การบำบัดด้วยออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy)

พุธ ๑๐ เมษายน ๒๐๑๙ ๑๐:๕๐
เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยด้วยการหายใจด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% ในขณะที่ผู้ป่วยเข้าไปอยู่ภายใต้สภาพความกดบรรยากาศสูงของเครื่องปรับอากาศบรรยากาศสูง(Hyperbaric Oxygen Therapy) ที่มากกว่า 1 บรรยากาศ ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับการให้ออกซิเจนที่ความกดบรรยากาศปกติมากขึ้นหลายเท่า

ผลดีของการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในร่างกายมีผลต่อร่างกาย ได้แก่

1. ช่วยสร้างคอลลาเจนให้ร่างกาย

2. กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด

3. ลดอาการปวดหัวไมเกรน

4. ช่วยให้หลับสบาย ตลอดคืน

5. ช่วยยับยั้งและต่อต้านการติดเชื้อโรคบางชนิด

6. ลดอาการบวม อักเสบของอวัยวะ

ลักษณะของห้องปรับบรรยากาศ ที่ใช้ดำเนินการรักษาผู้ป่วยอยู่ในปัจจุบัน เป็นห้องปรับความดันบรรยากาศสูงชนิดคนเดียว (Monopalce Chamber)

- ลักษณะคล้ายหลอดแก้วใหญ่ทำด้วยอะครีลิคใส

- สามารถทนความกดบรรยากาศได้สูงสุด 3 บรรยากาศ

- สามารถจุผู้ป่วยนอนได้ครั้งละ 1 ท่าน

- ผู้ป่วยสามารถผ่อนคลาย นอนพัก หรือดูโทรทัศน์ ขณะเข้ารับการรักษา

- ภายในห้องนี้เพิ่มความกดบรรยากาศด้วยออกซิเจนผู้ป่วยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการหายใจ

- มีระบบสื่อสาร ผู้ป่วยสามารถพูดคุยติดต่อกับบุคคลภายนอกได้ขณะเข้ารับการรักษา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ