ด้าน นางสาวศิริพร บุญชู อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมหม่อนไหมได้ดำเนินการนำร่องในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ น่าน พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ นครราชสีมา และจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีผู้ประกอบการขานรับนำร่องนโยบายการตลาดนำการผลิตดังกล่าว จำนวน 5 บริษัท ใน 4 ชนิดสินค้า ประกอบด้วย (1) สินค้ารังไหม ได้แก่ บริษัท จุลไหมไทย จำกัด และบริษัท ขอนแก่นสาวไหม จำกัด (2) สินค้าหนอนไหม ได้แก่ บริษัท เอ็นทีจีเอส คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (3) สินค้าเส้นไหม ได้แก่ ร้านฅญาบาติก และ (4) สินค้าแผ่นใยไหม ได้แก่ บริษัท ไทยซิลค์ โปรดักส์ จำกัด โดยผู้ประกอบการทั้งหมดดำเนินการทำสัญญาซื้อขายผลผลิตล่วงหน้าในแต่ละชนิดสินค้าอย่างเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งนี้ มีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์ในการนำร่องขับเคลื่อนนโยบายการตลาดนำการผลิตสินค้าหม่อนไหมในพื้นที่ 7 จังหวัดในครั้งนี้จำนวน 800 ราย ผลผลิตรวมของทุกชนิดสินค้าหม่อนไหม จำนวน 200 ตัน มูลค่าผลผลิตรวมที่เกิดขึ้นเป็นรายได้ให้กับเกษตรกรไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดและของประเทศในภาพรวม รวมทั้งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจตามเป้าหมายของรัฐบาลด้วย
- ม.ค. ๒๕๖๘ กระทรวงเกษตรฯ ออกประกาศเกี่ยวกับการใช้อวนรุนเคยประกอบเรือยนต์ทำการประมงฉบับใหม่ เพื่อให้ชาวประมงพื้นบ้านสามารถจับ “เคยโกร่ง” ในระยะที่ใกล้ชายฝั่งมากขึ้น และสามารถทำประมงได้ตามวิถีที่เคยทำมาและมีความปลอดภัยในการเดินเรือมากขึ้น
- ม.ค. ๒๕๖๘ กระทรวงเกษตรฯ พิจารณากรอบแนวทางการจัดทำแผนงานบูรณาการและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก มุ่งให้ชุมชนเข้มแข็ง เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น พร้อมชะลอการนำเข้ามะพร้าวผล เน้นรับซื้อมะพร้าวภายในประเทศ แก้ปัญหาความเดือดร้อนเบื้องต้น
- ม.ค. ๒๕๖๘ ภาพข่าว: ก.เกษตรฯ-การจัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาคลองเปรมประชากร