PPPM จ่อประชุม EGM 24 เม.ย. นี้ ย้ำสภาพคล่องทางการเงินแข็งแกร่ง - ตั้งเป้าปี 62 โต 20%

อังคาร ๑๒ มีนาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๑๙
บมจ. พีพี ไพร์ม แจ้งเลื่อนประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2562 เป็น 24 เม.ย. 2562 เผย ยังไม่ต้องระดมทุนเร่งด่วน เหตุบริษัทฯ มีนักลงทุนขอร่วมทุน และได้รับการแจ้งจากแหล่งเงินทุนที่จะได้รับจากการออกและเสนอขายหุ้นกู้ ทำให้เงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ ด้านผู้บริหาร ประกาศขอเดินหน้า ขยายฐานต่อยอดกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์น้ำ - สัตว์เลี้ยง รวมถึงสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด และการลงทุนกับพันธมิตรในโปรเจกต์ ระดับนานาชาติ หวังดันรายได้ปี 62 โตเพิ่มขึ้น 20% หรือ 2,500 ล้านบาท

จากกรณีการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ที่ประชุม มีมติอนุมัติและเห็นชอบให้เสนอที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาอนุมัติการลดทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ การเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ โดยการออกและเสนอขายหุ้นสามัญ เพิ่มทุนของบริษัทฯ ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน (Right Offering) ให้แก่บุคคลในวงจำกัดแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติกำหนดวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2562 เพื่อพิจารณาวาระดังกล่าว ในวันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2562 เวลา 13.30 น.

ต่อประเด็นข้างต้น ล่าสุด พลเอกเชาวฤทธิ์ ประภาจิตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีพี ไพร์ม จำกัด (มหาชน) หรือ PPPM เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562 มีมติเลื่อนการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (EGM) ครั้งที่1/2562 เป็นวันที่ 24 เมษายน 2562 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม บมจ.พีพี ไพร์ม จังหวัดเพชรบุรี (จากเดิมในวันที่ 25 มีนาคม 2562) เนื่องจากบริษัทฯ ได้รับการแจ้งถึงแหล่งเงินทุนที่จะได้รับจากการออกและเสนอขายหุ้นกู้ ซึ่งทำให้บริษัทฯ มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องระดมทุนอย่างเร่งด่วน ส่งผลให้คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรในการเลื่อนการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นออกไป เป็นวันดังกล่าว ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้น และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนแก่ผู้ถือหุ้นต่อไป

" สำหรับวาระการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2562 และวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2562 (Record Date) ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่เปลี่ยนแปลงกำหนดวันจองซื้อและชำระค่าหุ้นเพิ่มทุน ที่เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) จากเดิม ในวันที่ 22 เมษายน 2562 ถึงวันที่ 26 เมษายน 2562 เปลี่ยนเป็น วันที่ 22 พฤษภาคม 2562 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 และในวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 นอกจากนี้ ได้กำหนดให้วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าว (Record Date) จากเดิมวันที่ 2 เมษายน 2562 เปลี่ยนเป็นวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงกำหนดการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2562 " ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าว

ด้าน นายประวีณ ดีขจรเดช ผู้อำนวยการสายบัญชีและการเงิน กล่าวถึงภาพรวมของธุรกิจในปี 2562 ว่า จากการประเมินสถานการณ์ธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำ เชื่อว่ายังมีแนวโน้มการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมสัตว์น้ำของไทย โดยเฉพาะกุ้ง ที่มีจุดแข็งทางด้านสายพันธุ์ที่ดีที่สุด ในโลกเหนือคู่แข่ง และเป็นที่ยอมรับจากผู้นำเข้าและผู้บริโภค ผนวกกับแผนกลยุทธ์ที่เข้าถึงลูกค้าอย่างตรงกลุ่ม รวมทั้งจากธุรกิจอื่นๆ ที่ทยอยรับรู้รายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทฯ คาดว่าอัตราการเติบโตของรายได้ปีนี้ มีโอกาสการเติบโตเพิ่มขึ้น 20% หรือแตะที่ระดับ 2,500 ล้านบาท

สำหรับผลการดำเนินงานในงวดปี 2561 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีรายได้รวม 2,121.45 ล้านบาท ประกอบด้วยรายได้หลักจากธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำ/สัตว์เลี้ยง ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด และรายได้อื่นๆ เท่ากับ 2,060.98 ล้านบาท และ 60.47 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 97.15% และ 2.89% ของรายได้รวม ตามลำดับ ทำให้บริษัทฯ และบริษัทฯ ย่อย มีรายได้รวมเพิ่มขึ้น 13.11% เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน โดยธุรกิจหลัก มีรายได้เพิ่มขึ้น 13.10% เมื่อเทียบกับปี 2560

ขณะที่ธุรกิจหลัก (Core Business) ท็อปฟอร์ม อย่างธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำโดยเฉพาะอาหารกุ้ง มีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้นถึง 42.80% เป็นผลมาจากการเจาะกลุ่มตลาดเป้าหมายเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ กุ้งขาว และตัวแทนจำหน่ายทั้งรายใหญ่ รายย่อย ด้วยกลยุทธ์เชิงรุกที่เข้าถึงลูกค้าโดยตรง และการค้นคว้าวิจัยสูตรอาหารที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย และความต้องการของตลาด ที่เน้นคุณสมบัติเร่งการเจริญเติบโต มีความต้านทานโรคสูงของสัตว์น้ำ แต่ยังคงคุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญ ที่ผู้บริโภคควรได้รับจากการรับประทาน ส่งผลให้ยอดขายอาหารสัตว์น้ำ แตะที่ 1,984.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.83% เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน พร้อมลุยต่อยอดธุรกิจ FEED&FOOD สู่ประเทศเพื่อนบ้าน รัฐยะไข่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยอยู่ในระหว่างการศึกษาแผนพัฒนาธุรกิจการลงทุนด้านการประมง กุ้ง อาหารทะเล และห้องเย็น

ด้านธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ปัจจุบันบริษัทฯ มีโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน Geothermal ในประเทศญี่ปุ่น ที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ได้แล้วจำนวน 15 แห่ง ทำให้ในปี 2561 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีรายได้จากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้า 76.63 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.72 ของยอดขายรวมของทั้งบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ และบริษัทฯ ย่อย ยังคงมีผลขาดทุนสุทธิรวม 110.08 ล้านบาท แต่ลดลงจากปีก่อน 56.39% ที่ขาดทุน 252.41 ล้านบาท จากความสามารถในการควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ดีขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๕ FTI รับ 2 รางวัล จากกระทรวงแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประจำปี 2567
๑๔:๕๕ OKMD ร่วมกับ CMDF จัดประกวดประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการเงินการลงทุน หนุนไอเดียเด็กมัธยม ต่อยอดทำธุรกิจเพื่อสังคม
๑๔:๓๐ แอลจีเผยเทรนด์ทำงานปี 2025 พร้อมเทคนิคใช้โน๊ตบุ๊กแบบสมาร์ทเวิร์กเกอร์
๑๔:๓๓ ทีเอ็มบีธนชาต สำรองธนบัตร 13,000 ล้านบาท ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
๑๔:๒๒ เจียไต๋แมน เมื่อรุ่นเดอะผนึกกำลังกับรุ่นใหม่ เติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง
๑๔:๒๙ สุขภาพดีแบบไม่ต้องเดี๋ยว! รพ.วิมุต ชวนตรวจสุขภาพ - ปรับพฤติกรรมสไตล์คนไม่มีเวลาสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาวรับปีใหม่
๑๔:๕๐ HBA ส่องภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านปี 68 เผชิญความท้าทายใหม่ เร่งงัดกลยุทธ์ฝ่าแข่งขันสูง รุกเจาะตลาดใหม่ 'รอจังหวะฟื้น'
๑๔:๕๒ ดิเอมเมอรัลด์ช่วยสนับสนุนงานกาชาด
๑๔:๓๑ เอพี ไทยแลนด์ รับ 3 รางวัลจาก Meta ตอกย้ำจุดยืน แบรนด์อสังหาฯ ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และดาต้า
๑๔:๓๕ มาคาเลียส แหล่งรวม อี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เผย 10 เทรนด์ท่องเที่ยวไทยปี