ซีพีเอฟ ชูป่าชายเลนสร้างอาชีพเสริมเลี้ยงชันโรง เพิ่มรายได้ให้ชาวประมงสงขลา

จันทร์ ๑๑ มีนาคม ๒๐๑๙ ๑๐:๓๙
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ส่งเสริมชาวประมง ต.ชะแล้ จังหวัดสงขลา เลี้ยงชันโรงเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้ชุมชนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อคืนสมดุลธรรมชาติอย่างยั่งยืน

นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า ชุมชนชะแล้ มีความพร้อม เข้มแข็ง ในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ป่าชายเลนเพื่อคืนสมดุลธรรมชาติให้เป็นแหล่งอาหารสำคัญของคนในชุมชน นับเป็นความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เครือข่ายภาคประชาสังคม ชุมชน และภาคเอกชน ผ่านโครงการ "ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้องป่าชายเลน" ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา

จากการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องทำให้ป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ป่ายังเป็นที่อยู่ของแมลงที่เป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะชันโรง ซึ่งเป็นแมลงที่ช่วยผสมเกสรคล้ายผึ้ง สามารถเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน ซีพีเอฟจึงได้ต่อยอดโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงชันโรง ให้เป็นอาชีพเสริมของคนในชุมชน โดยนำผู้สนใจไปดูงานเลี้ยงชันโรงที่พัทลุง ซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงชันโรงที่มีชื่อเสียงที่สุดของทางภาคใต้ เพื่อเผยแพร่ความรู้และทำผลิตภัณฑ์จากชันโรง เช่น น้ำผึ้ง สบู่ เป็นต้น

ปัจจุบัน มีชาวชุมชน 8 ครอบครัว ที่หันมาเลี้ยงชันโรงเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้และยกระดับความเป็นอยู่ของครอบครัวให้ดีขึ้น มีรายได้เฉลี่ย 50,000 – 60,000 บาทต่อปี ทั้งยังพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าได้ เช่น น้ำผึ้ง และสบู่ โดย ซีพีเอฟ มีโครงการพัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เลี้ยงชันโรง เพื่อให้ความรู้แก่คนในชุมชนที่สนใจสามารถนำไปเลี้ยงเป็นอาชีพได้ อันจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองอย่างมั่นคง" นายวุฒิชัย กล่าว

ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจควบคู่กับการให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้เสาหลักสู่ความยั่งยืนของบริษัท คือ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน ดินน้ำป่าคงอยู่ โดยทำงานร่วมกับ ทช. เครือข่ายภาคประชาสังคมและชุมชนในพื้นที่ ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่สีเขียวได้รวมทั้งสิ้น 2,388 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ยุทธศาสตร์ใน 5 จังหวัด คือ ระยอง สมุทรสาคร พังงา สงขลา และชุมพร สอดล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ หรือ SDGs (Sustainable Development Goals)

นายประพัฒน์ โนเรศน์ หัวหน้าสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 38 สงขลา กล่าวว่า ป่าชายเลนเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจของประเทศ สังคม และชุมชน รวมทั้งความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชนในพื้นที่ เครือข่ายและภาคประชาสังคม ร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู และดูแล การที่ภาคเอกชนอย่างซีพีเอฟ เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ทำให้เกิดประโยชน์ชัดเจน คือ เป็นการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้กับประเทศและชุมชน กระตุ้นให้ชุมชนในพื้นที่เห็นความสำคัญของป่าชายเลน ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของคนในชุมชนเอง อาทิ การทำอาชีพประมงพื้นบ้าน นอกจากนี้ ในพื้นที่ปลูกป่าชายเลน ที่ต.ชะแล้ จ.สงขลา ซีพีเอฟยังเข้ามาสนับสนุนคนในชุมชนเลี้ยงชันโรง ทำให้เกิดการสร้างงาน เพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน

"ภาครัฐอยากเห็นหน่วยงานเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติ เพราะภาคเอกชนสามารถนำองค์ความรู้เข้ามาใช้ผสมผสานในการร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่า ส่งเสริมชุมชนให้อยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน ยกตัวอย่าง ซีพีเอฟที่เข้ามาสนับสนุนแนวคิดในการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ รวมถึงงบประมาณในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ก็ทำให้หน่วยงานในพื้นที่ดำเนินการได้อย่างราบรื่นและรวดเร็วขึ้น" หัวหน้าสถานีทรัพยากรป่าชายเลนที่ 38 สงขลา กล่าว.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ