กลุ่ม KTIS พร้อมลงทุนนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ ผลิตเอทานอล 6 แสนลิตรต่อวันต่อยอดสู่เคมีชีวภาพ

จันทร์ ๑๘ มีนาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๔๙
กลุ่ม KTIS พร้อมลงทุนโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ ผ่านบริษัทลูก เงินลงทุนเฟสแรกไม่เกิน 7,500 ล้านบาท เป็นของกลุ่ม KTIS และกลุ่ม GGC ฝ่ายละครึ่ง โดยใช้เงินทุนของผู้ถือหุ้นฝ่ายละไม่เกิน 1,300 ล้านบาท กับเงินกู้ยืมสถาบันการเงินอีกส่วนหนึ่ง เพื่อสร้างโรงหีบอ้อย โรงงานผลิตเอทานอล และโรงผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ กำลังการหีบอ้อย 24,000 ตันต่อวัน ได้เอทานอล 6 แสนลิตรต่อวัน ชี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในระดับพื้นที่และภาพรวมทั้งประเทศ เพราะสามารถนำไปต่อยอดในธุรกิจเคมีชีวภาพและพลาสติกชีวภาพ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง อีกทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นายณัฎฐปัญญ์ ศิริวิริยะกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS ผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องครบวงจร เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทฯ ได้อนุมัติให้บริษัท เคทิส ไบโอเอทานอล จำกัด (KTBE) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ KTIS ถือหุ้น 100% เข้าร่วมถือหุ้นร้อยละ 50 ในบริษัท จีจีซี เคทิส ไบโออินดัสเตรียล จำกัด (GKBI) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของกลุ่ม KTIS กับกลุ่มบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) ในอัตราส่วน 50 ต่อ 50 เพื่อดำเนินโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ (NBC Project) ที่จังหวัดนครสวรรค์

ทั้งนี้ การลงทุนโครงการในเฟสแรก จะใช้เงินลงทุนรวมไม่เกิน 7,500 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงงาน 3 โรง ได้แก่ โรงหีบอ้อย กำลังการผลิต 24,000 ตันต่อวัน โรงผลิตเอทานอล กำลังการผลิต 600,000 ลิตรต่อวัน และโรงผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ กำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้า 85 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 475 ตันต่อชั่วโมง โดยแหล่งเงินทุนของโครงการนี้จะมาจากเงินทุนของผู้ถือหุ้นฝ่ายละไม่เกิน 1,300 ล้านบาท รวมเป็น 2,600 ล้านบาท ที่เหลือเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินในประเทศ

"การหีบอ้อยด้วยกำลังการผลิต 24,000 ตันต่อวัน เพื่อนำน้ำอ้อยที่ได้มาผลิตเป็นเอทานอลโดยตรงในช่วงฤดูหีบอ้อย และน้ำอ้อยส่วนที่เหลือจะทำให้เข้มข้นและนำมาผลิตเป็นเอทานอลในช่วงปิดหีบอ้อย ดังนั้น โครงการนี้จึงสามารถผลิตเอทานอลได้ตลอดทั้งปี ซึ่งเอทานอลที่ผลิตได้นี้จะนำมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพที่มีมูลค่าสูงขึ้น ส่วนชานอ้อยที่ได้จากการหีบอ้อยจะนำมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำสำหรับใช้ในโครงการ หรือหากมีส่วนเกินก็จะขายในบริเวณใกล้เคียง" นายณัฎฐปัญญ์กล่าว

ทั้งนี้ โครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ถือเป็นการผนึกจุดแข็งของผู้ถือหุ้น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม KTIS ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสร้างอ้อย และกลุ่ม GGC ที่มีความเชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม จึงมั่นใจได้ว่าโครงการนี้จะก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ชีวภาพใหม่ๆ ในอนาคต สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐที่ส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ซึ่งเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ อีกทั้งช่วยให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น ชุมชนใกล้เคียงก็จะมีเศรษฐกิจและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ