กรมวิทยาศาสตร์บริการ ติดตามผลโครงการส่งเสริมและพัฒนาSMEs และ OTOP จังหวัดพัทลุง

พฤหัส ๑๔ มีนาคม ๒๐๑๙ ๑๐:๐๙
นางสาวอุราวรรณ อุ่นแก้ว รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานนำคณะทำงานตรวจติดตามและประเมินผลโครงการ OTOP และ SMEs ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานโครงการในจังหวัดพัทลุง เพื่อติดตามการดำเนินงานตามเป้าหมายการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ OTOP โดยลงพื้นที่ กลุ่ม Honey Vee (นางวีรยา สะมานะ) ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน กลุ่มเครื่องแกงบ้านศาลาตำเสา (นายอนนท์ พงศาปาน) ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งยาวพัฒนา (นางสุนีย์ สุขรัตน์) ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

นางสาวอุราวรรณ อุ่นแก้ว กล่าวว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการดำเนินงานการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ด้วยการปรับปรุงคุณภาพและวิธีการผลิต และผลักดันให้นำผลิตภัณฑ์ไปขอการรับรองมาตรฐาน โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ของกลุ่ม Honey Vee ที่พบว่า หลังจากผู้ประกอบการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรที่ถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนด และได้รับการให้คำปรึกษาเชิงลึกจากนักวิทยาศาสตร์ของกรมฯ ในการเลือกวัตถุดิบที่นำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์สบู่กลีเซอรีน พร้อมทั้งการปรับปรุงสถานที่ผลิต และได้ทำการปรับสูตรผลิตภัณฑ์สบู่กลีเซอรีนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานกำหนด ซึ่งขณะนี้ผู้ประกอบการได้ผ่านการพิจารณาระบบการจดแจ้งออนไลน์ (อย.) เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการปรับปรุงสูตรผลิตภัณฑ์เพื่อเตรียมเข้าสู่กระบวนการยื่นขอการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

สำหรับกลุ่มเครื่องแกงบ้านศาลาตำเสา และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งยาวพัฒนา พบว่า หลังจากการเข้ารับการอบรมในหลักสูตรการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงโดยใช้เทคโนโลยีเฮอร์เดิล การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารโดยใช้ศาสตร์การปรุงอาหารแนวใหม่: Molecule Gastronomy และการบริหารจัดการเรื่องต้นทุน logisticและวัตถุดิบ ตลอดจนการเข้าให้คำปรึกษาเชิงลึกทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำองค์ความรู้ด้าน วทน. มาประยุกต์ใช้กับการผลิตเครื่องแกง สามารถช่วยควบคุมคุณภาพวัตถุดิบให้สดใหม่ ช่วยปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สามารถรักษาสภาพเนื้อสัมผัสไม่ให้ถูกทำลาย ลดระยะกระบวนการผลิต สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงได้นานมากกว่า 3 เดือน และยังสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์เครื่องแกงของผู้ประกอบการให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการสามารถคำนวณต้นทุนการผลิต ทำให้สามารถจัดการด้านบริหารต้นทุน วิเคราะห์ธุรกิจของตน และบริหารต้นทุนได้ โดยเฉพาะการบริหารต้นทุนโลจีสติกส์เป็นกลยุทธ์สำคัญช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดต้นทุนและทำกำไรได้เพิ่มขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ เม.ย. สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท โรงแรมที่เป็นเหมือนบ้านหลังที่สองของคุณ
๑๗ เม.ย. คอนติเนนทอล เปิดตัวเทคโนโลยี Ac2ated Sound เมื่อหน้าจอแสดงผลสามารถส่งเสียงได้ !
๑๗ เม.ย. ออปโป้ชวนสัมผัสความงามประเพณีไทย ผ่านภาพพอร์ตเทรต จากวิดีโอสารคดี สีสันใหม่ ในวันสงกรานต์
๑๗ เม.ย. ล้ำไปอีกขั้น. ไฟน์ไลน์ซักผ้าเข้มข้น ดีลักซ์ เพอร์ฟูม คริสตัล บูเก้ มาพร้อมเทคโนโลยีใหม่ Charming Booster
๑๗ เม.ย. Phytomer Thailand เปิดตัวทรีทเม้นท์สำหรับผิวคนในเมืองที่จะต้องเผชิญภาวะฝุ่นละออง PM 2.5
๑๗ เม.ย. เตรียมล็อคคิว หลิง-ออม ชวนแฟน ๆ ร่วมเบิร์ดเดย์ LINGORM BIRTHDAY CHARITY 2025 กดบัตร 20 เม.ย. นี้
๑๗ เม.ย. โก โฮลเซลล์ ลุยเคาะรั้วมหาวิทยาลัย ชี้ช่องตำแหน่งงาน นำร่อง ม.มหาสารคาม เจาะนิสิตเฉพาะทาง เพิ่มผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจ ตอกย้ำ Brand Core
๑๗ เม.ย. กรมการท่องเที่ยว ชวนผู้ประกอบการไทยอบรมออนไลน์ รู้ลึก เกณฑ์คุณภาพที่พักนักเดินทาง Home Lodge
๑๗ เม.ย. MOTHER ส่งซิกผลงาน Q1/68 เริ่ด!
๑๗ เม.ย. บี.กริม เพาเวอร์ ร่วมงาน Sustainability Week Asia 2025 ครั้งที่ 4 ฉายวิสัยทัศน์ ตอกย้ำผู้นำพลังงานสะอาด ก้าวสู่เป้าหมาย Net