ซีอีเอ จับมือ ม.ราชภัฏราชนครินทร์ เปิด “มินิ ทีซีดีซี เซนเตอร์” แห่งที่ 6 เสริมพลังให้ “นักศึกษา นักออกแบบ ผู้ประกอบการภาคตะวันออก” แข่งขันได้ในตลาดอีอีซี

พฤหัส ๑๔ มีนาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๒๘
มินิ ทีซีดีซี เซนเตอร์ สาขามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ครีเอทีฟฮับแห่งใหม่ของภาคตะวันออก พร้อมให้บริการ 14 มีนาคมนี้ เป็นต้นไป

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA จับมือ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จัดตั้ง "แหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์" (miniTCDC CENTER) แห่งที่ 6 ครีเอทีฟฮับแห่งใหม่ของภาคตะวันออก เพื่อขยายโอกาสให้นักศึกษา นักออกแบบ ผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์ สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ด้านงานออกแบบและไอเดียในการเริ่มต้นธุรกิจสร้างสรรค์ โดยภายในแหล่งบ่มเพาะฯ ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ 1. หนังสือด้านการออกแบบ 2. ตัวอย่างวัสดุเพื่อการออกแบบจากทั้งในและต่างประเทศ และ 3. บริการฐานข้อมูลออนไลน์ และฐานข้อมูลที่ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ที่ได้รับการรังสรรค์ใหม่โดย CEA เพื่อเป็นไอเดียในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และฟังก์ชั่นบริการให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้ มินิ ทีซีดีซี เซนเตอร์ สาขามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ พร้อมเปิดให้บริการตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.30 - 16.30 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-105-7400 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ cea.or.th

นางสาวมนฑิณี ยงวิกุล ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและการตลาด และรักษาการผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อธุรกิจและสังคม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) กล่าวว่า จากยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนและพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของรัฐบาล สู่การเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชั้นนำและทันสมัยที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ซีอีเอ ในฐานะหน่วยงานที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ จึงพร้อมขานรับนโยบาย และเดินหน้าเชื่อมโยงภาคศึกษา ผ่านการจับมือ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จัดตั้ง "แหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์" (miniTCDC CENTER) แห่งที่ 6 ศูนย์กลางเชื่อมต่อองค์ความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระดับภูมิภาค เพื่อขยายโอกาสให้นักศึกษา นักออกแบบ ผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์ สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ด้านงานออกแบบและไอเดียในการเริ่มต้นธุรกิจสร้างสรรค์ พร้อมผลักดันผลิตภัณฑ์ชุมชน ธุรกิจสร้างสรรค์ระดับชุมชน ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดอีอีซี ตลอดจนพัฒนาศักยภาพพื้นที่สร้างสรรค์

ให้เป็นที่ยอมรับและพร้อมรองรับการขยายตัวการลงทุนและเขตท่องเที่ยวในเขตอีอีซี

นางสาวมนฑิณี กล่าวต่อว่า ภายในมินิ ทีซีดีซี เซนเตอร์ สาขาดังกล่าว จะประกอบด้วยฐานข้อมูลความรู้ด้านงานออกแบบใน 3 ส่วนสำคัญ คือ 1. หนังสือด้านการออกแบบ จำนวน 500 เล่มต่อปีการศึกษา พร้อมตู้หนังสือสำหรับติดตั้งในพื้นที่ห้องสมุด

โดยประเภทของหนังสือจะครอบคลุมสาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ตกแต่งภายใน สถาปัตยกรรม แฟชั่นและสิ่งทอ เรขศิลป์ ภาพนิ่งและภาพยนตร์ เป็นต้น และ 2. ตัวอย่างวัสดุเพื่อการออกแบบจากทั้งในและต่างประเทศ จำนวน 24 ชิ้นต่อปีการศึกษา อาทิ ผ้าที่ผลิตจากยางรถยนต์รีไซเคิล หนังสัตว์ที่แกะลายและตัดด้วยเลเซอร์ทำให้ดูเหมือนหัตถกรรมผ้าลูกไม้แบบสเปน และ ผ้าลินินทอด้วยมือที่มีลวดลายคล้ายตารางหมากรุก เป็นต้น 3. บริการฐานข้อมูลออนไลน์ และฐานข้อมูลที่ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบบอกรับ ได้แก่ ฐานข้อมูล Global Market Information Database (GMID) นำเสนอข้อมูลเพื่อการวิจัยและการวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ทางการตลาด ส่วนแบ่งตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงแนวโน้มตลาดเกิดใหม่ของอุตสาหกรรมต่างๆ มากกว่า 200 ประเทศ ฐานข้อมูลวัสดุ Material ConneXion นำเสนอข้อมูลวัสดุเพื่อการออกแบบที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ มากกว่า 7,500 ชนิด และข้อมูลผู้ผลิตกว่า 3,000 แห่งจากทั่วโลก เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในพื้นที่อีอีซี คือ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ที่ได้รับ

การรังสรรค์ใหม่โดย CEA จำนวนรวมทั้งสิ้น 10 ชิ้น อาทิ บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบเพื่อให้สามารถแสดงรูปลักษณ์สินค้าและช่วยป้องกันความเสียหายระหว่างขนส่งสำหรับปลาทูเค็ม หรือ บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบเพื่อรองรับรูปทรงของทุเรียนกวนที่มีลักษณะยาว ซึ่งบรรจุภัณฑ์ทุกชิ้นถูกคิดค้นจากพื้นฐานของการผสมผสานเทคนิคการออกแบบสมัยใหม่ ร่วมกับกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์มีฟังก์ชั่นบริการที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ที่มีความต้องการหลากหลายยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับสถาบันการศึกษาที่ร่วมเป็นเครือข่ายกับ ซีอีเอ จะมีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมที่ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์และต่อยอดความรู้จากการเรียนการสอนในภาคปกติ รวมไปถึงการมอบทุนสนับสนุนองค์ความรู้และกิจกรรมสร้างสรรค์ที่สถาบันการศึกษาดำเนินการร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ของเมืองอย่างยั่งยืน นางสาวมนฑิณี กล่าว

ทั้งนี้ มินิ ทีซีดีซี เซนเตอร์ สาขามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ พร้อมเปิดให้บริการแก่คณาจารย์ นักศึกษา นักออกแบบ ผู้ประกอบการในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ที่มีความสนใจ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.30 - 16.30 น. ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา นางสาวมนฑิณี กล่าวทิ้งท้าย

ด้าน รศ.ดร.ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ กล่าวเสริมว่า การจัดตั้ง "แหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์" (miniTCDC CENTER) ภายในมหาวิทยาลัย ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการเตรียมพร้อมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในพื้นที่ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดอีอีซี ท่ามกลางบรรยากาศของการเติบโตและการแข่งขันสูงของ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย

ซึ่งนอกจากจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนทางธุรกิจ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในพื้นที่แล้ว ยังเป็นการหล่อหลอมและบ่มเพาะมุมมองความคิดด้านการออกแบบแก่ นักออกแบบวิชาชีพ ผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์ รวมถึงนักศึกษา ที่จะก้าวสู่การเป็นนักออกแบบรุ่นใหม่ในอนาคต มองเห็นโอกาสในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีอยู่เดิม ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น มีหน้าตาที่แปลกใหม่ขึ้น บนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และ วัตถุดิบทางการศึกษาในรูปแบบของบริการแหล่งสารสนเทศที่ทันสมัย

ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) และ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ร่วมพิธีลงนามความร่วมมือ พร้อมเปิด "แหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์" (miniTCDC CENTER) อย่างเป็นทางการ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีคณาจารย์ และนักศึกษาร่วมงานจำนวนมาก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-105-7400 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ cea.or.th

หมายเหตุถึงกองบรรณาธิการ: แหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์ (miniTCDC CENTER)

miniTCDC CENTER เป็นแม่ข่ายของ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ สศส. ในการสร้างความแข็งแรงของการออกแบบท้องถิ่น โดย สศส. จะร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพตลอดจนขีดความสามารถด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ด้วยวัตถุดิบทางการศึกษาในรูปแบบของบริการแหล่งสารสนเทศที่ทันสมัย อีกทั้งยังมีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมที่ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์และต่อยอดความรู้จากการเรียนการสอนในภาคปกติ รวมไปถึงการมอบทุนสนับสนุนองค์ความรู้และกิจกรรมสร้างสรรค์ที่สถาบันการศึกษาดำเนินการร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ของเมืองอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันมีทั้ง 6 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา และล่าสุด มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO