ก.เกษตรฯ การประชุม Asean IUU

พฤหัส ๐๔ เมษายน ๒๐๑๙ ๑๕:๐๐
ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม The ASEAN Meeting on Combating IUU Fishing in Partnership with the EU เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เสริมสร้างความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดตั้ง ASEAN IUU Fishing Task Force ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเปิดการประชุม The ASEAN Meeting on Combating IUU Fishing in Partnership with the EU ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 5 เมษายน 2562 ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี กรุงเทพฯ ว่า ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว เพื่อเป็นเวทีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ เสริมสร้างความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดตั้ง ASEAN IUU Fishing Task Force ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีผู้เชี่ยวชาญขององค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบ Monitoring, Control and Surveillance (MCS) ผู้แทนจากสหภาพยุโรปเข้ามาให้ข้อมูลและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในการต่อต้านการประมง IUU ของตน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องของไทย ได้แก่ กรมประมง กรมเจ้าท่า ตำรวจน้ำ กรมศุลกากร ทหารเรือ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงแรงงาน เข้าร่วม นอกจากนี้ ยังเป็นการหารือถึงแนวทางของ ASEAN IUU Task Force โดยกำหนดผู้ประสานงานการแลกเปลี่ยนกิจกรรม IUU Fishing ของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน และเสนอการจัดตั้ง ASEAN IUU Task Force ไปยังกลไกการทำงานของอาเซียน คือ คณะทำงานประมงอาเซียน (ASEAN Sectoral Working Group on Fisheries) เพื่อพิจารณาต่อไป

นายลักษณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมง ได้ริเริ่มและจัดทำข้อเสนอโครงการเรื่อง การส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการประมงที่ยั่งยืนในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Cooperation on Sustainable Fisheries) ในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียนในปี 2562 โดยข้อเสนอดังกล่าว ประกอบด้วย 2 เรื่อง ได้แก่ 1) การจัดทำนโยบายประมงอาเซียน (ASEAN General Fishery Policy) และ 2) การจัดตั้ง The ASEAN IUU Task Force เพื่อสนับสนุนและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและสร้างเครือข่ายที่สามารถเข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสารได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงานที่ต้องบังคับใช้กฎหมาย และหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องด้านการประมง IUU ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างรัฐเจ้าของธง รัฐชายฝั่ง รัฐเจ้าของท่า และองค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค โดยข้อมูลที่จะแลกเปลี่ยนส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นทางด้านกฎหมาย อาทิ การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและระหว่างประเทศ กฎหมายของแต่ละประเทศที่เกี่ยวข้อง มาตรการรัฐเจ้าของท่า และมาตรการบริหารจัดการ ฯลฯ ทั้งนี้ คณะทำงาน Task Force จะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ พร้อมทั้งผลักดันประเด็นสำคัญเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและวางแผนการดำเนินงานที่จะเป็นประโยชน์ในอนาคต นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาเครื่องมือ ระบบ เทคโนโลยีในการสืบสวนสอบสวน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการการทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งการดำเนินการของ Task Force จะสามารถพัฒนาสมรรถนะและศักยภาพในการติดตามควบคุมและเฝ้าระวังการกระทำผิด IUU ให้แก่หน่วยงานประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อพัฒนาการต่อต้านการประมง IUU ในประเทศและในภูมิภาค

ทั้งนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในผู้ผลิตประมงรายใหญ่ของโลก มีปริมาณการผลิตในภูมิภาคคิดเป็น 22% ของการทำการประมงทั่วโลก และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 33.6 ล้านตันในปี 2554 เป็น 44 ล้านตันในปี 2558 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 7.2% ต่อปี ในปี 2558 อีกทั้งยังมีเรือประมงประมาณ 850,000 ลำ ที่เปิดดำเนินการในภูมิภาค ซึ่งจากจำนวนเรือประมง ปริมาณสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์ประมงที่ผ่านอุตสาหกรรมอาหารในภูมิภาคอาเซียน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ภูมิภาคจะต้องมีบทบาทในการรับรองว่าการทำประมงในภูมิภาคอาเซียนจะปราศจากการทำประมงผิดกฎหมาย การปฏิบัติและอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องเช่นการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงการบังคับใช้แรงงานเด็กด้วย

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศจะมีความเข้มแข็งอย่างมากในการติดตามควบคุมและเฝ้าระวังการทำการประมงผิดกฎหมาย แต่การจัดการกับปัญหาดังกล่าวยังมีความซับซ้อน ยกเว้นแต่เราจะร่วมมือกันในทุกมิติที่ครอบคลุมทุกด้านที่เกี่ยวข้อง โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสร้างขีดความสามารถการดำเนินงานผ่านกลไกความร่วมมือระดับภูมิภาค จึงหวังว่าการประชุมดังกล่าวจะเป็นเวทีที่สามารถพูดคุยเพื่อหาแนวทางในการทำงานให้เกิดประสิทธิผลและได้รับการสนับสนุนจากทุกประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งผลที่ได้จากการทำงานร่วมกันภายใต้ ASEAN IUU Task Force นั้น จะเป็นประโยชน์ที่ยั่งยืนของคนรุ่นใหม่ในประเทศสมาชิกต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๕ FTI รับ 2 รางวัล จากกระทรวงแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประจำปี 2567
๑๔:๕๕ OKMD ร่วมกับ CMDF จัดประกวดประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการเงินการลงทุน หนุนไอเดียเด็กมัธยม ต่อยอดทำธุรกิจเพื่อสังคม
๑๔:๓๐ แอลจีเผยเทรนด์ทำงานปี 2025 พร้อมเทคนิคใช้โน๊ตบุ๊กแบบสมาร์ทเวิร์กเกอร์
๑๔:๓๓ ทีเอ็มบีธนชาต สำรองธนบัตร 13,000 ล้านบาท ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
๑๔:๒๒ เจียไต๋แมน เมื่อรุ่นเดอะผนึกกำลังกับรุ่นใหม่ เติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง
๑๔:๒๙ สุขภาพดีแบบไม่ต้องเดี๋ยว! รพ.วิมุต ชวนตรวจสุขภาพ - ปรับพฤติกรรมสไตล์คนไม่มีเวลาสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาวรับปีใหม่
๑๔:๕๐ HBA ส่องภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านปี 68 เผชิญความท้าทายใหม่ เร่งงัดกลยุทธ์ฝ่าแข่งขันสูง รุกเจาะตลาดใหม่ 'รอจังหวะฟื้น'
๑๔:๕๒ ดิเอมเมอรัลด์ช่วยสนับสนุนงานกาชาด
๑๔:๓๑ เอพี ไทยแลนด์ รับ 3 รางวัลจาก Meta ตอกย้ำจุดยืน แบรนด์อสังหาฯ ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และดาต้า
๑๔:๓๕ มาคาเลียส แหล่งรวม อี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เผย 10 เทรนด์ท่องเที่ยวไทยปี