และใช้ยาหยอดตาที่ซื้อเองตามร้าน (33%) ซึ่งการรักษารูปแบบนี้เป็นเพียงการบรรเทาอาการแต่ไม่ได้เป็นการรักษาที่ต้นเหตุของโรคเอ็มจีดีซึ่งคือการอุดตันของต่อมไมโบเมียน โดยมีเพียง 27% ของคนที่มีอาการเท่านั้นที่ไปพบแพทย์หรือปรึกษาเภสัชกร

ในจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดที่ระบุว่าใช้วิธีการรักษาด้วยตนเองเพื่อบรรเทาอาการที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคเอ็มจีดี มีเพียง 17% เท่านั้นที่ระบุว่าการรักษาได้ผลมาก ในขณะที่ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ไปพบแพทย์หรือปรึกษาเภสัชกรระบุว่าการรักษาได้ผลมาก

มร.คริสตอฟ วอนวิลเลอร์ รองประธานหน่วยงาน Surgical Vision ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นที่จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน วิชั่น กล่าวว่า "การมองเห็นเป็นประสาทสัมผัสที่มีค่ามากที่สุด แต่ก็มีภาวะและโรคต่างๆ อย่างเอ็มจีดีซึ่งเป็นสาเหตุของโรคตาแห้งที่คุกคามสายตา โรคเอ็มจีดีเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในคนเอเชียและโรคนี้เป็นภัยที่ร้ายแรงต่อดวงตาของเรา"

"จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน วิชั่น มีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงการดูแลสุขภาพตาทั่วโลก และเราหวังว่าการแบ่งปันผลการสำรวจของเราที่งาน APAO จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอ็มจีดีให้กับคนทั่วไป และทำให้คนไทยมีความรู้ในการปกป้องสายตา" มร.วอนวิลเลอร์ กล่าวเสริม

คนไข้ที่รักษากับจักษุแพทย์จะได้รับการวินิจฉัยเพื่อประเมินความถี่และความรุนแรงของอาการ พร้อมทั้งติดตามพัฒนาการของโรค แพทย์จะแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับอาการของคนไข้และโรคประจำตัวอื่นๆ การรักษาบางประเภทที่สามารถทำที่โรงพยาบาลหรือคลินิกได้ มีดังนี้

การนวดด้วยความร้อน: แพทย์จะใช้ความร้อนในการละลายและรีดสิ่งอุดตันออกจากต่อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของต่อมไมโบเมียน4

การขยายต่อมไมโบเมียน: แพทย์จะใช้อุปกรณ์พิเศษในการเจาะท่อหลักของต่อมไมโบเมียน5

แพทย์อาจแนะนำให้คนไข้ลองรักษาอาการด้วยตนเองที่บ้าน ก่อนรับการรักษาจากแพทย์หรือทำควบคู่กับการรักษาจากแพทย์ โดยวิธีการรักษามีดังนี้:

การประคบอุ่นวันละหนึ่งถึงสองครั้ง และ/หรือทำการฟอกเปลือกตา

การรับประทานอาหารเสริมประเภทโอเมก้า-36

การใช้ยาหยอดตาเพื่อรักษาอาการอักเสบ7

นายแพทย์ณัฐวุฒิกล่าว "เราแนะนำให้คนไข้ตรวจสุขภาพตาเวลาตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตา ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยขึ้นช่วยให้โรคเอ็มจีดีสามารถได้รับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคนไข้ได้รับคำแนะนำและการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาการไม่สบายตารวมถึงอาการตาแห้งจะทุเลาลงและคนไข้จะรู้สึกสบายตา"

โรคเอ็มจีดีพบได้บ่อยในเอเชีย

โรคเอ็มจีดีเกิดขึ้นบ่อยมากในกลุ่มประเทศเอเชีย โดยมีอัตราการเกิดโรคเอ็มจีดีระหว่าง 46%-70%8 ซึ่งน่าเป็นห่วงเนื่องจากโรคนี้เป็นสาเหตุหลักของโรคตาแห้ง

มาทำความรู้จักโรคเอ็มจีดีและทางเลือกในการรักษาโรค พร้อมตรวจว่าคุณมีความเสี่ยงเป็นโรคเอ็มจีดีหรือไม่ ได้ที่นี่ http://dryeyes.vision/

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ