- ๒๓ พ.ย. ETDA เปิดตัว 'คู่มือพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนสำหรับกลุ่มเปราะบาง' เร่งสร้างมาตรฐานทางดิจิทัล ที่เอื้อต่อการทำธุรกรรมออนไลน์ของทุกคน
- ๒๔ พ.ย. "ประเสริฐ" ย้ำ!!! บริษัทรับงานภาครัฐต้องปฏิบัติตาม PDPA
- ๒๓ พ.ย. "ประเสริฐ" สั่งเร่งขยายผลแอปพลิเคชัน Smart PDPA มั่นใจลดปัญหาข้อมูลรั่วไหล
นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานเปิดงานแถลงข่าว "เส้นทางสู่ 5G ไทยอย่างยั่งยืน" ณ ดีแทคเฮาส์ จามจุรีสแควร์ เมื่อวันที่ 1 เม.ย.62 โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมุ่งหน้าที่จะนำเทคโนโลยี 5G ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน ภาครัฐจะต้องเตรียมพร้อมกับในหลาย ๆ ด้าน เพื่อนำไปสู่การสร้างการใช้งานจริง (use case) ในอนาคต ทางกระทรวงดิจิทัลฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อประสานความร่วมมือร่วมกันในการทดสอบ และจัดทำแผน 5G Roadmap เพื่อเป็นแนวทางในการปรึกษาหารือกับนักวิชาการ นักวิจัย ตลอดจนคณาจารย์จากทุกมหาวิทยาลัย องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมทั้งประสานความร่วมมือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ผู้ประกอบการโทรคมนาคม และผู้ผลิตอุปกรณ์ เพื่อเร่งสร้างระบบนิเวศ 5G (5G Ecosystem) บนพื้นฐานของการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน (Infrastructure sharing) และนำ 5G มาใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศ หากนำมาใช้ในทุกวงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมต่างๆ ของไทย จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นเครื่องมือที่สามารถมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ มาปรับปรุง การผลิต ลดค่าใช้จ่าย เวลาในการจัดส่งสินค้าหรือบริการ สามารถลดขั้นตอนในงานเอกสาร เพื่ออำนวยความสะดวกได้อย่างมากมายให้กับทุกอุตสาหกรรม รัฐบาลโดยกระทรวงดิจิทัลฯ จึงผลักดันให้เกิดการทดลองทดสอบเทคโนโลยี 5G ขึ้นที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ที่อยู่ในพื้นที่ EEC และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทั้งสองแห่งได้รับอนุมัติคลื่นจาก กสทช. ในการทดลองทดสอบแล้ว ต่อจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนจะหารือร่วมกัน รวมทั้งการขยายพื้นที่ในการทดลองทดสอบเทคโนโลยี 5G ให้เพิ่มมากขึ้นต่อไป