มรภ.สงขลา รับ นศ.ป.โท บริหารการศึกษา-หลักสูตรและการสอน ปั้น 'ผู้นำรุ่นใหม่-คณาจารย์’ สร้างองค์ความรู้พัฒนาท้องถิ่น

พฤหัส ๒๑ มีนาคม ๒๐๑๙ ๑๖:๑๔
มรภ.สงขลา เปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา หลักสูตรและการสอน ตั้งแต่บัดนี้-31 พ.ค.62 ปั้นผู้นำรุ่นใหม่-คณาจารย์เปี่ยมทักษะ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ สร้างองค์ความรู้พัฒนาท้องถิ่น

ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า งานบัณฑิตศึกษา สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มรภ.สงขลา เปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาโท ประจำปีการศึกษา 2562 หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาคปกติ และ ภาคพิเศษ ใน 2 สาขาวิชา ได้แก่ การบริหารการศึกษา กับ หลักสูตรและการสอน โดยรับสมัครผ่านระบบรับสมัครออนไลน์ทางเว็บไซต์ http://bundit.skru.ac.th ตั้งแต่บัดนี้-วันที่ 31 พฤษภาคม 2562 ซึ่งการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรอบรู้ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เพื่อความพร้อมที่จะเป็นผู้บริหารและผู้สนับสนุนการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีทักษะการบริหาร สามารถนำหลักการและทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และมีความเป็นเลิศทางวิชาการ สามารถพัฒนาองค์ความรู้ทางการบริหารนำไปพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัยค้นคว้าในระดับสูง

ผศ.ดร.นิวัต กล่าวว่า นับจากการปฏิรูปการศึกษาเป็นต้นมา สภาพการจัดการศึกษาในปัจจุบันถูกปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารจัดการ เกิดรูปแบบโรงเรียนขึ้นมากมายหลายลักษณะ เช่น โรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนดีประจำตำบล โรงเรียนในฝัน โรงเรียนวิถีพุทธ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีลักษณะเป็นคลื่นไหล สถานศึกษาต่างๆ จึงต้องการผู้บริหารที่ได้รับองค์ความรู้ใหม่ๆ ทันต่อการเร่งรัดเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและมีความรอบรู้ จำเป็นที่ มรภ.สงขลา ต้องมีส่วนในการยกระดับคุณภาพการศึกษาในฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ฉะนั้น หลักสูตรจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้ นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงสำรวจของบัณฑิตวิทยาลัย พบว่าความต้องการเข้าศึกษาในหลักสูตรการบริหารการศึกษาเป็นสาขาที่มีผู้สนใจแสดงความต้องการสูงสุดมากกว่าสาขาวิชาอื่นๆ อีกทั้งการพัฒนาโครงสร้างการบริหารจัดการของสถานศึกษาและของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีอัตราจำนวนของผู้บริหารลดลงด้วย เพราะขาดคุณวุฒิที่ตรงตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556

ด้าน ดร.ฐปนพัฒน์ ปรัชญาเมธีธรรม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มรภ.สงขลา กล่าวว่า สำหรับสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัย โดยเน้นให้เป็นผู้ที่มีทั้งความรู้ ทักษะ และจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความสามารถในการทำงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาของท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ เชื่อมโยงศาสตร์ที่เป็นสากลกับภูมิปัญญาไทย และใช้กระบวนการคิดขั้นสูงในการออกแบบการพัฒนาและแก้ปัญหาบนพื้นฐานของความต้องการและสภาพบริบทของหน่วยงาน ตลอดจนหลักสูตรนี้มีส่วนสำคัญในการช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียนในพื้นที่สังคมพหุวัฒนธรรมท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษา ซึ่งอาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษาในสูตรนี้ อาทิ ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักวิชาการศึกษาในหน่วยงานของรัฐและเอกชน นักพัฒนาหลักสูตร นักวิชาการ/คณาจารย์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 074-260274 หรือ 074-336948

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ