ประธาน “ไอทีดี” ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “แนวโน้มยุทธศาสตร์การค้าและการพัฒนาของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน”

พุธ ๒๐ มีนาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๕๑
ประธาน "ไอทีดี" ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "แนวโน้มยุทธศาสตร์การค้าและการพัฒนาของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน" แนะประเทศไทยควรมียุทธศาสตร์การค้าที่ชัดเจน หวังช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก พัฒนาเศรษฐกิจการค้ายุคใหม่ และสร้างกลยุทธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ เพื่อผลักดันการส่งออกของไทยให้เติบโต

นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ประธานกรรมการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ร่วมปาฐกถาพิเศษเรื่อง "แนวโน้มยุทธศาสตร์การค้าและการพัฒนาของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน" ในงานสัมมนาและงานแถลงข่าวการเปิดตัวศูนย์ศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มด้านการค้าและการพัฒนา ว่า รู้สึกภูมิใจที่สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ไอทีดี) ได้กลายเป็นสถาบันที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะทางด้านการค้า ซึ่งมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ UNCTAD (UNITED NATIONS CONFERENCES ON TRADE AND DEVELOPMENT) เพื่อให้ประเทศไทยได้เข้ามามีส่วนร่วมในระบบการเงิน การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ รวมทั้งการบูรณาการเข้าสู่เศรษฐกิจโลก

การค้ามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งภาคการค้าในประเทศ และการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคการค้าระหว่างประเทศ ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการเจรจาต่อรอง และสร้างบทบาทอำนาจทางเศรษฐกิจให้กับหลากหลายประเทศ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้านเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อระบบการค้าโลก (Disruptive Technology) ไม่ว่าจะเป็น Internet of Things, Big Data, ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence), Advanced Robotics, Cloud Technology, 3D Printing ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบธุรกิจ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ การค้ามีลักษณะที่ไร้พรมแดน (Borderless) การแข่งขันทางด้านราคาและคุณภาพสินค้ารุนแรงขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัวให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกิดขึ้น และสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างแข็งแกร่ง

อีกประเด็นที่เป็นปัจจัยกระทบต่อระบบเศรษฐกิจการค้าโลก คือ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ก่อให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวน และภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง วาตภัย และอุทกภัย ที่ทวีความรุนแรงและมีความถี่มากขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อภาคการเกษตรที่ต้องเผชิญกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตร และกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลก จากกระแสการเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ บอกได้ว่าโลกของเราในยุคปัจจุบัน เป็นโลกของ VUCA หรือโลกแห่งความผันผวน ความไม่แน่นอน และความซับซ้อนที่มีมากขึ้น รวมถึงความคลุมเครือ ที่ไม่สามารถคาดเดาผลที่จะเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน (VUCA : VOLATILITY, UNCERTAINTY, COMPLEXITY, AMBIGUITY) ซึ่งเป็นผลให้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2561 ชะลอตัวลง

นางสาววิบูลย์ลักษณ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม หลายสถาบันได้วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2562 ยังคงสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) การบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับอานิสงส์จากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งสะท้อนจากอัตราการว่างงานในภูมิภาคหลักที่มีแนวโน้มลดลง 2) การค้าโลกที่สนับสนุนกลุ่มประเทศผู้ส่งออกและแนวโน้มการสร้างความร่วมมือทางการค้าการลงทุนระหว่างภูมิภาค เช่น CPTPP ที่จะช่วยบรรเทาความเสี่ยงจากมาตรการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ และ 3) พื้นฐานทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Markets: EM) โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียที่ยังคงแข็งแกร่งและยังอยู่ในช่วงต้นถึงกลางวัฏจักรเศรษฐกิจ จะช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก เสริมกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ขณะที่จีนเริ่มเติบโตในอัตราที่ชะลอลงจากการอยู่ในช่วงปลายวัฏจักรขาขึ้นและนโยบายการเงินเริ่มตึงตัวขึ้น

แม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังคงเติบโตด้วยอัตราที่ชะลอตัวมากกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้ว จากความท้าทาย และกระแสการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ บนโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการค้าของไทยโดยตรง จึงมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนของไทยต้องปรับตัวให้ทันต่อ Mega Trends เหล่านี้ ซึ่งความท้าทายสำคัญ 4 ด้าน ที่ไทยต้องเผชิญขณะและมีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจการค้าของไทย ได้แก่

1. เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งด้านดิจิทัล (Digital) กายภาพ (Physical) และชีวภาพ (Biological) ส่งผลอย่างมหาศาลต่อรูปแบบการค้าขายที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่มีหน้าร้านต้องใช้คนขาย กลายมาเป็น การค้าแบบดิจิทัลที่มีการไหลเวียนของข้อมูล (Data flows) มีความเชื่อมโยงทางดิจิทัล (Digital Connectivity) สามารถทำงานร่วมกันผ่านระบบ และการเก็บข้อมูลการค้าออนไลน์ระหว่างประเทศ ทำให้เกิดรูปแบบการค้าสมัยใหม่ ที่ Digital Platform มีบทบาทมากขึ้น

2. ภูมิรัฐศาสตร์การเมืองโลกเปลี่ยน ซึ่งภายใน ปี 2593 ทวีปเอเชียจะมีประชากรเพิ่มขึ้นอีก 750 ล้านคน ส่งผลให้มีสัดส่วน GDP เป็นครึ่งหนึ่งของ GDP โลก คาดการณ์กันว่ายอดขาย e-Commerce ที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชียนั้นจะมีมูลค่า ราว 4.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 ซึ่งโตเร็วที่สุดในอาเซียน ดังนั้น ภูมิภาค CLMVT จะกลายเป็นเป้าหมายปลายทางที่ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) อย่างต่อเนื่อง

3. โครงสร้างทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป สังคมผู้สูงอายุ ไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุถึงร้อยละ 32 ในปี 2583 เพิ่มจากร้อยละ 17 ในปี 2560 แนวโน้มด้านการผลิตสินค้าและบริการจะต้องตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าในกลุ่มผู้สูงวัย ดังนั้น รัฐบาลจึงเน้นการดำเนินนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และกระจายรายได้สู่พื้นที่ชนบทมากขึ้น

4. การเปลี่ยนแปลงของภาคการผลิตของไทย โดยที่นโยบายประเทศไทย 4.0 ที่เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคต่าง ๆ เน้นไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีหรือ Smart Farming และSMEs แบบเดิมไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง

ซึ่งหากประเทศไทยมีนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าที่ชัดเจจะสามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตโดยมีแนวนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าของประเทศไทย 3 ด้าน ที่จะตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ คือ 1.การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าในประเทศหรือเศรษฐกิจฐานราก (LOCAL ECONOMY) ที่มุ่งให้ชุมชนท้องถิ่น กินดีอยู่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้น 2.การพัฒนาเศรษฐกิจการค้ายุคใหม่ (NEW ECONOMY) กระแสการค้า นวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดทำให้ต้องปรับตัวตามสภาพแวดล้อมเพื่อไม่ให้ตกขบวน รวมทั้งต้องมีแนวนโยบายการส่งเสริม e-Commerce และ Social Commerce อย่างเหมาะสม เพื่อให้มูลค่าทางการค้าไหลเวียนอยู่ภายในประเทศมากกว่าไหลออกนอกประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (GLOBAL ECONOMY) เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ เพื่อเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก โดยใช้ และ3.กลยุทธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ (Strategic Partnership) เพื่อผลักดันการส่งออกของไทยให้เติบโตและขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ การส่งเสริมภาคเศรษฐกิจการค้าไทยให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกนั้น จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกระแสโลกที่มุ่งเน้นในเรื่องการรักษาสภาพแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า เศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจในรูปแบบที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตของมนุษย์ดีขึ้น เสริมสร้างความเสมอภาคในสังคม ลดผลกระทบที่เกิดต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ
๑๖:๑๘ ทรู คอร์ปอเรชั่น เตรียมเปิดจองซื้อหุ้นกู้ชุดใหม่รับปีมะเส็ง ตอบโจทย์นักลงทุนที่มองหาโอกาสสร้างผลตอบแทนอย่างมั่นคง
๑๖:๒๕ วัน แบงค็อก เตรียมเฉลิมฉลองเคาท์ดาวน์ศักราชใหม่สุดยิ่งใหญ่
๑๖:๐๖ EXIM BANK โชว์ศักยภาพ SFI แห่งแรกได้รับมาตรฐานสากล ISO 14064-1:2018 เดินหน้าบทบาท Green Development Bank
๑๖:๑๙ ซานตาคลอส ฟลายอิ้ง ส่งความสุขในเทศกาลคริสต์มาส และปีใหม่ ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๑๖:๔๓ Spacely AI คว้ารางวัลที่สาม ในการแข่งขันนวัตกรรมระดับโลกของ SketchUp
๑๖:๓๒ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ทุ่มกว่า 1.6 ล้าน มอบความห่วงใย ร่วมฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังจากน้ำท่วมใหญ่
๑๖:๒๑ NRF เปิดตัว Mini C สาขาใหม่ในสหราชอาณาจักร ตอกย้ำกลยุทธ์ค้าปลีกแบบ Hub and Spoke ยอดขายทะลุเป้า พร้อมกระแสรีวิว 5 ดาวจากลูกค้า
๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย