PRP หรือ PLATELET RICH PLASMA

พุธ ๒๗ มีนาคม ๒๐๑๙ ๑๕:๓๒
PRP หรือ PLATELET RICH PLASMA คือ การสกัดเอาเกล็ดเลือดส่วนที่เป็นของเหลวหรือน้ำเลือด ( Plasma ) ซึ่งอุดมไปด้วยเกร็ดเลือด ( Platelet ) มีโปรตีนและเซลล์จากกระแสเลือดเข้มข้น ใช้ในการรักษา ซ่อมแซมข้อต่อ เนื้อเยื่ออ่อน เอ็น หรือกล้ามเนื้อ ที่มีอาการบาดเจ็บและอักเสบ เสื่อม เรื้อรัง รวมไปถึงการบาดเจ็บของระบบโครงสร้างมนุษย์ อาทิ เอ็น กล้ามเนื้อ กระดูก กระดูกอ่อน โดยวิธีฉีด PRP เข้าสู่จุดที่มีการบาดเจ็บ จะช่วยลดอาการบาดเจ็บ กระตุ้นกระบวนการในสมานแผลของร่างกายมนุษย์เร็วขึ้น และยังช่วยให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ข้อสำคัญ คือ ไม่อันตรายเนื่องจากเป็นส่วนประกอบจากเลือดของผู้ป่วยเอง

อาการบาดเจ็บที่รักษาโดยการฉีด PRP

1. บาดเจ็บเรื้อรัง Chronic Tendon Injuries เช่น เอ็นข้อศอกด้านนอก , เอ็นหน้าเข่า , เอ็นร้อยหวาย , รองช้ำ , เอ็นขาหนีบ , เอ็นสะโพก

2. การบาดเจ็บของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ แบบฉับพลัน เช่น กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ( มักพบในนักกีฬาฟุตบอล กล้ามเนื้อน่อง , กล้ามเนื้อต้นขานอก )

3. กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกเสื่อม

4. ข้อเข่าเสื่อม

5. การผ่าตัดบางชนิด เช่น การผ่าตัดซ่อมเอ็นหัวไหล่ เป็นต้น

การบาดเจ็บส่วนเอ็น ที่สามารถรักษาโดยการฉีด PRP

- เอ็นอักเสบ ที่ข้อศอกด้านนอก Tennis Elbow ( Common Extensor Tendinosis )

- เอ็นหน้าเข่าอักเสบ Jumper's Knee ( Patellar Tendinosis )

- เอ็นร้อยหวายอักเสบ Achilles Tendinosis

- รองช้ำ Plantar Fasciitis

- เอ็นอักเสบ ที่ข้อศอกด้านนอก Tennis Elbow ( Common Extensor Tendinosis )

- เอ็นอักเสบ ที่ข้อศอก

- เอ็นอักเสบข้อพับเข่าด้านหลัง Hamstring Tendons

- เอ็นอักเสบขาหนีบ Adductor Tendons

- เอ็นอักเสบสะโพก Gluteal Tendons

ข้อจำกัดในการฉีด PRP

- ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง, ติดเชื้อ, โรคผิวหนังบางประเภท

- โรคการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ

- คนไข้ที่กินยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด

- โลหิตจาง

- ตั้งครรภ์

ขั้นตอนในการเตรียมตัวการเตรียมตัวมาฉีดคือ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ โดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที ผลข้างเคียงค่อนข้างน้อยถึงแทบจะไม่มีเลย เนื่องจากเป็นเลือดของตัวเอง ซึ่งมีข้อระวังอยู่ว่าถ้าเกิดอาการป่วยอยู่ขอให้รักษาหายดีก่อนเพราะอาจจะมีเชื้อโรคอยู่ในกระแสเลือดเนื่องจากเป็นเลือดของเราเอง

ทั้งนี้การฉีดเกร็ดเลือดกับการฉีดยามีความแตกต่างกัน คือหากเป็นการรักษาโดยฉีดยาจะเป็นการรักษาแบบปลายเหตุ ช่วยลดแค่อาการหรือบรรเทาลง แต่ถ้าเป็นการฉีดเกร็ดเลือดจะเป็นการรักษาแบบต้นเหตุเพราะเนื่องจากเกร็ดเลือดนั้นจะช่วยไปสมานแผลและซ่อมแซมกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นที่บาดเจ็บได้

บทความโดย : นายแพทย์ วรายศ ตราฐิติพันธุ์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ถนนแจ้งวัฒนะ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม